[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
  
 


เนื้อหา : เรื่องเด่นวันนี้
หมวดหมู่ : ข่าวเด่น
หัวข้อเรื่อง : ภูเขาไฟกรากะตัวและทายาท

เสาร์ ที่ 12 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2555


18 พฤศจิกายน 1981 Anak Krakatau ระเบิด
มนุษย์สนใจและกลัวภูเขาไฟที่กำลังระเบิดมาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ เมื่อเห็นทะเลลาวาไหลพุ่งทำลายชีวิต และสิ่งแวดล้อมในบริเวณเชิงภูเขาไฟจนราบพนาสูร ความไม่เข้าใจในธรรมชาติของภูเขาไฟทำให้คนโบราณมีจินตนาการเกี่ยวกับภูเขาไฟมากมาย เช่น ชาวกรีกโบราณมีตำนานเล่าว่า อาณาจักร Atlantis ที่จมหายไปในทะเลอย่างไร้ร่องรอย เพราะถูกภูเขาไฟบนเกาะได้ระเบิดถล่มอย่างรุนแรง ส่วนชาวโรมันเชื่อว่า การที่ภูเขาไฟ Etna บนเกาะ Sicily ระเบิดเพราะใต้ภูเขาไฟมีเทพเจ้าแห่งไฟ Hephaistos ผู้ตีเหล็กจนสะเก็ดไฟปะทุออกมาให้มนุษย์เห็น ด้านเทพ Vulcan เวลาเขี่ยไฟในเตาที่อยู่ใต้ภูเขาไฟจะทำให้ควันและเปลวไฟเล็ดลอดออกมาทางปากปล่อง สำหรับชาว Aztec เชื่อว่า ภูเขาไฟทุกลูกมีเทพเจ้าสถิตประจำ ดังนั้น จึงนิยมนำหญิงสาวสวยไปถวายเป็นเทพบูชา เพื่อไม่ให้องค์เทพพิโรธ ส่วนชาวฮาวายเชื่อว่า ภูเขาไฟเป็นที่ประทับของเทพธิดา Pelé และเวลานางมีโทสะ นางจะบันดาลให้ภูเขาไฟระเบิดพ่นลาวาไหลออกมาฆ่าคนที่กล่าวร้ายนาง แต่สำหรับคนที่นับถือ ลาวาจะไหลเลี่ยงบ้านของคนนั้น และก่อนภูเขาไฟจะระเบิดเล็กน้อย หลายคนอ้างว่า เห็นเทพธิดา Pelé มาปรากฏในร่างของหญิงชราทุกครั้งไป

โลกมีภูเขาไฟประมาณ 1,300 ลูก แบ่งเป็น 700 ลูกที่ดับแล้ว และ 600 ลูกที่ยังมีชีวิตอยู่ ภูเขาไฟที่มีชื่อเสียงที่สุดชื่อ Vesuvius (เวซูเวียส) ซึ่งได้ระเบิดอย่างรุนแรงในวันที่ 24 สิงหาคม เมื่อ 79 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่ง Pliny ผู้เยาว์ได้บันทึกว่า ในคืนวันนั้น ขณะเขายืนอยู่ที่ชายฝั่งเมือง Misernum ซึ่งตั้งอยู่ตรงข้ามกับเมือง Naples ที่มี Vesuvius เป็นฉากอยู่เบื้องหลัง เขาเห็นกลุ่มควันหนาทึบปรากฏเหนือยอดเขา แล้วทะเลควันได้แผ่ขยายตัวอย่างรวดเร็วและลอยขึ้นบดบังแสงอาทิตย์จนบริเวณนั้นมืดสลัว แล้วภูเขาไฟก็ระเบิดพ่นลาวาร้อนพุ่งไหลทะลักออกมาอย่างรวดเร็ว ไปกลบฝังที่อยู่อาศัยของชาวเมือง Pompeii และ Herculaneum ทำให้ชาวเมืองเสียชีวิตหมด เพราะได้สูดหายใจอากาศพิษเข้าร่างกาย และถูกไฟครอกเผาทั้งเป็น แม้ผู้คนจะล้มตายหมดแล้ว แต่เวซูเวียสก็ยังพ่นเถ้าถ่านต่อไปจนทำให้เมืองทั้งสองถูกลบหายไปจากความทรงจำของชาวโลก กระทั่งถึงเมื่อ 250 ปีก่อนนี้เอง เมื่อวิศวกรชื่อ J. Alcubiere ได้ขุดพบซากปรักหักพังและซากศพของชาวเมือง Pompeii โลกจึงได้ “เห็น” เหตุการณ์วินาทีสุดท้ายของชีวิตชาวเมืองผู้เคราะห์ร้าย

ไม่เพียงแต่ในยุโรปเท่านั้นที่มีภูเขาไฟที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ในเอเชียก็มีภูเขาไฟที่มีชื่อเสียงเช่นกัน เช่นที่อินโดนีเซียซึ่งมีภูเขาไฟ Tambora บนเกาะ Sumbawa ที่ระเบิดเมื่อวันที่ 10 เมษายน ค.ศ.1815 นักประวัติศาสตร์ได้บันทึกว่า เสียงระเบิดที่ดังสนั่นโลกทำให้ผู้คนที่อยู่ไกลจากภูเขาไฟถึง 850 กิโลเมตรได้ยินเสียง ความรุนแรงของการระเบิดทำให้ต้นไม้ในป่าบริเวณภูเขาไฟล้มระเนระนาด ฝุ่นภูเขาไฟได้ลอยขึ้นท้องฟ้าบดบังแสงอาทิตย์ จนไม่มีใครในบริเวณนั้นเห็นดวงอาทิตย์เป็นเวลา 3 วัน หลังการระเบิด นักภูมิศาสตร์ได้พบว่า ความสูงของภูเขาไฟลดลง 1,200 เมตร และที่ปล่องภูเขาไฟปรากฏเป็นแอ่งลึก 1 กิโลเมตรและกว้าง 6 กิโลเมตร ข้อมูลเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า อานุภาพของการระเบิดครั้งนั้นรุนแรงเทียบได้กับระเบิดปรมาณู 6 หมื่นลูก นี่จึงเป็นการระเบิดของภูเขาไฟที่รุนแรงที่สุดในช่วงเวลา 10,000 ปีที่ผ่านมา และถ้าจะเปรียบเทียบความรุนแรงตามสเกลตั้งแต่ 0 ถึง 8 คือระดับ 0 เท่ากับไม่ระเบิด และระดับ 8 เท่ากับโลกแตก ความรุนแรงของภูเขาไฟ Tambora ก็อยู่ในระดับ 7

นับว่าเป็นโชคดีที่บริเวณโดยรอบภูเขาไฟ Tambora มีชาวบ้านอาศัยอยู่ไม่มาก ดังนั้นจำนวนผู้เสียชีวิตจึงมีเพียง 8,000 คนเท่านั้นเอง และที่ฝรั่งเศสก็มีรายงานว่า หลังการระเบิด อุณหภูมิของอากาศในยุโรปเหนือได้ลดต่ำ ฝุ่นภูเขาไฟได้ลอยไปถึงเกาะ Greenland และยุโรปกับอเมริกาเหนือในปีนั้น ไม่มีฤดูร้อน นักวิทยาศาสตร์ยังพบอีกว่า ฝุ่นภูเขาไฟสามารถเดินทางรอบโลกได้โดยใช้เวลาประมาณ 13 วัน และที่ระดับสูง 15 กิโลเมตรเหนือผิวโลกก็มีกระแสลมพัดแรงเช่นเดียวกับที่ระดับใกล้ผิวโลก
คลื่นยักษ์สูง 7 เมตร พุ่งเข้าสู่ฝั่ง หลังการระเบิดเล็กน้อย
นอกจาก Tambora แล้ว อินโดนีเซียยังมีภูเขาไฟอีกลูกหนึ่งชื่อ Krakatau ด้วย (คนอังกฤษมักเรียกชื่อผิดว่า Krakatoa) ซึ่งมีชื่อเสียงยิ่งกว่า Tambora เพราะ Krakatau เป็นภูเขาไฟลูกแรกที่นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษา สังเกต และบันทึกเหตุการณ์ทั้งก่อน ขณะ และหลังระเบิดอย่างถี่ถ้วนและละเอียด

ภูเขาไฟ Krakatau ตั้งอยู่กลางทะเลในช่องแคบ Sundra ระหว่างเกาะชวากับเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย ก่อนปี ค.ศ.1883 แทบไม่มีใครให้ความสนใจ Krakatau เลย เพราะตลอดเวลา 200 ปีก่อนนั้น ภูเขาไฟลูกนี้ไม่เคยระเบิด ทุกคนจึงคิดว่า ภูเขาไฟคงดับแล้ว ผู้คนจึงพากันพายเรือไปเก็บผลไม้ในป่าที่ปกคลุมเชิงเขาเนืองๆ ส่วนคนทั่วไปก็ไม่มีใครสนใจ เพราะโลกกำลังมีเหตุการณ์อื่นๆ ที่น่าสนใจยิ่งกว่า เช่น Brahm แต่งซิมโฟนีหมายเลขสาม ฝรั่งเศสมอบอนุสาวรีย์เสรีภาพให้อเมริกา และที่มหานคร New York มีการเปิดสะพาน Brooklyn

แต่เมื่อถึงวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ.1883 กรากะตัวก็ระเบิด เสียงระเบิดดังสนั่น ชาวเมือง Batavia (Jakarta) รายงานว่า ได้ยินเสียงระเบิดเหมือนเสียงปืนใหญ่ และส่งข่าวการระเบิดไปที่ Singapore ส่วนบรรดาเรือที่กำลังแล่นอยู่ในช่องแคบ Sundra กัปตันเรือได้รายงานการเห็นฝุ่นควันพุ่งเป็นลำขึ้นท้องฟ้าจนสูงประมาณ 10 กิโลเมตร

ในเวลา 14 สัปดาห์ต่อมา ชาวบ้านที่อาศัยในบริเวณใกล้ภูเขาไฟรายงานการได้ยินเสียงระเบิดเป็นระยะๆ ในที่สุดเมื่อถึงวันที่ 26 สิงหาคม การระเบิดใหญ่ก็เกิดขึ้น ทุกคนที่เห็นเหตุการณ์ต่างพากันหนีเอาตัวรอด ด้านกะลาสีเรือที่อยู่ใกล้บริเวณเกิดเหตุได้รายงานว่า หลังการระเบิดปริมาตร 2 ใน 3 ของภูเขาไฟ Krakatau ได้จมน้ำหายไป บนท้องฟ้ามีทั้งฟ้าแลบ และฟ้าร้อง ประปรายและมีเมฆฝุ่นสีเหลืองน้ำตาลด้วย ส่วนชาวบ้านที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บนฝั่งของเกาะชวา และสุมาตราได้ถูกคลื่นสึนามิที่สูง 40 เมตร พุ่งเข้าถล่มจนผู้คน 34,000 คนเสียชีวิต สำหรับที่เมือง Telok Betong บนเกาะสุมาตรานั้น สึนามิได้ไหลพาเรือประมงลึกเข้าไปในฝั่งได้ไกล 3 กิโลเมตร การสำรวจแสดงว่า หมู่บ้าน 165 แห่ง ถูกทำลายราบเรียบ นอกจากนี้สึนามิยังได้ไหลพาแพในบริเวณเกิดเหตุไปจนถึงฝั่งของประเทศ Zanzibar ในแอฟริกาตะวันออก ซึ่งอยู่ห่างออกไป 4,800 กิโลเมตร ในหนังสือ Earth’s Beginnings ของ Sir Robert Ball มีรายงานว่า ในวันที่ Krakatau ระเบิดนั้น ณ เวลา 10 โมงเช้า เขากำลังซ้อมดนตรีอยู่ในโรงละครบนเกาะ Rodriguez ซึ่งอยู่ห่างจาก Krakatau ประมาณ 4,500 กิโลเมตร และได้ยินเสียงระเบิดทั้งหมด 3 ครั้ง ในลอนดอนก็ได้รับผลกระทบจากการระเบิดเช่นกัน ดังที่ William Ashcroft ได้วาดภาพท้องฟ้าเหนือลอนดอน ในปี 1883 ซึ่งแสดงว่า ดวงอาทิตย์มีสีแดงผิดปกติ และท้องฟ้ามีเมฆฝุ่นลอยหนาแน่น
เมื่อกรากาตัวระเบิดในปี 1883 สภาพของภูมิประเทศ ที่เมือง Merak ซึ่งอยู่ห่างออกไป 60 กิโลเมตร
แม้การระเบิดได้เกิดขึ้นแล้ว 10 เดือน ก็มีรายงานการเห็นหินภูเขาไฟ (pumice) ลอยน้ำไปไกลถึงอีกฟากหนึ่งของมหาสมุทรอินเดีย และอุณหภูมิของบรรยากาศโลกลดต่ำกว่าปกติเป็นเวลา 5 ปี

ในปี ค.ศ.1884 สมาคม Royal Society ของอังกฤษซึ่งต้องการศึกษา Krakatau อย่างละเอียดจึงประกาศขอข้อมูลจากคนทุกคนที่สนใจภูเขาไฟลูกนี้ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลด้านสมุทรศาสตร์ อุตุนิยมวิทยา ชีววิทยา หรือธรณีวิทยา ทั้งที่เห็นด้วยตาหรือจากการสังเกต เพื่อทำรายงานเสนอสังคมในปี 1888 และได้รับข้อมูลที่นับว่าสำคัญมากจาก วิศวกรเหมืองแร่ชาวเนเธอร์แลนด์ชื่อ R.D.M. Verbeek ซึ่งได้ทำแผนที่ภูมิศาสตร์ของภูเขาไฟ Krakatau ในปี 1880 (3 ปีก่อนการระเบิด) อย่างละเอียด ข้อมูลที่ได้นี้จึงเป็นประโยชน์มาก เพราะสามารถใช้เปรียบเทียบเหตุการณ์ทั้งก่อนและหลังกรากะตัวระเบิดได้อย่างสมบูรณ์

ลุถึงปี 1924 ซึ่งเป็นเวลาสี่สิบเอ็ดปีหลังการระเบิดของกรากะตัว ณ บริเวณที่ภูเขาไฟได้จมลงไปในทะเล มีเกาะเล็กๆ เกาะหนึ่งผุดขึ้นมา ชาวบ้านจึงเรียกเกาะนั้นว่า Anak Krakatau หรือลูกชายของกรากะตัว แต่อีก 3 ปีต่อมา เกาะเล็กนั้นได้จมน้ำ แล้วโผล่เหนือน้ำรวมทั้งสิ้น 3 ครั้ง จนถึงปี 1927 ทายาทกรากะตัวจึงปรากฏตัวเหนือทะเลอย่างถาวร และ ณ วันนี้ก็กำลังมีชื่อเสียงไม่แพ้แม่ของมัน เพราะ Anak Krakatau คือ สถานที่สังเกตปรากฎการณ์ชีววิทยาของบรรดานักวิทยาศาสตร์ที่กำลังพยายามจะตอบคำถามว่า สิ่งมีชีวิตอุบัติ ดำรงชีวิต และเสียชีวิตบนเกาะได้อย่างไร
งูและนก บนต้นไม้ที่ขึ้นบนเกาะ Anak Krakatau
ในการศึกษาเบื้องต้นคือตั้งแต่ปี 1981-1991 ข้อมูลที่ได้แสดงให้เห็นว่า Anak Krakatau ซึ่งมีพื้นที่ 3 ตารางกิโลเมตรมีพืช 190 ชนิด นก 40 ชนิด ค้างคาว และแมลงอีกมากมาย รวมถึงมีปูสีน้ำเงิน มด และต้นมะพร้าวด้วย และเป็นภูเขาไฟขนาดเล็กที่มีการระเบิดไม่รุนแรง เป็นประจำ โดยเฉพาะในเดือนมกราคม เมษายน มิถุนายน และกรกฎาคมของทุกปี โดยจะพ่นลาวา และควันที่ขึ้นสูงถึง 3 กิโลเมตร

ตามปกติเวลาสิ่งมีชีวิตจุติบนเกาะ ชีวิตนั้นก็จะแพร่ชีวิตต่อไป เช่น สัตว์จะช่วยแพร่พันธุ์พืชโดยการกินพืชแล้วขับถ่ายเมล็ดออกมา และพืชก็จะช่วยปกป้องสัตว์ให้ไม่ถูกล่า Anak Krakatau จึงเป็นสนามให้นักชีววิทยาใช้ศึกษากระบวนการเข้าครอบครองพื้นที่และการต่อสู้เพื่อการอยู่รอดของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนเกาะ

นับตั้งแต่ปี 1981 เป็นต้นมา มีนักชีววิทยาชาวอินโดนีเซียคนหนึ่งชื่อ Tukirin Partomihandjo ซึ่งได้เดินทางมาสำรวจ Anak Krakatau บ่อยนับได้ร่วม 30 ครั้งแล้ว เพื่อศึกษาแมลง ตัวต่อ ผึ้ง มด ปลวก ต้นไม้ ฯลฯ ที่อาศัยและขึ้นอยู่บนเกาะ และ Partonihandjo ได้พบว่า ตลอดเวลา 30 ปีที่ผ่านมานี้ เกาะมีมด 18 สปีชีส์ และตัวต่อ 16 สปีชีส์ที่ไม่เคยอาศัยอยู่บนเกาะมาก่อน และบัดนี้ได้เข้ามาอาศัยอยู่แล้ว
กรากาตัวเป็นเกาะเล็กๆ ในช่องแคบ Sundra ไม่มีผู้คนอาศัย
ด้าน Ken Wohletz แห่ง Los Alamos National Laboratory ใน New Mexico ก็เป็นอีกคนหนึ่งที่สนใจการระเบิดของภูเขาไฟ Krakatau เพราะได้พบฝุ่นภูเขาไฟ Krakatau ที่ฝังอยู่ในน้ำแข็งบนเกาะ Greenland และที่แฝงอยู่บนฝั่งของช่องแคบ Sundra หลักฐานเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า ในปี 535 Krakatau ได้เคยระเบิดอย่างรุนแรงยิ่งกว่าการระเบิดในปี 1883 ถึง 20 เท่า Wohletz จึงเสนอความเห็นว่า การระเบิดครั้งนั้นคงทำให้สภาพดินฟ้าอากาศของโลกแปรปรวนมาก จนเป็นเหตุให้กสิกรทำเกษตรกรรมไม่ได้ผล และโลกถูกโรคระบาดร้ายแรงคุกคามทุกหย่อมหญ้า และอารยธรรมโบราณทั้งในอเมริกาใต้ เปอร์เซีย และอินโดนีเซียต้องล่มสลายในที่สุด

แต่ก็มีนักประวัติศาสตร์บางคนที่ไม่เห็นด้วยกับข้อสรุปนี้ โดยให้เหตุผลว่า ตั้งแต่ก่อนคริสตกาล 1600 ปี จนกระทั่งถึง ค.ศ.1215 ซึ่งเป็นยุคที่อาณาจักร Byzantine รุ่งเรือง ถ้าความเห็นของ Wohletz เป็นจริง การระเบิดของ Krakatau ในปี 535 ก็น่าจะทำให้เกิดผลกระทบในทางลบต่ออาณาจักร Byzantine ด้วย แต่กลับไม่มีผลใดๆ ดังนั้นเราจึงถือว่าแนวคิดของ Wohletz สำหรับเรื่องนี้ยังไม่ยุติ

นอกเหนือจาก Anak Krakatau ซึ่งเป็นทายาทของกรากะตัวแล้ว โลกยังมีภูเขาไฟขนาดเล็กที่เพิ่งปรากฏกลางทะเลเมื่อไม่นานมานี้ และกำลังได้รับความสนใจอีกหลายลูก เช่น

เกาะภูเขาไฟ Surtsey ใน Iceland ที่เกิดในปี 1963-1967

เกาะภูเขาไฟ Fukutoku Okanoba ในญี่ปุ่นที่เกิดในปี 1986

เกาะภูเขาไฟ Tuluman ใน Papua New Guinea ที่เกิดในปี 1953
และเกาะ Metis Shoal ใน Tonga ที่เกิดในปี 1995

โดยเฉพาะเกาะภูเขาไฟ Surtsey ซึ่งนักชีววิทยากำลังให้ความสนใจ เพราะได้พบพืช 60 สปีชีส์ นก 89 สปีชีส์ และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง 335 สปีชีส์บนเกาะนี้ จึงทำให้ได้รับการยอมรับเป็นมรดกโลก เมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ.2008

ดังนั้น เราจึงเห็นได้ว่า แม้กรากะตัวจะแตกดับไปแล้ว แต่ทายาทของกรากะตัวก็ยังมีชีวิตอยู่ แม้จะมีอายุมากถึง 85 ปีแล้ว แต่ก็ยังเป็นที่น่าสนใจของนักวิชาการทั่วโลก ซึ่งคาดหวังจะได้ความรู้ใหม่ๆ มากมายจากการศึกษาเกาะๆ นี้ หลังจากที่เคยเมินเฉยต่อแม่ Krakatau ของมันในอดีต

หาอ่านเพิ่มเติมจากหนังสือ Krakatau 1883: The Volcanic Eruption and its Effects. A Centenial Retrospective โดย T. Simkin and Richard S. Fiske จัดพิมพ์โดย Smithsonian Institution Press ปี 1983



*

เกี่ยวกับผู้เขียน



สุทัศน์ ยกส้าน
ประวัติการทำงาน - ศาสตราจารย์ ระดับ 11 ภาควิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, นักวิทยาศาสตร์ดีเด่นและนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขากายภาพและคณิตศาสตร์

ประวัติการศึกษา - ปริญญาตรีและโทจากมหาวิทยาลัยลอนดอน, ปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย
ภูเขาไฟกรากะตัวและทายาท
 

18 พฤศจิกายน 1981 Anak Krakatau ระเบิด

มนุษย์สนใจและกลัวภูเขาไฟที่กำลังระเบิดมาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ เมื่อเห็นทะเลลาวาไหลพุ่งทำลายชีวิต และสิ่งแวดล้อมในบริเวณเชิงภูเขาไฟจนราบพนาสูร ความไม่เข้าใจในธรรมชาติของภูเขาไฟทำให้คนโบราณมีจินตนาการเกี่ยวกับภูเขาไฟมากมาย เช่น ชาวกรีกโบราณมีตำนานเล่าว่า อาณาจักร Atlantis ที่จมหายไปในทะเลอย่างไร้ร่องรอย เพราะถูกภูเขาไฟบนเกาะได้ระเบิดถล่มอย่างรุนแรง ส่วนชาวโรมันเชื่อว่า การที่ภูเขาไฟ Etna บนเกาะ Sicily ระเบิดเพราะใต้ภูเขาไฟมีเทพเจ้าแห่งไฟ Hephaistos ผู้ตีเหล็กจนสะเก็ดไฟปะทุออกมาให้มนุษย์เห็น ด้านเทพ Vulcan เวลาเขี่ยไฟในเตาที่อยู่ใต้ภูเขาไฟจะทำให้ควันและเปลวไฟเล็ดลอดออกมาทางปากปล่อง สำหรับชาว Aztec เชื่อว่า ภูเขาไฟทุกลูกมีเทพเจ้าสถิตประจำ ดังนั้น จึงนิยมนำหญิงสาวสวยไปถวายเป็นเทพบูชา เพื่อไม่ให้องค์เทพพิโรธ ส่วนชาวฮาวายเชื่อว่า ภูเขาไฟเป็นที่ประทับของเทพธิดา Pelé และเวลานางมีโทสะ นางจะบันดาลให้ภูเขาไฟระเบิดพ่นลาวาไหลออกมาฆ่าคนที่กล่าวร้ายนาง แต่สำหรับคนที่นับถือ ลาวาจะไหลเลี่ยงบ้านของคนนั้น และก่อนภูเขาไฟจะระเบิดเล็กน้อย หลายคนอ้างว่า เห็นเทพธิดา Pelé มาปรากฏในร่างของหญิงชราทุกครั้งไป
 
คลื่นยักษ์สูง 7 เมตร พุ่งเข้าสู่ฝั่ง หลังการระเบิดเล็กน้อย

โลกมีภูเขาไฟประมาณ 1,300 ลูก แบ่งเป็น 700 ลูกที่ดับแล้ว และ 600 ลูกที่ยังมีชีวิตอยู่ ภูเขาไฟที่มีชื่อเสียงที่สุดชื่อ Vesuvius (เวซูเวียส) ซึ่งได้ระเบิดอย่างรุนแรงในวันที่ 24 สิงหาคม เมื่อ 79 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่ง Pliny ผู้เยาว์ได้บันทึกว่า ในคืนวันนั้น ขณะเขายืนอยู่ที่ชายฝั่งเมือง Misernum ซึ่งตั้งอยู่ตรงข้ามกับเมือง Naples ที่มี Vesuvius เป็นฉากอยู่เบื้องหลัง เขาเห็นกลุ่มควันหนาทึบปรากฏเหนือยอดเขา แล้วทะเลควันได้แผ่ขยายตัวอย่างรวดเร็วและลอยขึ้นบดบังแสงอาทิตย์จนบริเวณนั้นมืดสลัว แล้วภูเขาไฟก็ระเบิดพ่นลาวาร้อนพุ่งไหลทะลักออกมาอย่างรวดเร็ว ไปกลบฝังที่อยู่อาศัยของชาวเมือง Pompeii และ Herculaneum ทำให้ชาวเมืองเสียชีวิตหมด เพราะได้สูดหายใจอากาศพิษเข้าร่างกาย และถูกไฟครอกเผาทั้งเป็น แม้ผู้คนจะล้มตายหมดแล้ว แต่เวซูเวียสก็ยังพ่นเถ้าถ่านต่อไปจนทำให้เมืองทั้งสองถูกลบหายไปจากความทรงจำของชาวโลก กระทั่งถึงเมื่อ 250 ปีก่อนนี้เอง เมื่อวิศวกรชื่อ J. Alcubiere ได้ขุดพบซากปรักหักพังและซากศพของชาวเมือง Pompeii โลกจึงได้ “เห็น” เหตุการณ์วินาทีสุดท้ายของชีวิตชาวเมืองผู้เคราะห์ร้าย

ไม่เพียงแต่ในยุโรปเท่านั้นที่มีภูเขาไฟที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ในเอเชียก็มีภูเขาไฟที่มีชื่อเสียงเช่นกัน เช่นที่อินโดนีเซียซึ่งมีภูเขาไฟ Tambora บนเกาะ Sumbawa ที่ระเบิดเมื่อวันที่ 10 เมษายน ค.ศ.1815 นักประวัติศาสตร์ได้บันทึกว่า เสียงระเบิดที่ดังสนั่นโลกทำให้ผู้คนที่อยู่ไกลจากภูเขาไฟถึง 850 กิโลเมตรได้ยินเสียง ความรุนแรงของการระเบิดทำให้ต้นไม้ในป่าบริเวณภูเขาไฟล้มระเนระนาด ฝุ่นภูเขาไฟได้ลอยขึ้นท้องฟ้าบดบังแสงอาทิตย์ จนไม่มีใครในบริเวณนั้นเห็นดวงอาทิตย์เป็นเวลา 3 วัน หลังการระเบิด นักภูมิศาสตร์ได้พบว่า ความสูงของภูเขาไฟลดลง 1,200 เมตร และที่ปล่องภูเขาไฟปรากฏเป็นแอ่งลึก 1 กิโลเมตรและกว้าง 6 กิโลเมตร ข้อมูลเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า อานุภาพของการระเบิดครั้งนั้นรุนแรงเทียบได้กับระเบิดปรมาณู 6 หมื่นลูก นี่จึงเป็นการระเบิดของภูเขาไฟที่รุนแรงที่สุดในช่วงเวลา 10,000 ปีที่ผ่านมา และถ้าจะเปรียบเทียบความรุนแรงตามสเกลตั้งแต่ 0 ถึง 8 คือระดับ 0 เท่ากับไม่ระเบิด และระดับ 8 เท่ากับโลกแตก ความรุนแรงของภูเขาไฟ Tambora ก็อยู่ในระดับ 7

นับว่าเป็นโชคดีที่บริเวณโดยรอบภูเขาไฟ Tambora มีชาวบ้านอาศัยอยู่ไม่มาก ดังนั้นจำนวนผู้เสียชีวิตจึงมีเพียง 8,000 คนเท่านั้นเอง และที่ฝรั่งเศสก็มีรายงานว่า หลังการระเบิด อุณหภูมิของอากาศในยุโรปเหนือได้ลดต่ำ ฝุ่นภูเขาไฟได้ลอยไปถึงเกาะ Greenland และยุโรปกับอเมริกาเหนือในปีนั้น ไม่มีฤดูร้อน นักวิทยาศาสตร์ยังพบอีกว่า ฝุ่นภูเขาไฟสามารถเดินทางรอบโลกได้โดยใช้เวลาประมาณ 13 วัน และที่ระดับสูง 15 กิโลเมตรเหนือผิวโลกก็มีกระแสลมพัดแรงเช่นเดียวกับที่ระดับใกล้ผิวโลก


นอกจาก Tambora แล้ว อินโดนีเซียยังมีภูเขาไฟอีกลูกหนึ่งชื่อ Krakatau ด้วย (คนอังกฤษมักเรียกชื่อผิดว่า Krakatoa) ซึ่งมีชื่อเสียงยิ่งกว่า Tambora เพราะ Krakatau เป็นภูเขาไฟลูกแรกที่นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษา สังเกต และบันทึกเหตุการณ์ทั้งก่อน ขณะ และหลังระเบิดอย่างถี่ถ้วนและละเอียด

ภูเขาไฟ Krakatau ตั้งอยู่กลางทะเลในช่องแคบ Sundra ระหว่างเกาะชวากับเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย ก่อนปี ค.ศ.1883 แทบไม่มีใครให้ความสนใจ Krakatau เลย เพราะตลอดเวลา 200 ปีก่อนนั้น ภูเขาไฟลูกนี้ไม่เคยระเบิด ทุกคนจึงคิดว่า ภูเขาไฟคงดับแล้ว ผู้คนจึงพากันพายเรือไปเก็บผลไม้ในป่าที่ปกคลุมเชิงเขาเนืองๆ ส่วนคนทั่วไปก็ไม่มีใครสนใจ เพราะโลกกำลังมีเหตุการณ์อื่นๆ ที่น่าสนใจยิ่งกว่า เช่น Brahm แต่งซิมโฟนีหมายเลขสาม ฝรั่งเศสมอบอนุสาวรีย์เสรีภาพให้อเมริกา และที่มหานคร New York มีการเปิดสะพาน Brooklyn

แต่เมื่อถึงวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ.1883 กรากะตัวก็ระเบิด เสียงระเบิดดังสนั่น ชาวเมือง Batavia (Jakarta) รายงานว่า ได้ยินเสียงระเบิดเหมือนเสียงปืนใหญ่ และส่งข่าวการระเบิดไปที่ Singapore ส่วนบรรดาเรือที่กำลังแล่นอยู่ในช่องแคบ Sundra กัปตันเรือได้รายงานการเห็นฝุ่นควันพุ่งเป็นลำขึ้นท้องฟ้าจนสูงประมาณ 10 กิโลเมตร

ในเวลา 14 สัปดาห์ต่อมา ชาวบ้านที่อาศัยในบริเวณใกล้ภูเขาไฟรายงานการได้ยินเสียงระเบิดเป็นระยะๆ ในที่สุดเมื่อถึงวันที่ 26 สิงหาคม การระเบิดใหญ่ก็เกิดขึ้น ทุกคนที่เห็นเหตุการณ์ต่างพากันหนีเอาตัวรอด ด้านกะลาสีเรือที่อยู่ใกล้บริเวณเกิดเหตุได้รายงานว่า หลังการระเบิดปริมาตร 2 ใน 3 ของภูเขาไฟ Krakatau ได้จมน้ำหายไป บนท้องฟ้ามีทั้งฟ้าแลบ และฟ้าร้อง ประปรายและมีเมฆฝุ่นสีเหลืองน้ำตาลด้วย ส่วนชาวบ้านที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บนฝั่งของเกาะชวา และสุมาตราได้ถูกคลื่นสึนามิที่สูง 40 เมตร พุ่งเข้าถล่มจนผู้คน 34,000 คนเสียชีวิต สำหรับที่เมือง Telok Betong บนเกาะสุมาตรานั้น สึนามิได้ไหลพาเรือประมงลึกเข้าไปในฝั่งได้ไกล 3 กิโลเมตร การสำรวจแสดงว่า หมู่บ้าน 165 แห่ง ถูกทำลายราบเรียบ นอกจากนี้สึนามิยังได้ไหลพาแพในบริเวณเกิดเหตุไปจนถึงฝั่งของประเทศ Zanzibar ในแอฟริกาตะวันออก ซึ่งอยู่ห่างออกไป 4,800 กิโลเมตร ในหนังสือ Earth’s Beginnings ของ Sir Robert Ball มีรายงานว่า ในวันที่ Krakatau ระเบิดนั้น ณ เวลา 10 โมงเช้า เขากำลังซ้อมดนตรีอยู่ในโรงละครบนเกาะ Rodriguez ซึ่งอยู่ห่างจาก Krakatau ประมาณ 4,500 กิโลเมตร และได้ยินเสียงระเบิดทั้งหมด 3 ครั้ง ในลอนดอนก็ได้รับผลกระทบจากการระเบิดเช่นกัน ดังที่ William Ashcroft ได้วาดภาพท้องฟ้าเหนือลอนดอน ในปี 1883 ซึ่งแสดงว่า ดวงอาทิตย์มีสีแดงผิดปกติ และท้องฟ้ามีเมฆฝุ่นลอยหนาแน่น
 
เมื่อกรากาตัวระเบิดในปี 1883 สภาพของภูมิประเทศ ที่เมือง Merak ซึ่งอยู่ห่างออกไป 60 กิโลเมตร

แม้การระเบิดได้เกิดขึ้นแล้ว 10 เดือน ก็มีรายงานการเห็นหินภูเขาไฟ (pumice) ลอยน้ำไปไกลถึงอีกฟากหนึ่งของมหาสมุทรอินเดีย และอุณหภูมิของบรรยากาศโลกลดต่ำกว่าปกติเป็นเวลา 5 ปี

ในปี ค.ศ.1884 สมาคม Royal Society ของอังกฤษซึ่งต้องการศึกษา Krakatau อย่างละเอียดจึงประกาศขอข้อมูลจากคนทุกคนที่สนใจภูเขาไฟลูกนี้ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลด้านสมุทรศาสตร์ อุตุนิยมวิทยา ชีววิทยา หรือธรณีวิทยา ทั้งที่เห็นด้วยตาหรือจากการสังเกต เพื่อทำรายงานเสนอสังคมในปี 1888 และได้รับข้อมูลที่นับว่าสำคัญมากจาก วิศวกรเหมืองแร่ชาวเนเธอร์แลนด์ชื่อ R.D.M. Verbeek ซึ่งได้ทำแผนที่ภูมิศาสตร์ของภูเขาไฟ Krakatau ในปี 1880 (3 ปีก่อนการระเบิด) อย่างละเอียด ข้อมูลที่ได้นี้จึงเป็นประโยชน์มาก เพราะสามารถใช้เปรียบเทียบเหตุการณ์ทั้งก่อนและหลังกรากะตัวระเบิดได้อย่างสมบูรณ์

ลุถึงปี 1924 ซึ่งเป็นเวลาสี่สิบเอ็ดปีหลังการระเบิดของกรากะตัว ณ บริเวณที่ภูเขาไฟได้จมลงไปในทะเล มีเกาะเล็กๆ เกาะหนึ่งผุดขึ้นมา ชาวบ้านจึงเรียกเกาะนั้นว่า Anak Krakatau หรือลูกชายของกรากะตัว แต่อีก 3 ปีต่อมา เกาะเล็กนั้นได้จมน้ำ แล้วโผล่เหนือน้ำรวมทั้งสิ้น 3 ครั้ง จนถึงปี 1927 ทายาทกรากะตัวจึงปรากฏตัวเหนือทะเลอย่างถาวร และ ณ วันนี้ก็กำลังมีชื่อเสียงไม่แพ้แม่ของมัน เพราะ Anak Krakatau คือ สถานที่สังเกตปรากฎการณ์ชีววิทยาของบรรดานักวิทยาศาสตร์ที่กำลังพยายามจะตอบคำถามว่า สิ่งมีชีวิตอุบัติ ดำรงชีวิต และเสียชีวิตบนเกาะได้อย่างไร
 
งูและนก บนต้นไม้ที่ขึ้นบนเกาะ Anak Krakatau

 ในการศึกษาเบื้องต้นคือตั้งแต่ปี 1981-1991 ข้อมูลที่ได้แสดงให้เห็นว่า Anak Krakatau ซึ่งมีพื้นที่ 3 ตารางกิโลเมตรมีพืช 190 ชนิด นก 40 ชนิด ค้างคาว และแมลงอีกมากมาย รวมถึงมีปูสีน้ำเงิน มด และต้นมะพร้าวด้วย และเป็นภูเขาไฟขนาดเล็กที่มีการระเบิดไม่รุนแรง เป็นประจำ โดยเฉพาะในเดือนมกราคม เมษายน มิถุนายน และกรกฎาคมของทุกปี โดยจะพ่นลาวา และควันที่ขึ้นสูงถึง 3 กิโลเมตร

ตามปกติเวลาสิ่งมีชีวิตจุติบนเกาะ ชีวิตนั้นก็จะแพร่ชีวิตต่อไป เช่น สัตว์จะช่วยแพร่พันธุ์พืชโดยการกินพืชแล้วขับถ่ายเมล็ดออกมา และพืชก็จะช่วยปกป้องสัตว์ให้ไม่ถูกล่า Anak Krakatau จึงเป็นสนามให้นักชีววิทยาใช้ศึกษากระบวนการเข้าครอบครองพื้นที่และการต่อสู้เพื่อการอยู่รอดของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนเกาะ

นับตั้งแต่ปี 1981 เป็นต้นมา มีนักชีววิทยาชาวอินโดนีเซียคนหนึ่งชื่อ Tukirin Partomihandjo ซึ่งได้เดินทางมาสำรวจ Anak Krakatau บ่อยนับได้ร่วม 30 ครั้งแล้ว เพื่อศึกษาแมลง ตัวต่อ ผึ้ง มด ปลวก ต้นไม้ ฯลฯ ที่อาศัยและขึ้นอยู่บนเกาะ และ Partonihandjo ได้พบว่า ตลอดเวลา 30 ปีที่ผ่านมานี้ เกาะมีมด 18 สปีชีส์ และตัวต่อ 16 สปีชีส์ที่ไม่เคยอาศัยอยู่บนเกาะมาก่อน และบัดนี้ได้เข้ามาอาศัยอยู่แล้ว
 
กรากาตัวเป็นเกาะเล็กๆ ในช่องแคบ Sundra ไม่มีผู้คนอาศัย

ด้าน Ken Wohletz แห่ง Los Alamos National Laboratory ใน New Mexico ก็เป็นอีกคนหนึ่งที่สนใจการระเบิดของภูเขาไฟ Krakatau เพราะได้พบฝุ่นภูเขาไฟ Krakatau ที่ฝังอยู่ในน้ำแข็งบนเกาะ Greenland และที่แฝงอยู่บนฝั่งของช่องแคบ Sundra หลักฐานเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า ในปี 535 Krakatau ได้เคยระเบิดอย่างรุนแรงยิ่งกว่าการระเบิดในปี 1883 ถึง 20 เท่า Wohletz จึงเสนอความเห็นว่า การระเบิดครั้งนั้นคงทำให้สภาพดินฟ้าอากาศของโลกแปรปรวนมาก จนเป็นเหตุให้กสิกรทำเกษตรกรรมไม่ได้ผล และโลกถูกโรคระบาดร้ายแรงคุกคามทุกหย่อมหญ้า และอารยธรรมโบราณทั้งในอเมริกาใต้ เปอร์เซีย และอินโดนีเซียต้องล่มสลายในที่สุด

แต่ก็มีนักประวัติศาสตร์บางคนที่ไม่เห็นด้วยกับข้อสรุปนี้ โดยให้เหตุผลว่า ตั้งแต่ก่อนคริสตกาล 1600 ปี จนกระทั่งถึง ค.ศ.1215 ซึ่งเป็นยุคที่อาณาจักร Byzantine รุ่งเรือง ถ้าความเห็นของ Wohletz เป็นจริง การระเบิดของ Krakatau ในปี 535 ก็น่าจะทำให้เกิดผลกระทบในทางลบต่ออาณาจักร Byzantine ด้วย แต่กลับไม่มีผลใดๆ ดังนั้นเราจึงถือว่าแนวคิดของ Wohletz สำหรับเรื่องนี้ยังไม่ยุติ

นอกเหนือจาก Anak Krakatau ซึ่งเป็นทายาทของกรากะตัวแล้ว โลกยังมีภูเขาไฟขนาดเล็กที่เพิ่งปรากฏกลางทะเลเมื่อไม่นานมานี้ และกำลังได้รับความสนใจอีกหลายลูก เช่น

เกาะภูเขาไฟ Surtsey ใน Iceland ที่เกิดในปี 1963-1967

เกาะภูเขาไฟ Fukutoku Okanoba ในญี่ปุ่นที่เกิดในปี 1986

เกาะภูเขาไฟ Tuluman ใน Papua New Guinea ที่เกิดในปี 1953
และเกาะ Metis Shoal ใน Tonga ที่เกิดในปี 1995

โดยเฉพาะเกาะภูเขาไฟ Surtsey ซึ่งนักชีววิทยากำลังให้ความสนใจ เพราะได้พบพืช 60 สปีชีส์ นก 89 สปีชีส์ และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง 335 สปีชีส์บนเกาะนี้ จึงทำให้ได้รับการยอมรับเป็นมรดกโลก เมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ.2008

ดังนั้น เราจึงเห็นได้ว่า แม้กรากะตัวจะแตกดับไปแล้ว แต่ทายาทของกรากะตัวก็ยังมีชีวิตอยู่ แม้จะมีอายุมากถึง 85 ปีแล้ว แต่ก็ยังเป็นที่น่าสนใจของนักวิชาการทั่วโลก ซึ่งคาดหวังจะได้ความรู้ใหม่ๆ มากมายจากการศึกษาเกาะๆ นี้ หลังจากที่เคยเมินเฉยต่อแม่ Krakatau ของมันในอดีต

หาอ่านเพิ่มเติมจากหนังสือ Krakatau 1883: The Volcanic Eruption and its Effects. A Centenial Retrospective โดย T. Simkin and Richard S. Fiske จัดพิมพ์โดย Smithsonian Institution Press ปี 1983


เข้าชม : 1840


ข่าวเด่น 5 อันดับล่าสุด

      Heat stroke (ลมแดด) 23 / เม.ย. / 2562
      PM 2.5 15 / ก.พ. / 2562
      ร้อนและเย็นในตู้เดียว 15 / พ.ย. / 2555
      พม่า..แผ่นดินไหวตาย 12 วัด-บ้าน-สะพาน พังเสียหาย 12 / พ.ย. / 2555
      ดวงอาทิตย์ปะทุอีก คราวนี้ระดับ X 28 / ต.ค. / 2555




ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ไอคอน : ย่อหน้า จัดซ้าย จัดกลาง จัดขวา ตัวหนา ตัวเอียง เส้นใต้ ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา
อ้างอิงคำพูด เพิ่มเพลง เพิ่มวีดีโอคลิป เพิ่มรูปภาพ เพิ่มไฟล์ Flash เพิ่มลิงก์ เพิ่มอีเมล์
ความคิดเห็น :


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ ที่นี่ เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

 
ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอดอยสะเก็ด  จังหวัดเชียงใหม่ โทรศัพท์ 053-496147
  ห้องสมุดประชาชนอำเภอดอยสะเก็ด 555 หมู่ที่ 3 ถนนบ่อสร้าง-เชียงใหม่ อำเเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ โทรศัพท์ 053-495500
Doisaketlibrary@gmail.com
libdoisaket@cmi.nfe.go.th
บาคาร่า Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05HD  Update by   นายบุญมา มาดี