[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
  
 

เนื้อหา : สาระน่ารู้พัฒนาทักษะชีวิต
หมวดหมู่ : สาระน่ารู้
หัวข้อเรื่อง : ศูนย์การพัฒนาห้วงฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

อังคาร ที่ 22 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2554


 
ประวัติความเป็นมา
 
   ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ก่อกำเนิดจากการที่ได้รับพระราชดำริ เมื่อวัน11 ธันวาคม พ.ศ. 2525 ที่พระราชประสงค์ที่จะให้เป็นศูนย์กลางในการศึกษา ทดลอง ที่เหมาะสมกับพื้นที่ภาคเหนือ และเผยแพร่แก่ราษฎรให้สามารถนำไปปฏิบัติได้ด้วยตัวเองต่อไป โดยทำการศึกษาพัฒนาป่าไม้ 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง คือ ใช้สอย ไม้ผล ไม้เชื้อเพลิง ซึ่งจะอำนวยประโยชน์ในการอนุรักษ์ดินและน้ำ ตลอดจนคงความชุ่มชื้นเอาไว้เป็นประโยชน์อย่างที่ 4 และ พื้นที่ต้นน้ำลำธารให้ได้ผลอย่างสมบูรณ์เป็นหลัก โดยต้นทางเป็นการศึกษาสภาพพื้นที่ป่าไม้ต้นน้ำลำธารและ ปลายทางเป็นการศึกษาด้านการประมงตามอ่างเก็บน้ำต่างๆ ผสมกับการศึกษาด้านการเกษตรกรรม ด้านปศุสัตว์และโคนม และด้านเกษตรอุตสาหกรรม เพื่อให้เป็นศูนย์ที่สมบูรณ์แบบ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อราษฎรที่จะเข้ามาศึกษากิจกรรมต่างๆในศูนย์ฯ แล้วนำไปใช้ปฏิบ้ติอย่างได้ผลต่อไป ดังมีพระราชดำริว่า "ให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ ทำหน้าที่เสมือน "พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต" หรืออีกนัย หนึ่งเป็น "สรุปผลการพัฒนา" ที่ประชาชนจะเข้าไปเรียนรู้และนำไปปฏิบัติได้"
 
 

ที่ตั้ง
 
 
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งอยู่ในเขตรอยต่อของตำบลป่าเมี่ยง และตำบลแม่โป่ง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ บนถนนหลวง เส้นทางที่ 118 สายเชียงใหม่ - เชียงราย ระยะทางประมาณ 27 กิโลเมตร โดยอยู่ทางขวามือ ห่างจากถนนประมาณ 2 กิโลเมตร

วัตถุประสงค์
 
1. เป็นศูนย์กลางแบบเบ็ดเสร็จที่มีการศึกษาทดลองและสาธิตในลักษณะสหวิทยาการเสมือนหนึ่งพิพิธภัณฑ์- ธรรมชาติที่มีชีวิต สำหรับราษฎรได้มีโอกาสเข้ามาศึกษาเรียนรู้แล้วนำไปปฏิบัติได้
2. เพื่อศึกษา ทดลอง วิจัย และพัฒนาตามแนวพระราชดำริ ด้านทรัพยากรน้ำ ป่าไม้ ดิน และระบบเกษตร รวมทั้งระบบนิเวศลุ่มน้ำห้วยฮ่องไคร้ และการจัดการลุ่มน้ำให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม
3. เป็นศูนย์กลางข้อมูลการพัฒนา บูรณาการ และแลกเปลี่ยนข้อมูล บริการข้อมูลข่าวสารทั้งในด้านวิชาการ และเชิงปฏิบัติ เพื่อประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
4. ขยายผลการพัฒนาสู่ประชาชนในหมู่บ้านรอบบริเวณศูนย์ฯ และโครงการบริการการพัฒนาในระดับพื้นที่ ให้ดำรงชีวิตที่พออยู่พอกิน และสามารถพึ่งตนเองได้
5. พัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พื้นที่ลุ่มน้ำให้มีความอุดมสมบูรณ์และ สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสมตามแนวพระราชดำริ

 
พื้นที่ดำเนินงาน
 
สภาพกายภาพโดยทั่วไปของพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยฮ่องไคร้ฯ จากผลการสำรวจเมื่อปี 2526
มีลักษณะสำคัญสรุปได้ คือ
 
1. สภาพดินเป็นดินหินกรวด มีหน้าดินตื้นไม่เหมาะสมต่อการใช้ประโยชน์ต่อการเกษตรกรรม
 
2. สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป บรรยากาศมีสภาพแห้งแล้ง ขาดความชุ่มชื้น ธรรมชาติต้องเผชิญกับไฟไหม้ป่า ในทุกๆปี
 
3. ปริมาณน้ำธรรมชาติในพื้นที่ต้นน้ำมีปริมาณน้อย ไม่เพียงพอที่จะพัฒนามาใช้ประโยชน์ในการดำเนิน - กิจกรรมในการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำได้อย่างเพียงพอ เนื่องจากปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยต่อปีต่ำกว่า 1,200 มิลลิเมตร และสภาพกายภาพลุ่มน้ำเป็นป่าเต็งรังที่ไม่สามารถเก็บอุ้มน้ำไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
4. สภาพป่าไม้มีสภาพเสื่อมโทรม ผ่านการทำไม้สัมปทาน และสัมปทานไม้ฟืนโรงบ่มยาสูบ รวมทั้งมีการ บุกรุกตัดไม้ใช้ประโยชน์โดยชุมชน จนเหลือชนิดพันธุ์ไม้อยู่ในธรรมชาติเพียง 35 ชนิด มีความหนาแน่น ของต้นไม้ไม่เกิด 100 ต้นต่อไร่ ไม้ที่เหลืออยู่เป็นลูกไม้ขนาดเล็กและไม้ที่สูงให่ญ่ไม่เกิน 9 เมตร ลักษณะเป็นไม้ชั้นเีดียวเป็นป่าโปร่ง
 
5. สภาพลุ่มน้ำไม่มีการเข้ามาถือครองใช้ประโยชน์โดยชุมชน เนื่องจากไม่มีความอุดมสมบูรณ์ใดๆที่จะ เอื้อให้้ทำการเพาะปลูกได้ พื้นที่จึงมีสภาพถูกทิ้งรกร้าง
สภาพทางกายภาพของพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยฮ่องไคร้ ที่เปลี่ยนสภาพภายหลังการดำเนินงานศึกษาและ พัฒนาพื้นที่ป่าไม้ต้นน้ำลำธาร ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
 
ด้านการพัฒนาที่ดิน
    
ในสภาพป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณ ในหน้าแล้งมีการผลัดใบ ซึ่งทางวิชาการเรียกว่า "การคืน ธาตุอาหารให้แก่พื้นดิน" จากการศึกษาพบว่าในเดือนกุมภาพันธ์ มีใบไม้มากที่สุด ประมาณ 600-700 กก. ต่อไร่ต่อปี ถ้าใบไม้เหล่านี้ไม่ถูกไฟไหม้ก็จะผุสลายเป็นหน้าดินเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่พื้นที่ป่า ซึ่งพบว่า ธาตุอาหารในดินมีเพิ่มขึ้นจากปี 2526 มีธาตุอาหารในดินไม่เกิน 1 เปอร์เซ็นต์ (ของน้ำหนักดิน) จากการ พัฒนา ปัจจุบันพบธาตุอาหารเพิ่มเป็น 3-4 เปอร์เซ็นต์ (ของน้ำหนักดิน) ผลจาการร่วงหล่น ทับถมผุสลาย ของใบไม้ทำให้ดินมีหน้าดินเพิ่มขึ้น สามารถเพิ่มธาตุอาหารในดิน สามารถใช้พื้นที่ทำประโยชน์ด้านการ เกษตรกรรมได
 
ด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ
 
    
สภาพแหล่งน้ำและการพัฒนาแหล่งน้ำก่อนปี 2526 ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่อง มาจากพระราชดำริ ตำบลป่าเมี่ยง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ในเขตลุ่มน้ำห้วยฮ่องไคร้ ซึ่งลำห้วยห้วยฮ่องไคร ้ เป็นลำน้ำสาขาฝั่งขวาของลุ่มน้ำแม่กวง มีต้นกำเนิดจากแนวสันเขาสูงทาง ทิศตะวันออกเขตตำบลป่าเมี่ยงของอำเภอดอยสะเก็ดไหลลงมาทางทิศใต้ผ่านบ้านปางเรียบเรือ บ้านตลาดขี้เหล็ก บ้านแม่ฮ่องไคร้ ไหลบรรจบกับลำห้วยแม่โป่ง ที่บ้านท่ามะกุ่ม แล้วไหลผ่านบ้านป่าไผ่ บ้านแม่โป่ง และ บ้านแม่ฮ้อยเงิน ไปบรรจบกับน้ำแม่จ้องที่บ้านแม่จ้องเหนือในเขตอำเภอดอยสะเก็ด แล้วไหลไปทาง ทิศตะวันตก ผ่านบ้านแม่ก๊ะใต้ บ้านแม่คือ บ้านแม่ท้องป่อง บรรจบกับน้ำแม่ปูคา ที่บ้านแม่ปูคาเหนือในเขต อำเภอสันกำแพง แล้วไหลผ่านอำเภอสันกำแพงไปลงลำน้ำกวง ไหลลงสู่แม่น้ำปิงในเขตอำเภอเมือง จัีงหวัดลำพูน ลำห้วยฮ่องไคร้ช่วงไหลผ่านบ้านปางเรียบเรือ ซึ่งเป็นจุดที่ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ ห้วยฮ่องไคร้ 7 (ปางเรียบเรือ) มีความยาวลำน้ำประมาณ 6.50 กม. พื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 13.60 ตร.กม. หรือประมาณ 8,500 ไร่ ลำห้วยมีขนาดกว้างประมาณ 4.00 ม. ท้องลำน้ำมีตะกอนทราย
 
สภาพน้ำท่า
 
    
เนื่องจากลุ่มน้ำห้วยฮ่องไคร้ เป็นลุ่มน้ำขนาดเล็กในลุ่มน้ำห้วยฮ่องไคร้ จึงไม่มีสถานีวัดปริมาณ น้ำท่า การประเมินน้ำต้นทุนที่ไหลผ่านหัวงาน จึงต้องอาศัยข้อมูลปริมาณน้ำท่า เฉลี่ยของสถานีดัชนี ซึ่งตั้งอยู่ใกล้เคียงกับหัวงานมากที่สุด คือสถานี P.36 (น้ำแม่ลาย) มีพื้นที่ลุ่มน้ำเหนือสถานีเท่ากับ 35 ตารางกิโลเมตร ในการประมาณน้ำท่าของลำห้วยฮ่องไคร้ ได้อาศัยข้อมูลจากสถานีวัดน้ำฝนดังกล่าว เป็นจุดตรวจสอบผลการคำนวณเพื่อให้ได้ผลสรุปที่ใกล้เคียงกันกับความเป็นจริงตามธรรมชาติ
พื้นที่ลุ่มน้ำห้วยฮ่องไคร้ มีการจัดการพัฒนาพื้นที่ป่าไม้ เช่นการปลูกเสริมป่า การควบคุมและ ป้องกันไฟป่า และก่อสร้างฝายต้นน้ำลำธาร (Check Dam) กระจายไปทั่วพื้นที่ สร้างความชุ่มชื้น ให้กับป่า และระบบนิเวศน์ป่าไม้ ทำให้ความชื้นสัมพัทธ์ในพื้นที่สูงขึ้น อุณหภูมิโดยเฉลี่ยลดลงจากเดิม รวมทั้งอัตราการระเหยและการคายน้ำลดลงเช่นเดียวกัน มีผลให้ความต้องการผันน้ำจากลุ่มน้ำห้วยแม่ลาย ลดลงตามลำดับ
 
สภาพฝน อัตราการระเหย และอุณหภูมิ
 
    จากการศึกษาข้อมูลปริมาณน้ำฝน ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่เปรียบเทียบ กับข้อมูลปริมาณน้ำฝนในพื้นที่ศูนย์ฯห้วยฮ่องไคร้ พบว่าปริมาณน้ำฝนที่ตกในเขตพื้นที่ศูนย์ฯ มีปริมาณ มากกว่าและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเกือบทุกปี ปัจจุบันปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,314 มิลลิเมตร/ปี อัตราการระเหย 880 มิลลิเมตร อุณหภูมิเฉลี่ย 25 องศาเซลเซียส
 
ด้านการพัฒนาป่าไม้
 
    
ชนิดของป่าเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น จากเดิมมีสภาพเป็นป่าเต็งรังที่เสื่อมโทรม ปัจจุบันฟื้นฟูสภาพ และพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ คือ สภาพแวดล้อมของบรรยากาศ มีความชุ่มชื้น คุณภาพของป่าเปียกหรือ Wet fire Break เดิม (ปี 2526) เกิดไฟป่าในพื้นที่ศูนย์ฯ สร้างความเสียหายประมาณ 200 ไร่/ปี เมื่อระบบ การกระจายความชื้นเริ่มเข้าผืนป่าปัจจุบันในระยะ 10 ปี หลังการพัฒนาไม่ปรากฎว่ามีไฟไหม้ป่า เกิดขึ้น ในพื้นที่ศูนย์ฯ มีความหลากหลายของพืชพรรณอาหารธรรมชาติที่ชุมชนได้ใช้ประโยชน์เพื่อการพึ่งพา และเป็นรายได้เสริมในครัวเรือน ชุมชนสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสภาพ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของพื้นที่ต้นน้ำลำธาร ทั้งนี้การที่จะรักษาสภาพแวดล้อมให้ดีมี คุณค่าต้องมีการปลูกสร้างจิตสำนึกในการทำหน้าที่อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชน ในพื้นที่ต้นน้ำ ด้วยความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ เพื่อเป็นแนวทางให้ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหาร จัดการทรัพยากรและสภาพแวดล้อมท้องถิ่นตอบสนองแนวพระราชดำริ
การฟื้นฟูพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยฮ่องไคร้ ที่ประสบผลสำเร็จเป็นรูปธรรม เป็นตัวอย่างที่ดีของการ จัดการพัฒนาพื้นที่ที่เสื่อมโทรมให้กลับมาใช้ประโยชน์ได้นั้น เกิดจาการดำเนิน การพัฒนาตามแนวพระราช ดำริ ให้เน้นเรื่องการอนุรักษ์ต้นน้ำลำธาร โดยใช้ฝายต้นน้ำลำธาร เป็นเครื่องมือในการพัฒนาพื้นที่ ทำให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพทางกายภาพจากสภาพพื้นที่ที่เสื่อมโทรมในอดีต จนมีสภาพที่สมบูรณ์ พื้นดินมี ศักยภาพที่เอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาด้านเกษตรกรรมอื่นๆ ได้อย่างยั่งยืนและชุมชนรอบพื้นที่สามารถ ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสภาพทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต้นน้ำลำธาร ทำให้ผืนป่าต้นน้ำลำธารเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่อุดมสมบูรณ์ สามารถผลิตน้ำไปใช้ในส่วนพื้นที่ด้านล่าง ได้ นี่คือบทพิสูจน์รูปแบบแห่งความสำเร็จเพื่อการเรียนรู้และนำไปสู่การปฏิบัติ การพัฒนาพื้นที่ต้นน้ำลำธาร ที่ยั่งยืนต่อไป
 
พื้นที่ดำเนินงาน
 
1. พื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อที่ 8,500 ไร่
 
2. พื้นที่หมู่บ้านรอบบริเวณศูนย์ฯ ของโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ 18 หมู่บ้าน ในตำบลแม่โป่ง ตำบแม่ฮ้อยเงิน ตำบลเชิงดอย ตำบลป่าป้อง อำเภอดอยสะเก็ด และตำบล ห้วยแก้ว กิ่งอำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่
 
3. โครงการบริการการพัฒนาในระดับพื้นที่ 5 แห่ง
 
 
3.1 โครงการพัฒนาเบ็ดเสร็จลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำปิง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอจอมทอง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน
 
3.2 ศูนย์บริการการพัฒนาขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผลบ้านไร่ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่
 
3.3 โครงการพัฒนาพื้นที่ห้วยลาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
 
3.4 โครงการพัฒนาพื้นที่ป่าขุนแม่กวง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
 
3.5 โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย
 
4. พื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำแม่อาว อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน
 
5. พื้นที่หมู่บ้านในเขตจังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดอื่นในภาคเหนือที่ีเกษตารกรมีความสนใจ เข้ามาเรียนรู้และนำไปปฏิบัติ

ขั้นตอนการขอเข้าศึกษาดูงานศูนย์ฯ

1. ทำหนังสือ เรียน ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ 

2. ระบุ วันที่  เวลา  จำนวนผู้ขอเข้าศึกษาดูงาน พร้อมเบอร์โทรศัพท์ผู้ประสานงาน     

3. หากต้องการศึกษาดูงานใดเป็นพิเศษให้ระบุในหนังสือ
 

ขั้นตอนการขอใช้สถานที่ศูนย์ฯ (พักแรม) 

1. ทำหนังสือ เรียน ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

2. แจ้งวันที่  และจำนวนผู้ที่จะขอใช้สถานที่

3. เมื่อได้รับอนุญาตจากผู้อำนวยการศูนย์ฯ แล้วจึงจะสามารถเข้าพักได้
 

ขั้นตอนการขอเข้ารับการอบรม


1. ทำหนังสือ เรียน  ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ 

2. แจ้งเรื่องที่ต้องการอบรม จำนวนผู้ขอเข้ารับการอบรม

3. ศูนย์ฯ จะพิจารณาคุณสมบัติของผู้ประสงค์จะขอรับการอบรม

4. ศูนย์ฯ จะแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ขอรับการอบรมทราบ

 
 

สอบถามรายละเอียดได้ที่... ฝ่ายประชาสัมพันธ์ 

โทรศัพท์    0-5338-9228-9  ต่อ 102
โทรสาร      0-5338-9228-9  ต่อ 101


ในวัน-เวลาราชการ
E - mail  : hongkhrai@hotmail.com
 
 
 

  ที่อยู่ที่ติดต่อศูนย์ฯ ทางไปรษณีย์    
 ตู้ ปณ. 11      อำเภอดอยสะเก็ด  จังหวัดเชียงใหม่   50220

 
 





เข้าชม : 2532


สาระน่ารู้ 5 อันดับล่าสุด

      ส้าผัก 25 / เม.ย. / 2566
      พรบ.กรมส่งเสริมการเรียนรู้ 5 / เม.ย. / 2566
      วันท่องเที่ยวโลก 25 / ก.ย. / 2565
      เทศกาลกินเจ 2565 25 / ก.ย. / 2565
      24 กันยายน วันมหิดล 25 / ก.ย. / 2565




ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ไอคอน : ย่อหน้า จัดซ้าย จัดกลาง จัดขวา ตัวหนา ตัวเอียง เส้นใต้ ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา
อ้างอิงคำพูด เพิ่มเพลง เพิ่มวีดีโอคลิป เพิ่มรูปภาพ เพิ่มไฟล์ Flash เพิ่มลิงก์ เพิ่มอีเมล์
ความคิดเห็น :


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้ง ที่นี่ เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

 
ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอดอยสะเก็ด  จังหวัดเชียงใหม่ โทรศัพท์ 053-496147
  ห้องสมุดประชาชนอำเภอดอยสะเก็ด 555 หมู่ที่ 3 ถนนบ่อสร้าง-เชียงใหม่ อำเเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ โทรศัพท์ 053-495500
Doisaketlibrary@gmail.com
libdoisaket@cmi.nfe.go.th
บาคาร่า Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05HD  Update by   นายบุญมา มาดี