[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
  
 


เนื้อหา : เรื่องเด่นวันนี้
หมวดหมู่ : ข่าวเด่น
หัวข้อเรื่อง : น้ำแข็งอาร์กติกลดต่ำสุดน็อครอบอีกครั้ง

พฤหัสบดี ที่ 27 เดือน กันยายน พ.ศ.2555


 น้ำแข็งอาร์กติกลดต่ำสุดน็อครอบอีกครั้ง 
ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงปริมาณน้ำแข็งในมหาสมุทรอาร์กติกที่ลดต่ำที่สุดในรอบปีเมื่อวันที่ 16 ก.ย.2012 ที่ผ่านมา และต่ำกว่าสติถิอีกหลายปี เทียบกับปริมาณน้ำแข็งเฉลี่ยระหว่างปี 1979-2000 ในขอบเขตเส้นสีเหลือง (เอพี/National Snow & Ice Data Center)
    เผยข้อมูลปริมาณน้ำแข็งหน้าร้อนในอาร์กติกปีนี้ต่ำกว่าสถิติต่ำสุดเมื่อปี 2007 ที่เคยต่ำกว่าปี 2005 และยังลดต่ำกว่าเมื่อ 3 ทศวรรษก่อนถึงครึ่งหนึ่ง โดยแบบจำลองทำนายปี 2050 จะไม่เหลือน้ำแข็งที่ขั้วโลกเหนือ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงกลับเร็วกว่าคำทำนาย ชี้ต้นเหตุเกิดจากภาวะโลกร้อนที่มนุษย์สร้างขึ้น
   
   ข้อมูลการละลายของน้ำแข็งที่มหาสมุทรอาร์กติก (Arctic Ocean) ทางขั้วโลกเหนือนี้เอพีอ้างอิงจากศูนย์ข้อมูลหิมะและน้ำแข็งสหรัฐ (National Snow and Ice Data Center) ในโบลเดอร์ โคโลราโด สหรัฐฯ ซึ่งระบุว่า เมื่อวันที่ 16 ก.ย.2012 ที่ผ่านมาน้ำแข็งในฤดูร้อนของอาร์กติกลดเหลือเพียง 3.41 ล้านตารางกิโลเมตร
   
   ปริมาณน้ำแข็งที่เหลืออยู่ดังกล่าวต่ำกว่าปริมาณน้ำแข็งหน้าร้อนในปี 2007 อยู่ 18% ซึ่งเมื่อวันที่ 18 ก.ย.2007 มีปริมาณน้ำแข็งเหลือ 4.17 ล้านตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นปริมาณน้ำแข็งที่น้อยกว่าในฤดูร้อนของอาร์กติกเมื่อปี 2005 อยู่ 22%
   
   อย่างไรก็ดี เมื่อวันที่ 17 ก.ย.2012 ปริมาณน้ำแข็งเริ่มกลับเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นไปตามวัฏจักรน้ำแข็งของมหาสมุทรอาร์กติกที่จะละลายในฤดูร้อนและก่อตัวเพิ่มในฤดูหนาว ซึ่ง วอลต์ ไมเออร์ (Walt Meier) นักวิทยาศาสตร์ของศูนย์ข้อมูลดังกล่าว เผยว่าปริมาณน้ำแข็งอาร์กติกในหน้าร้อนเมื่อช่วงทศวรรษ 1980 นั้นน้อยกว่าพื้นที่ “แผ่นดินใหญ่” (the Lower 48) ของสหรัฐฯ เพียงเล้กน้อย แต่ตอนนี้ปริมาณน้ำแข็งที่เหลืออยู่น้อยกว่าในอดีตถึงครึ่งหนึ่ง
   
   มาร์ก เซอร์เรซ (Mark Serreze) ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลหิมะและน้ำแข็งกล่าวว่าในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ภาวะโลกร้อนจากน้ำมือมนุษย์ ได้ละลายน้ำแข็งในมหาสมุทรและทำให้น้ำแข็งบางลงไปมาก ซึ่งน้ำแข็งได้ลดลงมากจนน่าตกใจในปีนี้ และการละลายของน้ำแข็งในหน้าร้อนก็เร็วขึ้นอย่างผิดปกติ ซึ่ง 6 ครั้งของน้ำแข็งเดือนกันยายนที่เหลือน้อยที่สุดก็เกิดขึ้นในช่วง 6 ปีที่ผ่านมานี่เอง ซึ่งนับเหตุการณ์ที่มีนัยสำคัญ
   
   เซอร์เรซกล่าวว่าการละลายของน้ำแข็งมากขึ้นในฤดูร้อนเป็นผลจากภาวะโลกร้อนที่กระทบต่อเนื่องทุกวัน และขั้วโลกนับเป็นบริเวณที่เห็นผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศอันดับแรกๆ ในโลก ซึ่งเสริมความเห็นนี้โดย เจสัน บอกซ์ (Jason Box) นักวิจัยขั้วโลกจากมหาวิทยาลัยไอโฮโอสเตท (Ohio State University) กล่าวว่า น้ำแข็งทะเลนั้นเป็นสิ่งชี้วัดอุณหภูมิของในธรรมชาติที่ไวมากๆ
   
   ไมเออร์ยังเปรียบเทียบว่าอาร์กติกเป็นเหมือนเครื่องปรับอากาศที่รักษาสิ่งต่างๆ ให้เย็นลง แต่เมื่อน้ำแข็งละลายมากขึ้น ก็เหมือนเครื่องปรับอากาศที่ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ โดยทะเลน้ำแข็งนั้นจะสะท้อนความร้อนจากดวงอาทิตย์ออกไปมากกว่า 90% แต่เมื่อน้ำแข็งเหล่านั้นถูกแทนที่ด้วยมหาสมุทรที่มีสีคล้ำกว่า และมากกว่าครึ่งของความร้อนจากดวงอาทิตย์จะถูกดูดซับไว้ในน้ำ
   
   นักวิทยาศาสตร์ที่ศูนย์ข้อมูลหิมะและน้ำแข็งกล่าวว่า แบบจำลองของศูนย์ชี้ว่าอาร์กติกจะสิ้นน้ำแข็งทั้งหมดในฤดูร้อนปี 2050 หากแต่แนวโน้มปัจจุบันที่เกิดขึ้นนี้แสดงให้เห็นว่าน้ำแข็งกำลังละลายเร็วกว่าที่แบบจำลองทางคอมพิวเตอร์ทำนาย
แหล่งข่าว:ผู้จัดการออนไลน์


เข้าชม : 825


ข่าวเด่น 5 อันดับล่าสุด

      Heat stroke (ลมแดด) 23 / เม.ย. / 2562
      PM 2.5 15 / ก.พ. / 2562
      ร้อนและเย็นในตู้เดียว 15 / พ.ย. / 2555
      พม่า..แผ่นดินไหวตาย 12 วัด-บ้าน-สะพาน พังเสียหาย 12 / พ.ย. / 2555
      ดวงอาทิตย์ปะทุอีก คราวนี้ระดับ X 28 / ต.ค. / 2555




ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ไอคอน : ย่อหน้า จัดซ้าย จัดกลาง จัดขวา ตัวหนา ตัวเอียง เส้นใต้ ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา
อ้างอิงคำพูด เพิ่มเพลง เพิ่มวีดีโอคลิป เพิ่มรูปภาพ เพิ่มไฟล์ Flash เพิ่มลิงก์ เพิ่มอีเมล์
ความคิดเห็น :


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ ที่นี่ เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

 
ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอดอยสะเก็ด  จังหวัดเชียงใหม่ โทรศัพท์ 053-496147
  ห้องสมุดประชาชนอำเภอดอยสะเก็ด 555 หมู่ที่ 3 ถนนบ่อสร้าง-เชียงใหม่ อำเเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ โทรศัพท์ 053-495500
Doisaketlibrary@gmail.com
libdoisaket@cmi.nfe.go.th
บาคาร่า Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05HD  Update by   นายบุญมา มาดี