[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
  
 


เนื้อหา : เรื่องเด่นวันนี้
หมวดหมู่ : ข่าวเด่น
หัวข้อเรื่อง : ทรงตัวอยู่ได้อย่างไร...ใกล้รอยเลื่อนมีพลังขนาดนั้น

พุธ ที่ 2 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2555


                                                                                                                 
                                                     
ทรงตัวอยู่ได้อย่างไร...ใกล้รอยเลื่อนมีพลังขนาดนั้น

                                                                             
 
นักวิทยาศาสตร์เพิ่งค้นพบหินก้อนยักษ์ที่ทรงตัวได้อย่างประหลาดใกล้ๆ ทางหลวงที่เชื่อมลอสแองเจลิสกับลาสเวกัส และไม่ไกลจากแนวรอยเลื่อนยักษ์ “ซานแอนเดรียส์” ซึ่งนับเป็นความพิศวงสำหรับวงการธรณีวิทยา เพราะไม่คาดคิดว่าจะได้พบการจัดเรียงเช่นนี้ในพื้นที่ใกล้แนวรอยเลื่อนมีพลัง

ลิซา แกรนท์ ลุดวิก (Lisa Grant Ludwig) ซึ่งนำเสนอโครงสร้างทางธรณีอันน่าพิศวงนี้ภายในวงสัมมนาประจำปีของนักแผ่นดินไหวในงานประชุมของสมาคมวิทยาการแผ่นดินไหวแห่งอเมริกา (Seismological Society of America) กล่าวว่า ไม่ใช่ลักษณะสมดุลของหินก้อนยักษ์ที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์งงงวย หากแต่เรื่องที่หินดังกล่าวยังคงการจัดเรียงเช่นนั้นได้ ทั้งที่รอยเลื่อนก่อแผ่นดินไหวรุนแรงอยู่ไกลออกไปแค่ไม่กี่กิโลเมตรเท่านั้น

นอกจากนี้เรายังเห็นก้อนหินอยู่อย่างสมดุลเหมือนจัดเรียงได้ทั่วโลก แต่ในกรณีหินยักษ์นี้แรงกระทำจากสภาพอากาศและแรงทางธรณีวิทยาได้ทำให้วัสดุรอบๆ หินหลุดออกไปเหลือแต่หินด้านบนที่ทรงตัวได้อย่างประหลาด ซึ่งลุดวิกผู้เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียในเออร์ไวน์ (University of California, Irvine) สหรัฐฯ กล่าวว่า หินที่ตั้งอย่างสมดุลแต่ไม่มั่นคงนี้ก็มีชื่อเรียกเฉพาะคือ “หินพีบีอาร์” (Precariously Balanced Rocks: PBRs) หากแต่ทั่วไปเราคงไม่คาดคิดว่าจะได้เจอหินลักษณะนี้ใกล้รอยเลื่อนมีพลัง

ในความเป็นจริงลุดวิกกล่าวว่า หินพีบีอาร์ถูกใช้เพื่อตรวจสอบแผนที่อันตรายแผ่นดินไหว ซึ่งก่อนนี้เมื่อพบหินดังกล่าวจะบ่งบอกว่าบริเวณดังกล่าวไม่มีแผ่นดินไหวรุนแรงบ่อยครั้งนัก เนื่องจากหินประเภทนี้ไม่ถุกเขย่าให้ตกลงมา ดังนั้น จึงทำให้หินซานเบอร์นาร์ดิโนพีบีอาร์ (San Bernardino PBRs) นี้แปลกมากๆ โดยมีหินแบบนี้หลายสิบก้อนอยู่ 2 กลุ่มก้อน ใกล้ๆ รอยเลื่อน โดยบางก้อนนั้นอยู่ห่างจากรอยเลื่อนเพียง 7 กิโลเมตรเท่านั้น

ลุดวิกกล่าวอีกว่าเมื่อเห็นเพื่อนร่วมงานของเธอถ่ายภาพก้อนหินเหล่านี้แล้วตั้งคำถามว่าก้อนหินยืนหยัดต้านแผ่นดินไหวที่เกิดจากการแยกตัวของรอยเลื่อนซานแอนเดรียส์ได้อย่างไร เธอจึงมุ่งมั่นที่จะไปดูด้วยตาตัวเอง และบอกด้วยว่าตลอดเส้นทางอาชีพนั้นเธอใช้เวลาส่วนใหญ่ในการศึกษาแผ่นดินไหวใหญ่จากรอยเลื่อนซานแอนเดรียส์ ดังนั้นเธอจึงเชื่อมั่นว่าจะหาคำตอบในเรื่องนี้ได้อย่างแน่นอน

ทั้งนี้ จากการงานวิจัยหาอายุหินในภายหลังเผยว่าหินเหล่านี้อยู่ในตำแหน่งเดิมมาเป็นพันปี และในบางก้อนยาวนานถึง 180,000 ปี ซึ่งลุดวิกกล่าวว่าเป็นเวลาที่นานมากเมื่อคำนึงว่าหินเหล่านี้อยู่ใกล้รอยเลื่อนขนาดใหญ่ อย่างไรก็ดี ทีมวิจัยยังไม่่ได้คำอธิบายที่ดีในเรื่องนี้ แต่พวกเขาจะไล่ล่าหาคำตอบต่อไป

 


เข้าชม : 954


ข่าวเด่น 5 อันดับล่าสุด

      Heat stroke (ลมแดด) 23 / เม.ย. / 2562
      PM 2.5 15 / ก.พ. / 2562
      ร้อนและเย็นในตู้เดียว 15 / พ.ย. / 2555
      พม่า..แผ่นดินไหวตาย 12 วัด-บ้าน-สะพาน พังเสียหาย 12 / พ.ย. / 2555
      ดวงอาทิตย์ปะทุอีก คราวนี้ระดับ X 28 / ต.ค. / 2555




ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ไอคอน : ย่อหน้า จัดซ้าย จัดกลาง จัดขวา ตัวหนา ตัวเอียง เส้นใต้ ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา
อ้างอิงคำพูด เพิ่มเพลง เพิ่มวีดีโอคลิป เพิ่มรูปภาพ เพิ่มไฟล์ Flash เพิ่มลิงก์ เพิ่มอีเมล์
ความคิดเห็น :


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ ที่นี่ เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

 
ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอดอยสะเก็ด  จังหวัดเชียงใหม่ โทรศัพท์ 053-496147
  ห้องสมุดประชาชนอำเภอดอยสะเก็ด 555 หมู่ที่ 3 ถนนบ่อสร้าง-เชียงใหม่ อำเเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ โทรศัพท์ 053-495500
Doisaketlibrary@gmail.com
libdoisaket@cmi.nfe.go.th
บาคาร่า Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05HD  Update by   นายบุญมา มาดี