[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
  
 


เนื้อหา : เรื่องเด่นวันนี้
หมวดหมู่ : พระราชสำนัก
หัวข้อเรื่อง : พระราชประวัติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

เสาร์ ที่ 24 เดือน มีนาคม พ.ศ.2561


 

2 เมษายน 2561 วันคล้ายวันพระราชสมภพ

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
 
 
 
พระนามเต็ม สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี
พระอิสริยยศ สยามบรมราชกุมารี
ฐานันดรศักดิ์ เจ้าฟ้าชั้นเอก
ราชวงศ์ จักรี
ข้อมูลส่วนพระองค์
พระราชสมภพ 2 เมษายน พ.ศ. 2498 (63 ปี) พระราชวังดุสิต กรุงเทพมหานคร
พระราชบิดา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
พระราชมารดา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ลายพระอภิไธย
พระราชประวัติ
พระราชสมภพ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2498 (ตรงกับวันขึ้น 10 ค่ำ เดือน 5 ปีมะแม สัปตศก) ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต เป็นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระองค์ที่ 3 ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โดยศาสตราจารย์ นายแพทย์ หม่อมหลวงเกษตร สนิทวงศ์ เป็นผู้ถวายพระประสูติกาล และได้รับการถวายพระนามจากสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ พร้อมทั้งประทานคำแปลว่า นางแก้ว อันหมายถึง หญิงผู้ประเสริฐ และมีพระนามที่ข้าราชบริพาร เรียกทั่วไปว่า ทูลกระหม่อมน้อย
พระนาม "สิรินธร" นั้น นำมาจากสร้อยพระนามของสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ซึ่งเป็นสมเด็จพระราชปิตุจฉา (ป้า) ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
สำหรับสร้อยพระนาม "กิติวัฒนาดุลโสภาคย์" ประกอบขึ้นจากพระนามาภิไธยของสมเด็จพระบุพการี 3 พระองค์ ได้แก่ "กิติ" มาจากพระนามาภิไธยของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถพระมารดา (แม่) ส่วน "วัฒนา" มาจากพระนามาภิไธยเดิมของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า (คือ สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี) สมเด็จพระปัยยิกา (ย่าทวด) และ "อดุล" มาจากพระนามาภิไธยของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก สมเด็จพระอัยกา (ปู่)
การศึกษา
เมื่อปี พ.ศ. 2501 พระองค์ทรงเริ่มเข้ารับการศึกษาระดับอนุบาลที่โรงเรียนจิตรลดา ซึ่งตั้งอยู่ภายในพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต และทรงศึกษาต่อในโรงเรียนจิตรลดาจนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และ ในปี พ.ศ. 2515 ก็ทรงสอบไล่จบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในแผนกศิลปะ ด้วยคะแนนสูงสุดของประเทศ
หลังจากนั้น พระองค์ทรงสอบเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ณ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยสามารถทำคะแนนสอบเอนทรานซ์เป็นอันดับ 4 ของประเทศซึ่งถือเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์แรกที่ทรงเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาในประเทศ จนกระทั่ง ปี พ.ศ. 2520 พระองค์ทรงสำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาอักษรศาสตรบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง เหรียญทอง ด้วยคะแนนเฉลี่ย 3.98
พระองค์ทรงเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโท ด้านจารึกภาษาตะวันออก (ภาษาสันสกฤตและภาษาเขมร) ณ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร และสาขาภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต จาก ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในระหว่างนั้น มีพระราชกิจมากจนทำให้ไม่สามารถทำวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาโทได้พร้อมกันทั้ง 2 มหาวิทยาลัย พระองค์จึงตัดสินพระทัยเลือกทำวิทยานิพนธ์เพื่อให้สำเร็จการศึกษาที่คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรก่อน โดยทรงทำวิทยานิพนธ์ห้วข้อเรื่อง “จารึกพบที่ปราสาทพนมรุ้ง” ทรงสำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต และเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2522 หลังจากนั้น พระองค์ทรงทำวิทยานิพนธ์หัวข้อเรื่อง “ทศบารมีในพุทธศาสนาเถรวาท” ทรงสำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2524
พระองค์ทรงเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก ณ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยพระองค์ผ่านการสอบคัดเลือกอย่างยอดเยี่ยมด้วยคะแนนเป็นอันดับหนึ่งในบรรดาผู้เข้าสอบทั้งหมด และทรงเป็นนิสิตปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาพัฒนศึกษาศาสตร์ รุ่นที่ 4 พระองค์ทรงทำวิทยานิพนธ์ในหัวข้อเรื่อง “การพัฒนานวัตกรรมเสริมทักษะการเรียนการสอนภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย” เนื่องจากพระองค์ทรงตระหนักว่าสภาพการเรียนการสอนภาษาไทยนั้นมีปัญหา เพราะนักเรียนไม่ค่อยสนใจเรียนภาษาไทย มีความรู้ ความสามารถ ทักษะในการเข้าใจและใช้ภาษาไม่เพียงพอ พระองค์จึงทรงนำเสนอวิธีการสอนภาษาไทยในลักษณะนวัตกรรมเสริมทักษะการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมความสนใจในการเรียนภาษาไทยของนักเรียนและเป็นสื่อที่จะช่วยให้ครูสอนภาษาไทยได้ง่ายขึ้น พระองค์ทรงสอบผ่านวิทยานิพนธ์อย่างยอดเยี่ยม สภามหาวิทยาลัยอนุมัติให้ทรงสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอก เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2529
 
การสถาปนาพระอิสริยศักดิ์
พระราชพิธีสถาปนาพระราชอิสริยศักดิ์ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มีพระราชดำริว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ ทรงได้รับความสำเร็จในการศึกษาอย่างงดงาม และทรงได้บำเพ็ญพระองค์ให้เป็นประโยชน์แก่ชาติบ้านเมืองเป็นอเนกปริยาย โดยเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมเยียนราษฎรในภูมิภาคต่าง ๆ อยู่เสมอ ในด้านการพัฒนาบ้านเมือง เสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาและช่วยเหลือกิจการโครงการตามพระราชดำริทุกโครงการ พร้อมทรงรับพระบรมราโชบายมาทรงดำเนินการสนองพระเดชพระคุณในด้านต่าง ๆ นับเป็นการดูแลสอดส่องพระราชกรณียกิจส่วนหนึ่งต่างพระเนตรพระกรรณ ในด้านการพระศาสนา มีพระหฤทัยมั่นคงในพระรัตนตรัยและสนพระหฤทัยศึกษาหาความรู้ด้านศาสนาพุทธและศาสนาอื่นอย่างแตกฉาน ในส่วนราชการในพระองค์นั้น ก็ได้สนองพระเดชพระคุณในพระราชภารกิจที่ทรงมอบหมายให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระองค์นี้ กอปรด้วยพระจรรยามารยาท เพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติแห่งขัตติยราชกุมารีทุกประการ เป็นที่รักใคร่นับถือ ยกย่องสรรเสริญพระเกียรติคุณกันอยู่โดยทั่ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระอิสริยยศและพระอิสริยศักดิ์ให้สูงขึ้น ให้ทรงรับพระราชบัญชาและสัปตปฎลเศวตฉัตร (เศวตฉัตร 7 ชั้น) พร้อมทั้ง เฉลิมพระนามตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2520
นับเป็นเจ้านายฝ่ายในพระองค์ที่ 14 ในราชวงศ์จักรี ที่ได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศเป็นกรมพระ (หรือสมเด็จพระ) และเป็นครั้งแรกที่สถาปนาพระอิสริยยศนี้แก่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้า จึงเป็นพระเกียรติยศที่สูงยิ่ง
พระเกียรติยศ
 
ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี
Female Royalty''s Standard of Thailand.svg
ธงประจำพระอิสริยยศ
Royal Monogram of Princess Maha Chakri Sirindhorn.svg
ตราประจำพระองค์
Royal Flag of Princess Maha Chakri Sirindhorn.svg
ธงประจำพระองค์
การทูล ใต้ฝ่าละอองพระบาท
การแทนตน ข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับ พ่ะย่ะค่ะ/เพคะ
ลำดับโปเจียม 3
ตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558
พระอิสริยยศ
  • สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ (2 เมษายน พ.ศ. 2498 – 5 ธันวาคม พ.ศ. 2520)
  • สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี (5 ธันวาคม พ.ศ. 2520 – ปัจจุบัน)
เครื่องราชอิสริยยศ
เมื่อพระองค์ทรงได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศขึ้นเป็น "สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี" ในการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2520 นั้น พระองค์ทรงได้รับพระราชทานเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศ ดังนี้
  • พระสุพรรณบัฏ จารึกพระปรมาภิไธย บรรจุในหีบทองคำลงยา ภปร ประดับเพชร
  • เครื่องราชูปโภค
    • พานพระศรี (พานใส่หมากพลู) ทองคำลงยาเครื่องพร้อม
    • หีบพระศรีทองคำลงยาประดับเพชร พร้อมพานทองรองเครื่องพร้อม
    • พระสุพรรณศรี (กระโถนเล็ก) ทองคำลงยา
    • กาทองคำทรงกระบอกมีถาดรอง
    • ขันน้ำเสวยทองคำลงยา พร้อมจอกทองคำลงยา
    • ขันสรงพระพักตร์ทองคำลงยา พร้อมพานรอง
    • ที่ชาทองคำพร้อมถ้วยฝาหยก
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์จากต่างประเทศ ดังต่อไปนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

พระยศทางทหาร
พลเอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง
นายกองใหญ่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
รับใช้ กองทัพบกไทยกองทัพเรือไทยกองทัพอากาศไทย และกองอาสารักษาดินแดน
ปีปฏิบัติหน้าที่
ชั้นยศ
  • RTA OF-9 (General).svg พลเอกหญิง
  • RTN OF-9 (Admiral).svg พลเรือเอกหญิง
  • RTAF OF-9 (Air Chief Marshal).svg พลอากาศเอกหญิง
  • นายกองใหญ่.jpg นายกองใหญ่
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระยศทางทหารแก่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตามลำดับ ดังนี้
Flag of the Royal Thai Army.svg กองทัพบก
  • 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523 - พระยศ เรือเอกหญิง และทรงได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งนายทหารพิเศษประจำกองทัพเรือ และนายทหารพิเศษประจำกองนักเรียนนายเรือรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรือ
  • 25 ธันวาคม พ.ศ. 2523 - พระยศ นาวาตรีหญิง
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2526 - พระยศ นาวาโทหญิง
  • 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528 - พระยศ นาวาเอกหญิง
  • 31 มกราคม พ.ศ. 2532 - พระยศ พลเรือตรีหญิง
  • 19 สิงหาคม พ.ศ. 2535 - พระยศ พลเรือโทหญิง
  • 15 มีนาคม พ.ศ. 2539 - พระยศ พลเรือเอกหญิง
  • 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523 - พระยศ เรืออากาศเอกหญิง และทรงได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งนายทหารพิเศษประจำกองทัพอากาศ, นายทหารพิเศษประจำกองนักเรียนนายเรืออากาศรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรืออากาศ กรมยุทธศึกษาทหาร และนายทหารพิเศษประจำกองพันอากาศโยธินที่ 1 รักษาพระองค์
  • 25 ธันวาคม พ.ศ. 2523 - พระยศ นาวาอากาศตรีหญิง
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2526 - พระยศ นาวาอากาศโทหญิง
  • 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528 - พระยศ นาวาอากาศเอกหญิง
  • 31 มกราคม พ.ศ. 2532 - พระยศ พลอากาศตรีหญิง
  • 19 สิงหาคม พ.ศ. 2535 - พระยศ พลอากาศโทหญิง
  • 15'' มีนาคม พ.ศ. 2539 - พระยศ พลอากาศเอกหญิง
รางวัลที่ทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวาย
  • รางวัลพระเกี้ยวทองคำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 เนื่องจากพระองค์ทรงมีผลงานที่มีส่วนส่งเสริมความรู้และความภูมิใจในภาษาไทยเป็นที่ประจักษ์แก่ประชาชนทั่วไปอย่างเด่นชัด และผลงานนั้น ๆ มีลักษณะก่อให้เกิดความสนใจ และสร้างทัศนคติที่ดีต่อภาษาประจำชาติ[98]
  • รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ คณะกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติ ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2545 สาขาสหวิทยาการ แด่พระองค์ เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2545 ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต เพื่อเฉลิมพระเกียรติคุณในพระอัจฉริยภาพที่ทรงเป็นนักวิจัย โดยมีผลงานในทุกสาขาวิชาซึ่งเป็นประโยชน์ต่อวงการวิชาการของประเทศ
  • รางวัลมิตรนานาชาติ 10 อันดับแรกของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยพระองค์ทรงได้รับการคัดเลือกจากประชาชนชาวจีนให้เป็นมิตรนานาชาติ 10 อันดับแรกของประเทศจีน เนื่องจากพระองค์ทรงศึกษาภาษาจีนตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ทรงทำวิจัยเกี่ยวกับประวัติศาสตร์จีนมาตลอด และเสด็จเยือนประเทศจีนแล้วมากกว่า 32 ครั้ง ในช่วง 28 ปีที่ผ่านมา ทรงเข้ารับการทูลเกล้าฯ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ณ ประเทศจีน ในโอกาสนี้ รัฐบาลไทย โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในนามคณะรัฐมนตรี ข้าราชการ และพสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่า ได้เป็นเจ้าภาพจัดงานสโมสรสันนิบาตและงานถวายพระกระยาหารค่ำเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลการจัดกิจกรรม มิตรนานาชาติสิบอันดับแรกของสาธารณรัฐประชาชนจีนในรอบ 100 ปี ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2553
ตำแหน่งที่ทรงได้รับ
  • อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นผู้ที่เหมาะสมและไว้วางพระราชหฤทัย จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ทรงดำรงตำแหน่งอุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย ตั้งแต่วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2520
  • ทูตพิเศษของโครงการอาหารโลก ด้านอาหารโรงเรียน (WFP''s Special Ambassador for School Feeding) พระองค์ทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายตำแหน่งทูตพิเศษของโครงการอาหารโลก(World food programme) แห่งสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2547
  • ทูตสันถวไมตรีแห่งองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ด้านการส่งเสริมศักยภาพของเด็กชนกลุ่มน้อย ด้วยการศึกษาและอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม (UNESCO Goodwill Ambassador for the Empowerment of Minority Children and the Preservation of their Intangible Cultural Heritage) องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก แต่งตั้งให้พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งนี้ โดยนายโคอิชิโร มัตสึอูระ ผู้อำนวยการใหญ่ยูเนสโก พร้อมด้วยผู้บริหารยูเนสโก เข้าเฝ้าฯ ทูลเกล้าฯ ถวายใบประกาศนียบัตรและใบประกาศแต่งตั้ง เมื่อวันที่ 24 มีนาคมพ.ศ. 2548 ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต
  • วุฒิสภากิตติมศักดิ์ ของมูลนิธิการประชุมผู้ได้รับรางวัลโนเบล (Honorary Senate of the Foundation Lindau Nobel Prize Winners Meetings) เนื่องจากพระองค์ทรงทำคุณประโยชน์อย่างเด่นชัดในการประชุมที่ลินเดา และแก่มูลนิธิ ทรงเสียสละและทุ่มเทให้กับงานทางด้านวิทยาศาสตร์ สนับสนุนการศึกษาวิทยาศาสตร์ เชื่อมโยงวิทยาศาสตร์และทำให้เกิดการบูรณาการ เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2553[107]


ขอขอบคุณข้อมูลจาก วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี 
https://th.wikipedia.org
รวบรวมและเรียบเรียงโดย : กานต์นภัส  แสนยศ (บรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชนอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่)



เข้าชม : 2106


พระราชสำนัก 5 อันดับล่าสุด

      สกร. รวมใจภักดิ์ 22 / ก.พ. / 2567
      สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา 10 / ธ.ค. / 2566
      ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๖ วันแม่แห่งชาติ 10 / ส.ค. / 2566
      วันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว 27 / ก.ค. / 2566
      วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี 1 / มิ.ย. / 2566




ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ไอคอน : ย่อหน้า จัดซ้าย จัดกลาง จัดขวา ตัวหนา ตัวเอียง เส้นใต้ ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา
อ้างอิงคำพูด เพิ่มเพลง เพิ่มวีดีโอคลิป เพิ่มรูปภาพ เพิ่มไฟล์ Flash เพิ่มลิงก์ เพิ่มอีเมล์
ความคิดเห็น :


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ ที่นี่ เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

 
ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอดอยสะเก็ด  จังหวัดเชียงใหม่ โทรศัพท์ 053-496147
  ห้องสมุดประชาชนอำเภอดอยสะเก็ด 555 หมู่ที่ 3 ถนนบ่อสร้าง-เชียงใหม่ อำเเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ โทรศัพท์ 053-495500
Doisaketlibrary@gmail.com
libdoisaket@cmi.nfe.go.th
บาคาร่า Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05HD  Update by   นายบุญมา มาดี