มีงานวิจัยเกี่ยวกับเจ้าฝุ่นนี้ออกมาเรื่อยๆว่า ฝุ่นละอองขนาดเล็กมีผลต่อการเกิดโรคไตเรื้อรัง และอาจทำให้โรคแย่ลงได้!!!
ล่าสุดวารสารชื่อดังอย่าง Nature ได้ตีพิมพ์ความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดโรคไตเรื้อรังในคนไข้ทหารผ่านศึกอเมริกัน 2,444,157 ราย ติดตามนาน 8.5 ปี ว่า ฝุ่น PM2.5 ที่เพิ่มขึ้นทุกๆ10 µg/m3 "เพิ่ม" ความเสี่ยงในการเกิด
• ไตทำงานลดลงน้อยกว่า 60 : 1.2เท่า (incident eGFR <60 ml/min/1.73 m2 (hazard ratio:1.20, 95% CI: 1.13–1.29)
• ไตเรื้อรังใหม่ : 1.28 เท่า ( incident CKD (1.28, 1.18–1.39))
• ไตทำงานลดลง ≥30% : 1.23 เท่า (≥30%decline in eGFR (1.23, 1.15–1.33) ) และ
• ไตเรื้อรังระยะสุดท้าย : 1.17เท่า ( end-stage renal disease (ESRD) or ≥50% decline in eGFR (1.17, 1.05–1.30))
อย่างไรก็ตาม นักวิจัยยังไม่สามารถอธิบายกลไกในการเกิดโรคไตในมนุษย์ได้ทั้งหมด แต่สันนิษฐานจากการทดลองในหนูได้ว่า PM2.5 รบกวนการไหลเวียนโลหิตในไต ทำให้เส้นเลือดฝอยไตเปลี่ยนแปลง และเกิดอาการอักเสบ ขาดเลือดในที่สุด