อาสาสมัครส่งเสริมการออ่าน หมายถึง ผู้มีจิตอาสาช่วยเหลืองานส่งเสริมการอ่านในชุมชน บ้านหนังสือชุมชนในทุกๆ ด้าน เป็นภาคีเครือข่ายในการขับเคลื่อนกิจกรรมส่งเสริมการอ่านในชุมชนสามารถสร้างสรรค์กิจกรรมส่งเสริมการอ่านให้กับกลุ่มเป้าหมายทุกเพศทุกวัยในชุมชนได้ เพื่อส่งเสริมให้คนในชุมชนเกิดความตระหนักเห็นความสำคัญของการอ่านและเกิดนิสัยรักการอ่านจนพัฒนาเป็นชุมชนรักการอ่านขึ้น ทั้งนี้การดำเนินงานอาสาสมัครส่งเสริมการอ่านนี้เป็นการดำเนินงานในลักษณะเจาะลึกพื้นที่โดยทำงานประสานกับ กศน.อำเภอดอยสะเก็ด กศน.ตำบล ห้องสมุดประชาชนอำเภอดอยสะเก็ด และแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ในชุมชน
1.คุณสมบัติของอาสาสมัครส่งเสริมการอ่าน
1) เป็นผู้มีจิตอาสาช่วยเหลืองานส่งเสริมการอ่าน
2) เป็นผู้มีภูมิลำเนาหรือมีที่อยู่ประจำในหมู่บ้านหรือชุมชนที่ดำเนินงานด้านอาสาสมัครฯ
3) เป็นผู้รักหนังสือ รักการอ่าน สามารถสร้างสรรค์กิจกรรมส่งเสริมการอ่านให้กับกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายได้
2. ภารกิจของอาสาสมัครส่งเสริมการอ่าน
1) นำหนังสือหมุนเวียนเพื่อให้เข้าถึงบ้านหนังสือ ประชาชนในชุมชนอย่างทั่วถึง
2) ดูแล รักษาสภาพแวดล้อมสถานที่ส่งเสริมการอ่านให้มีความเหมาะสมกับบริบทของชุมชนนั้น ๆ
3) ร่วมจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นให้ชุมชนเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการอ่านเพื่อสร้างนิสัยรักการอ่าน
4) ประชาสัมพันธ์กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
3. แนวทางการดำเนินงานของอาสาสมัครส่งเสริมการอ่าน
1) ทำงานโดยประสานการทำงานกับ ครู กศน.ตำบล บรรณรักษ์ห้องสมุด ผู้นำชุมชน ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
2) ใช้ กศน.ตำบล เป็นศูนย์กลางในการปฏิบัติงาน ร่วมกันวางแผนจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
3) ใช้ห้องสมุดประชาชนอำเภอดอยสะเก็ด เป็นแหล่งทรัพยากรด้านข้อมูล หนังสือ ในการหมุนเวียนหนังสือสู่บ้านหนังสือชุมชน จุดให้บริการส่งเสริมการอ่าน และเป็นสถานที่ทำกิจกรรมด้านอาสาสมัครฯ ร่วมกัน
4) ขยายผลการสร้างเครือข่ายอาสาสมัครในเขตพื้นที่ชุมชนของตนเอง จากเป้าหมายอาสาสมัครส่งเสริมการอ่านตำบลละ 2 คน และให้มีอาสาสมัครเพิ่มขึ้นทุกปี
4. ความคาดหวัง ในการทำงานของอาสาสมัครส่งเสริมการอ่าน
1) อาสาสมัครฯ ทำงานด้วยใจและมีความศรัทธาในการทำงานอาสาสมัคร โดยไม่หวังผลตอบแทนทางวัตถุ
2) ทำงานเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม
3) สามารถทำงานร่วมกับหน่วยงาน และบุคคลอื่นในพื้นที่ได้
4) เข้ารับการอบรม และพัฒนาตนเองให้เกิดทักษะการปฏิบัติงาน
6) สร้างเครือข่ายความร่วมมือการพัฒนางานจิตอาสาในการส่งเสริมการอ่าน
7) เผยแพร่การดำเนินงานส่งเสริมการอ่านทางสื่อต่าง ๆ
บ้านหนังสือชุมชน
ความหมาย และลักษณะของบ้านหนังสือชุมชน
บ้านหนังสือชุมชน เป็นแหล่งการอ่าน การจัดกิจกรรมสร้างเสริมการอ่านและการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในชุมชน เป็นสถานที่พบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น สามารถเข้าใช้บริการได้สะดวก มีความเหมาะสมกับบริบทของพื้นที่และชุมชน โดยมีเจ้าของบ้าน หรืออาสาสมัคร ทำหน้าที่ดูแล ให้บริการ และจัดกิจกรรมสร้างเสริมการอ่านและการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน ส่งเสริมให้เกิดชุมชนรักการอ่าน ในรูปแบบ“นั่นที่ไหน อ่านที่นั่น”