การสร้างเสริมสุขภาพ หมายถึง กระบวนการปฏิบัติเพื่อให้เกิดสุขภาพกายแข็งแรง เจริญเติบโตปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ และสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข การส่งเสริมสุขภาพหรือการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นกระบวนการที่มีลักษณะดังนี้ 1. เน้นกิจกรรมพลายลักษณะที่มุงสร้างสมรรถนะของการสร้างสุขภาพดีควบคุมปัจจัยเสี่ยง และเป็นกระบวนการที่มุ่งดำเนินการกันทั้งบุคคลและสังคม 2. เน้นกระบวนการส่งเสริมให้ประชาชนเพิ่มสมรรถนะในการควบคุมดูแลและพัฒนาสุขภาพของตนเอง หลักการส่งเสริมสุขภาพ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่ายึดติดกับความสะดวกสบายมากเกินไป พักผ่อนให้เพียงพอและฝึกการปฏิบัติทางจิตเพื่อลดความตึงเครียด เป็นต้น วิธีการสร้างเสริมสุขภาพของตนเองสามรถปฏิบัติได้ดังนี้ 1.รับประทานอาหารที่มีคุณค่าทาสงโภชนาการหลากหลายไม่ซ้ำซาก โดยเฉพาะผักผลไม้ควรมีทุกมื้อ 2.ออกกำลังสม่ำเสมอ ทำจิตใจให้เบิกบาน จะช่วยคลายความเครียดและป้องกันภาวะเสี่ยงเกิดโรคเกี่ยวกับข้อต่อ กระดูก และโรคหัวใจ รวมทั้งระบบการไหลเวียนของโลหิต 3.ทำสมาธิ เล่นโยคะ หรือการนวดเพื่อสุขภาพเพื่อผ่อนคลายความเครียด 4.ละเว้นสารเสพติดทุกชนิดที่จะบั่นทอนสุขภาพ 5. หลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดอุบัติเหตุ 6.ตรวจสุขภาพประจำปี ซึ่งเป็นการดูแลและส่งเสริมสุขภาพที่ดีมาก วิธีการลดความเสี่ยงทางสุขภาพ ซึ่งสามารถทำได้ดังนี้ 1. ผู้ที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการติโรคควรฉีดวัคซีนป้องกันโรค 2. รักษาความสะอาดของใช้ต่างๆ 3. ไม่คุลกคลีกับผู้ป่วย 4. ไม่รับประทานอาหารสุกๆดิบ 5. ออกกำลังสม่ำเสมอ 6. ล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหาร หลังจากถ่ายอุจจาระ 7. ติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวสุขภาพ 8.ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วย 9. ทำลายเชื้อโรคให้ถูกวิธี กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค 10. การควบคุมสุขาภิบาล อาหาร น้ำดื่ม และน้ำนม 11. จัดสิ่งแวดล้อมให้ถูกสุขลักษณะ 12. ให้ความรู้อุบัติเหตุและการป้องกัน 13. การจัดความปลอดภัยในทุกรูปแบบ 14. ออกกฎหมายบังคับเพื่อให้เกิดความปลอดภัย การประเมินสุขภาพส่วนบุคคลของตนเองจะเป็นแนวทางในการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพให้มีสุขภาพดีที่ยั่งยืนตลอดไป การประเมินสุขภาพส่วนบุคคลประกอบด้วยรายละเอียดต่อไปนี้ 1. ความสะอาดส่วนบุคคล 2. การกินอาหารที่มีประโยชน 3. การพักผ่อนให้เพียงพอ 4. การวางท่าทางที่ถูกต้อง 5. การออกกำลังกายพอสมควร 6. การรู้จักรักษาความสะอาดของบ้านเรือนของตน 7.ลการทำจิตใจให้ผ่องใส 8. การรู้จักป้องกันอุบัติเหตุ 9. การควบคุมและหาทางป้องกันโรคติดต่อ 10.การตรวจสุขภาพร่างกายอย่างสม่ำเสมอ 11. การสวมเสื้อผ้าและใช้ของใช้ที่สะอาด และจัดเก็บให้เป็นระเบียบ 12. การมีความรู้เกี่ยวกับการที่จะรักษาสุขภาพพลานามัยให้แข็งแรง |