[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
  
 


เนื้อหา : เรื่องเด่นวันนี้
หมวดหมู่ : ข่าวเด่น
หัวข้อเรื่อง : เสม็ด นำร่องใช้พลาสติกชีวภาพกำจัดขยะลดภาระโลก

พุธ ที่ 23 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2555



เสม็ด นำร่องใช้พลาสติกชีวภาพกำจัดขยะลดภาระโลก

 
อ่าวพร้าว ส่วนหนึ่งของเกาะเสม็ดซึ่งเข้าโครงการนำร่องใช้พลาสติกชีวภาพเพื่อกำจัดขยะเปียกและผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น

อ่าวพร้าว ส่วนหนึ่งของเกาะเสม็ดซึ่งเข้าโครงการนำร่องใช้พลาสติกชีวภาพเพื่อกำจัดขยะเปียกและผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์
ลำพังคนในท้องที่อาจไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอันสวยงามของเกาะแก้วพิศดารอย่าง “เสม็ด” แต่ด้วยจำนวนนักท่องเที่ยวมหาศาลที่ข้ามฝั่งไปลงเกาะนั้นต่างหอบหิ้วบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ที่สุดท้ายจะกลายเป็นขยะมหาศาลไปด้วย หากคัดแยกและบริหารจัดการไม่ดีแล้วอาจทำให้ขยะท่วมเกาะ ซึ่งไม่เพียงแค่ธรรมชาติเท่านั้นที่เดือดร้อน ธุรกิจการท่องเที่ยวย่อมได้รับผลกระทบไปด้วย

วิภาค ปุณหวันลี้ตระกูล ผู้จัดการอ่าวพร้าวรีสอร์ทบนเกาะเสม็ดใน จ.ระยอง เผยกับทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ว่า ด้วยกระแสโลกที่นักท่องเที่ยวจะเลือกที่พักที่มีนโยบายดูแลสิ่งแวดล้อม เพราะไม่อยากท่องเที่ยวแล้วเพิ่มภาระให้โลก จึงทำให้รีสอร์ทที่ดำเนินกิจการมา 16 ปีต้องเริ่มกิจกรรมที่เป็นมิตรแก่สิ่งแวดล้อม และสิ่งที่ชัดเจนที่สุดคือการคัดแยกขยะ รวมถึงการจัดการเศษใบไม้ใบหญ้าและกิ่งไม้ต่างๆ โดยจะนำไปผลิตปุ๋ยหมักและน้ำส้มควันไม้เพื่อใช้ไล่แมลงรบกวนในรีสอร์ท

อย่างไรก็ดี แม้ว่าจะคัดแยกขยะเปียกและขยะแห้งอย่างดีแล้ว แต่เมื่อถึงขั้นตอนเก็บขยะจากหน่วยงานที่ดูแลด้านสุขาภิบาล ขยะที่ถูกคัดแยกมาอย่างดีก็ถูกจัดเก็บรวมกับขยะอื่น ทำให้การคัดแยกจากต้นทางไม่ได้ประสิทธิภาพอย่างเต็มที่ แต่ล่าสุดมีโครงการความร่วมมือจากหลายหน่วยงานของภาครัฐในการนำ “ถุงพลาสติกชีวภาพ” มาใช้ในการแยกขยะเปียกแล้วนำไปผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์ ณ โรงผลิตปุ๋ยที่ออกแบบโดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และขยะดังกล่าวจะถูกแยกจัดเก็บจากขยะอื่นๆ

“ลำพังชาวบ้านไม่เท่าไหร่ เพราะประชากรในพื้นที่มีแค่ 1,500-2,000 คน แต่นักท่องเที่ยวที่เข้ามามีมากถึงกว่า 300,000 คนต่อปี เมื่อมาแล้วก็นำเอาถุงพลาสติกใส่ของกินและเครื่องดื่มต่างๆ มาด้วย หากกำจัดไม่ดีก็จะเป็นปัญหา เมื่อก่อนเราแยกขยะโดยใช้ถุงดำ แต่ตอนนี้ทางการนำถุงพลาสติกชีวภาพเข้ามาช่วย ก็น่าจะลดปริมาณถุงดำลงไปได้ครึ่งหนึ่ง แต่ว่าถุงนี้มีราคาแพงมาก ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ถ้าจะให้ผู้ประกอบการลงทุนเองอาจไม่ไหว ภาครัฐอาจช่วยเหลือด้วยการออกทุนให้ครึ่งหนึ่ง หรือตั้งโรงงานผลิตในเมืองไทยเพื่อลดต้นทุน” วิภาคกล่าว

ทั้งนี้ โครงการใช้ถุงพลาสติกชีวภาพกำจัดขยะเปียกเพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์นี้เป็นความร่วมมือระหว่าง สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สนช. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเพ , สมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพไทย และบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) โดยมีการสนับสนุนถุงพลาสติกชีวภาพที่จุขยะเปียกได้ 10 กิโลกรัม จำนวน 60,0000 ใบ พร้อมถังขยะสำหรับทิ้งขยะเปียกเหล่านี้

ภายใต้ความร่วมมือซึ่งมีผู้ประกอบการและร้านค้าต่างๆ 70 รายที่เข้าร่วมนี้ ขยะเปียกหรือขยะอินทรีย์ที่ถูกคัดแยกลงถุงชีวภาพโดยเฉพาะนี้จะถูกจัดเก็บไปยังโรงหมักปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งตั้งอยู่ ณ บ่อขยะรีไซเคิลเกาะเสม็ด ที่มีการคัดแยกขยะรีไซเคิลอยู่แล้ว จากนั้นขยะเปียกพร้อมถุงจะถูกหมักเป็นปุ๋ยไปพร้อมกัน โดยโรงหมักปุ๋ยนี้ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ซึ่งมีกระบวนการผลิตกึ่งอัตโนมัติ สามารถควบคุมสภาวะอุณหภูมิและความชื้นของขยะอินทรีย์ได้โดยไม่ต้องพลิกกองขยะ

ด้าน นางมิ่งขวัญ วิชยารังสฤษดิ์ รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะต้นสังกัดอุทยานแห่งชาติแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด ที่ดูแลและบริหารจัดการหมู่เกาะเสม็ด ให้ข้อมูลว่าอุทยานแห่งชาติแหลมหญ้าฯ มีพื้นที่ประมาณ 89,000 ไร่ โดยมีพื้นที่ของเสม็ด 4,200 ไร่ และแต่ละวันมีขยะมากถึง 6 ตัน โดย 50% เป็นขยะอินทรีย์ ซึ่งหากมีการจัดการที่ดีจะทำให้ขยะเหล่านั้นเป็นศูนย์หรือไม่่มีขยะเหลือเลย

ผู้เกี่ยวข้องคาดว่าจะเห็นความสำเร็จของโครงการนี้ได้ใน 1 ปี และหากสำเร็จก็จะทำให้เกาะเสม็ดเป็น “เกาะสีเขียว” ที่เปิดให้ทุกคนมาดูงานได้ และอาจขยายความสำเร็จสู่เกาะท่องเที่ยวอื่นๆ เช่น เกาะช้าง เกาะกูด รวมถึงเกาะภูเก็ต เป็นต้น โดย ดร.วันทนีย์ จองคำ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมวัฒนธรรมนวัตกรรม สนช.กล่าวว่า โครงการความร่วมมือนี้มีเป้าหมายไปสู่การกำหนดนโยบายระดับประเทศเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตพลาสติกชีวภาพระดับประเทศ

“พลาสติกชีวภาพถือเป็นวัสดุแห่งอนาคต เพราะเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่าพลาสติกทั่วไปถึง ๅ เท่า และผลิตได้จากพืชเกษตรอย่างอ้อยและมันสำปะหลังที่ผลิตได้มากในเมืองไทย อีกทั้งยังใช้พลังงานในการผลิตต่ำ สามารถย่อยสลายได้ภายใน 1 ปี” ดร.วันทนีย์

โครงการนี้เป็นโครงการต่อเนื่องจากการโครงการส่งเสริมใช้ชุมชน ร้านค้า โรงแรมและรีสอร์ทในพื้นที่ทำการคัดแยกขยะอินทรีย์เพื่อนำไปกำจัดที่โรงหมักปุ๋ยอินทรีย์ตั้งแต่ปี 2553 แต่ในโครงการแรกนั้นยังพบปัญหาเรื่องขยะอื่นๆ ปนเปื้อน ทำให้การผลิตปุ๋ยไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร และมีการเก็บขยะแบบรวม ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องคัดแยกที่หน้าเตาเผาขยะอีกรอบ การดำเนินการในโครงการระยะที่ 2 จึงร่วมมือกับกลุ่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เพื่อให้ความรู้แก่ชุมชนในการคัดแยกขยะ และนำพลาสติกชีวภาพมาใช้เพื่อจำกัดขยะอินทรีย์ได้อย่างครบวงจร


เข้าชม : 759


ข่าวเด่น 5 อันดับล่าสุด

      Heat stroke (ลมแดด) 23 / เม.ย. / 2562
      PM 2.5 15 / ก.พ. / 2562
      ร้อนและเย็นในตู้เดียว 15 / พ.ย. / 2555
      พม่า..แผ่นดินไหวตาย 12 วัด-บ้าน-สะพาน พังเสียหาย 12 / พ.ย. / 2555
      ดวงอาทิตย์ปะทุอีก คราวนี้ระดับ X 28 / ต.ค. / 2555




ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ไอคอน : ย่อหน้า จัดซ้าย จัดกลาง จัดขวา ตัวหนา ตัวเอียง เส้นใต้ ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา
อ้างอิงคำพูด เพิ่มเพลง เพิ่มวีดีโอคลิป เพิ่มรูปภาพ เพิ่มไฟล์ Flash เพิ่มลิงก์ เพิ่มอีเมล์
ความคิดเห็น :


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ ที่นี่ เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

 
ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอดอยสะเก็ด  จังหวัดเชียงใหม่ โทรศัพท์ 053-496147
  ห้องสมุดประชาชนอำเภอดอยสะเก็ด 555 หมู่ที่ 3 ถนนบ่อสร้าง-เชียงใหม่ อำเเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ โทรศัพท์ 053-495500
Doisaketlibrary@gmail.com
libdoisaket@cmi.nfe.go.th
บาคาร่า Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05HD  Update by   นายบุญมา มาดี