[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
  
 


เนื้อหา : เรื่องเด่นวันนี้
หมวดหมู่ : ข่าวเด่น
หัวข้อเรื่อง : กรุงเทพฯ มีความเสี่ยงเหมือน “เม็กซิโกซิตี” ที่ราบคาบจากแผ่นดินไหว เมื่อ 27 ปีก่อน

ศุกร์ ที่ 27 เดือน เมษายน พ.ศ.2555


กรุงเทพฯ มีความเสี่ยงเหมือน “เม็กซิโกซิตี” ที่ราบคาบจากแผ่นดินไหว เมื่อ 27 ปีก่อน




สภาพเมืองเม็กซิโกซิตีเมื่อเหตุแผ่นดินไหวในปี 2528



นักวิชาการ ระบุ กรุงเทพฯ มีความเสี่ยงเหมือน “เม็กซิโกซิตี” ที่ราบคาบจากแผ่นดินไหว เมื่อ 27 ปีก่อน ทั้งๆ ที่จุดศูนย์กลางอยู่ไกลกว่า 350 กิโลเมตร เหตุเพราะอยู่บนพื้นที่ดินอ่อนเช่นเดียวกัน และไม่ได้ออกแบบอาคารรองรับแผ่นดินไหว แจงมี 3 รอยเลื่อนที่กำหนดความเสี่ยงเมืองกรุง คือ รอยเลื่อนในเมืองกาญจน์ พม่า และแนวมุดตัวทางฝั่งอันดามัน ชี้ ควรสร้างอาคารที่รองรับการสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว

รศ.ดร.อมร พิมานมาศ จากสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และประธานคณะอนุกรรมการสาขาวิศวกรรมโครงสร้างและสะพาน สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า ตั้งแต่ปี 2554 มีความตื่นตัวในเรื่องแผ่นดินไหวกันมากขึ้น ซึ่งจากเหตุแผ่นดินไหวรุนแรงทั้งในนิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น จนถึงแผ่นดินไหวล่าสุดที่ จ.ภูเก็ต เมื่อวันที่ 16 เม.ย.55 นั้น อาคารสูงหลายแห่งในกรุงเทพฯ มีการสั่นไหวอย่างรุนแรง

เหตุที่อาคารสูงในกรุงเทพฯ สั่นไหวอย่างรุนแรง เนื่องจากตั้งอยู่บนพื้นที่ดินอ่อน หรือดินเลน เมื่อถูกกระตุ้น จึงขยายการสั่นสะเทือนอย่างรุนแรงได้ถึง 3 เท่า แม้เหตุแผ่นดินไหวเมื่อ 26 ธ.ค.47 ที่เกาะสุมาตรา มีจุดศูนย์กลางอยู่ไกล 1,200 กิโลเมตร หรือแผ่นดินไหวในจีนที่อยู่ไกลออกไปถึง 2,600 กิโลเมตร ก็พบว่า มีการเขย่าของตึกสูงในกรุงเทพฯ แต่ รศ.ดร.อมร กล่าวว่า แม้อาคารสูงจะสั่นอย่างรุนแรง แต่ไม่ได้หมายความว่า จะต้องถล่มเสมอไป ส่วนหนึ่งเพราะอาคารสูงมักได้รับการออกแบบให้รองรับแรงลมระดับหนึ่งอยู่แล้ว

อย่างไรก็ดี ตึกสูงในกรุงเทพฯ ยังคงมีความเสี่ยงจากเหตุแผ่นดินไหวอยู่ดี โดย รศ.ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย จากคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (เอไอที) กล่าวว่า คลื่นสั่นสะเทือนจากพื้นดินมีความรุนแรงมากกว่าแรงลมอยู่มาก และแม้กรุงเทพฯ ไม่ได้ตั้งอยู่ในแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว แต่สภาพดินก็ขยายความรุนแรงได้ถึง 3 เท่า โดยเฉพาะความถี่ต่ำๆ จากแผ่นดินไหวจะถูกขยายความรุนแรงโดยอาคารสูงที่มีการโยกอย่างช้าๆ หรือมีความถี่ธรรมชาติที่ตรงกับคลื่นแผ่นดินไหว จึงเกิดการสั่นพ้อง หรือการกำทอนขึ้น

ทางด้าน รศ.ดร.อมร ได้เปรียบเทียบว่า กรุงเทพฯ มีความเสี่ยงจากแผ่นดินไหวเหมือนกรุงเม็กซิโกซิตี ของเม็กซิโก เนื่องจากมี 3 ปัจจัยคล้ายกัน คือ 1.ไม่มีรอยเลื่อนอยู่ใต้เมือง 2.ตั้งอยู่บนชั้นดินอ่อน และ 3.อาคารไม่ได้ออกแบบมาเพื่อรองรับแผ่นดินไหว ซึ่งเมื่อปี 2528 เกิดแผ่นดินไหว 8.5 ริกเตอร์ ห่างจากกรุงเม็กซิโกซิตี ออกไป 350 กิโลเมตร ส่งผลให้อาคารต่างๆ ถล่มลงมา มีผู้เสียชีวิตไปกว่า 10,000 คน

สำหรับเมืองไทยนั้น รศ.ดร.เป็นหนึ่ง กล่าวว่า มี 3 ปัจจัยที่กำหนดความเสี่ยงให้กรุงเทพฯ คือ รอยเลื่อนใน จ.กาญจนบุรี ที่อยู่ห่างออกไปประมาณ 200 กิโลเมตร มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวขนาด 7-7.5 ริกเตอร์ รอยเลื่อนสะแกง หรือรอยเลื่อนสกายตามภาษาถิ่นในพม่าที่อยู่ห่างออกไป 400 กิโลเมตร มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวขนาด 8 ริกเตอร์ และแนวมุดตัวบริเวณเกาะนิโคบาร์ทางฝั่งอันดามัน (แนวเดียวกับที่เกิดแผ่นดินไหวเมื่อปี 2547) ที่อยู่ห่างออกไปประมาณ 600 กิโลเมตร มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวถึง 8.5 ริกเตอร์

ทั้งนี้ รศ.ดร.อมร กล่าวว่า สำหรับกรุงเทพฯ นั้น ต้องใช้เม็กซิโกซิตีเป็นแบบจำลอง เพราะมีปัจจัยความเสี่ยงเหมือนกัน และแผ่นดินไหวเป็นเหตุการณ์ที่เตือนไม่ได้ ดังนั้น เราจำเป็นต้องอยู่บนอาคารที่ปลอดภัย ซึ่งทางวิศวกรรมสถานฯ ได้ศึกษาข้อมูลจนนำไปสู่การออก “กฎกระทรวง” ของกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย ในปี 2550 สำหรับบังคับใช้ในการออกแบบอาคารต้านแผ่นดินไหวสำหรับพื้นที่เสี่ยง

กฎกระทรวงดังกล่าวครอบคลุมพื้นที่ 3 บริเวณ คือ บริเวณที่ 1 ได้แก่ กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และ สมุทรสาคร บริเวณที่ 2 ได้แก่ กาญจนบุรี เชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน พะเยา แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง และ ลำพูน และบริเวณเฝ้าระวัง ได้แก่ กระบี่ ชุมพร พังงา ภูเก็ต ระนอง สงขลา และ สุราษฎร์ธานี หากแต่ยังมีอีกหลายพื้นที่ที่มีความเสี่ยงและต้องปรับแก้กันต่อไป

สำหรับอาคารที่ก่อสร้างโดยไม่ได้ออกแบบให้รองรับแผ่นดินไหวนั้น รศ.ดร.อมร แนะนำให้เสริมความแข็งแรงด้วยแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์ โดยใช้พันรอบเสาในในตำแหน่งที่จะเสียหายได้ง่าย เช่น โคนเสา เป็นต้น แต่วิธีนี้มีราคาประมาณ 200,000 บาท จึงมีอีกวิธีสำหรับอาคารที่ไม่สูงเกิน 6 ชั้น หรืออาคารตึกแถว ให้ใช้เหล็กปลอกพันรอบโคนเสาแล้วพันทับด้วยลวดกรงไก่จากนั้นฉาบปูนทับ ซึ่งจะได้เสาที่มีความแข็งแรงขึ้นในต้นทุนเสาละประมาณ 1,000 บาท



เข้าชม : 562


ข่าวเด่น 5 อันดับล่าสุด

      Heat stroke (ลมแดด) 23 / เม.ย. / 2562
      PM 2.5 15 / ก.พ. / 2562
      ร้อนและเย็นในตู้เดียว 15 / พ.ย. / 2555
      พม่า..แผ่นดินไหวตาย 12 วัด-บ้าน-สะพาน พังเสียหาย 12 / พ.ย. / 2555
      ดวงอาทิตย์ปะทุอีก คราวนี้ระดับ X 28 / ต.ค. / 2555




ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ไอคอน : ย่อหน้า จัดซ้าย จัดกลาง จัดขวา ตัวหนา ตัวเอียง เส้นใต้ ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา
อ้างอิงคำพูด เพิ่มเพลง เพิ่มวีดีโอคลิป เพิ่มรูปภาพ เพิ่มไฟล์ Flash เพิ่มลิงก์ เพิ่มอีเมล์
ความคิดเห็น :


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ ที่นี่ เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

 
ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอดอยสะเก็ด  จังหวัดเชียงใหม่ โทรศัพท์ 053-496147
  ห้องสมุดประชาชนอำเภอดอยสะเก็ด 555 หมู่ที่ 3 ถนนบ่อสร้าง-เชียงใหม่ อำเเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ โทรศัพท์ 053-495500
Doisaketlibrary@gmail.com
libdoisaket@cmi.nfe.go.th
บาคาร่า Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05HD  Update by   นายบุญมา มาดี