[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
  
 


เนื้อหา : เรื่องเด่นวันนี้
หมวดหมู่ : ข่าวเด่น
หัวข้อเรื่อง : พิสูจน์พบ น้ำแข็งแห้ง เป็นหิมะตกบนดาวอังคาร

จันทร์ ที่ 24 เดือน กันยายน พ.ศ.2555


 
พิสูจน์พบ น้ำแข็งแห้ง เป็นหิมะตกบนดาวอังคา


 
 
ภาพวาดจำลองเมฆคาร์บอนไดออกไซด์แข็งที่ตกเป็นหิมะบนขั้วใต้ของดาวอังคาร (นาซา/สเปซด็อมคอม/ Christine Daniloff) 

นักวิทยาศาสตร์วิเคราะห์ข้อมูลจากยานอวกาศนาซาที่โคจรรอบดวงดาวอังคารระหว่างฤดูหนาวบนดาวเคราะห์ดังกล่าวในปี 2006 ถึง 2007 และพบว่ามี “น้ำแข็งแห้ง” เป็นหิมะตกบนขั้วใต้ของดาวแดง ซึ่งนับเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวเท่าที่ทราบในระบบสุริยะที่มีปรากฏการณ์ทางสภาพอากาศที่แปลกประหลาดนี้ เพราะยังมีหิมะจากน้ำปกติตกที่อีกขั้วของดาว 
     
     ข้อมูลที่นักวิทยาศาสตร์วิเคราะห์ได้จากยานมาร์สรีคอนเนซองส์ออร์บิเตอร์ (Mars Reconnaissance Orbiter) หรือยานเอ็มอาร์โอ (MRO) ขององค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐ (นาซา) ซึ่งเป็นข้อมูลที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์ได้พบว่ามีหิมะตกบนดาวอังคารจากกลุ่มเมฆที่อยู่รอบๆ ขั้วใต้ของดาวอังคาร
     
     โดยขั้วใต้ของดาวอังคารนั้นเป็นแหล่งของคาร์บอนไดออกไซด์เย็นหรือ “น้ำแข็งแห้ง” ที่ปกคลุมตลอดทั้งปี ซึ่งสเปซด็อทคอมอ้างความเห็นจากนักวิจัยว่า การค้นพบนี้อาจช่วยอธิบายได้ว่า น้ำแข็งแห้งเหล่านั้นก่อตัวขึ้นและคงอยู่ได้อย่างไร
     
     พอล เฮย์เน (Paul Hayne) หัวหน้าทีมวิจัยจากห้องปฏิบัติการจรวดขับเคลื่อนความดัน (Jet Propulsion Laboratory) หรือเจพีแอล (JPL) ของนาซา ในพาซาดีนา แคลิฟอร์เนีย แถลงว่าการตรวจพบครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ได้บทสรุปในที่สุดว่า มีเมฆหิมะคาร์บอนไดออกไซด์หรือหิมะน้ำแข็งแห้ง
     
     เฮย์เนบอกว่าพวกเขาได้พิสูจน์ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า เมฆที่ปกคลุมดาวอังคารเหล่านั้นมีองค์ประกอบเป็นคาร์บอนไดออกไซด์หรือเกล็ดน้ำแข็งของบรรยากาศดาวอังคาร และเมฆเหล่านั้นหนาพอที่จะตกเป็นหิมะบนพื้นผิวดาวเคราะห์
     
     อย่างไรก็ดี การค้นพบดังกล่าวแสดงว่าดาวอังคารนั้นมีหิมะ 2 ชนิดที่แตกต่างกัน โดยเมื่อปี 2008 ยานลงจอดฟีนิกซ์ (Phoenix lander) ของนาซาได้สำรวจพบหิมะน้ำแข็งที่เกิดจากน้ำอย่างที่เราบนโลกคุ้นเคยนั้นตกใกล้ๆ ขั้วเหนือของดาวแดง
     
     เฮย์เนและทีมของเขาได้ศึกษาข้อมูลที่บันทึกด้วยอุปกรณ์ชื่อ มาร์สไคลเมตซาวน์เดอร์ (Mars Climate Sounder) ของยานเอ็มอาร์โอ ระหว่างฤดูหนาวทางชั้วใต้ในปี 2006-2007 โดยเครื่องมือดังกล่าวนั้นได้วัดความสว่างของความยาวคลื่นในย่านแสงที่ตามองเห็นและแสงอินฟราเรดรวม 9 ความยาวคลื่น ซึ่งช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ได้เรียนรู้คุณลักษณะที่สำคัญของอนุภาคและก๊าซของบรรยากาศดาวอังคาร อย่างเช่น ขนาดและความควบแน่น เป็นต้น
     
     ด้าน เดวิด คาส (David Kass) ผู้ร่วมวิจัยจากเจพีแอลเช่นกันกล่าวว่า หลักฐานที่ชี้ว่ามีหิะตกบนดาวอังคารคือข้อมูลที่ระบุอนุภาคของน้ำแข็งแห้งซึ่งใหญ่พอที่ตกสู่พื้นผิวของดาวอังคารได้ อีกหลักฐานคือเมื่อเครื่องมือบนยานชี้ตรงไปที่ขอบฟ้าแทนที่จะชี้ลงสู่พื้นผิวดาวอังคารนั้น ให้ข้อมูลสเปกตรัมอินฟราเรดที่เป็นลักษณะเฉพาะของอนุภาคน้ำแข็งแห้ง และวิธีดังกล่าวยังแยกได้ระหว่างอนุภาคน้ำแข็งแห้งในบรรยากาศกับน้ำแข็งแห้งบนพื้นผิว
     
     อย่างไรก็ดี นักดาราศาสตร์ยังไม่มั่นใจเต็มที่ว่าน้ำแข็งแห้งที่ปกคลุมขั้วใต้ดาวอังคารอย่างถาวรนั้นทับถมกันได้อย่างไร ซึ่งขั้วใต้ของดาวอังคารเป็นจุดเดียวที่มีน้ำแข็งแห้งปกคลุมพื้นผิวตลอดทั้งปี ซึ่งนักวิจัยกล่าวว่าน้ำแข็งแห้งเหล่านั้นอาจจะมาจากหิมะ หรืออาจเกิดจากการแข็งตัวของอากาศที่ระดับพื้นผิวดาวเคราะห์ก็เป็นได้
     
     การที่น้ำแข็งแห้งจะตกสู่พื้นได้นั้นต้องมีอุณหภูมิต่ำถึง -125 องศาเซลเซียส ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพื้นผิวดาวอังคารนั้นหนาวเย็นแค่ไหน และการศึกษาของนักวิจัยครั้งนี้จะตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารเจอร์นัลออฟจีโอกราฟิสิคัลรีเสิร์ช (Journal of Geophysical Research)

แหล่งข้อมูล:ผู้จัดการออนไลน์




เข้าชม : 800


ข่าวเด่น 5 อันดับล่าสุด

      Heat stroke (ลมแดด) 23 / เม.ย. / 2562
      PM 2.5 15 / ก.พ. / 2562
      ร้อนและเย็นในตู้เดียว 15 / พ.ย. / 2555
      พม่า..แผ่นดินไหวตาย 12 วัด-บ้าน-สะพาน พังเสียหาย 12 / พ.ย. / 2555
      ดวงอาทิตย์ปะทุอีก คราวนี้ระดับ X 28 / ต.ค. / 2555




ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ไอคอน : ย่อหน้า จัดซ้าย จัดกลาง จัดขวา ตัวหนา ตัวเอียง เส้นใต้ ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา
อ้างอิงคำพูด เพิ่มเพลง เพิ่มวีดีโอคลิป เพิ่มรูปภาพ เพิ่มไฟล์ Flash เพิ่มลิงก์ เพิ่มอีเมล์
ความคิดเห็น :


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ ที่นี่ เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

 
ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอดอยสะเก็ด  จังหวัดเชียงใหม่ โทรศัพท์ 053-496147
  ห้องสมุดประชาชนอำเภอดอยสะเก็ด 555 หมู่ที่ 3 ถนนบ่อสร้าง-เชียงใหม่ อำเเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ โทรศัพท์ 053-495500
Doisaketlibrary@gmail.com
libdoisaket@cmi.nfe.go.th
บาคาร่า Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05HD  Update by   นายบุญมา มาดี