[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
  
 

เนื้อหา : สาระน่ารู้พัฒนาทักษะชีวิต
หมวดหมู่ : สาระน่ารู้
หัวข้อเรื่อง : เลขบัตรประชาชน

พุธ ที่ 25 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2565


 
ความหมาย เลขบัตรประชาชน 13 หลัก
ว่ามันคืออะไร บอกอะไรได้บ้าง

บัตรประชาชนนั้นเรียกว่าเป็นเอกสารสำคัญที่เราต้องพกติดตัวอยู่ตลอด
เพื่อเอาไว้ใช้แสดงและยืนยันตัวตน เวลาติดต่อราชการหรือหน่วยงานต่างๆ
โดยในบัตรประชาชนนั้นนอกจาก ชื่อ 
วันเกิด ที่อยู่ของเราแล้ว
สิ่งที่เรียกว่าสำคัญไม่แพ้ข้อมูลอื่นๆ นั่นก็คือ เลขบัตรประชาชน 13 หลัก

กระทรวงมหาดไทย อธิบายเลขบัตรประชาชน 13 หลักไว้ว่า
เลขทั้งหมด 13 หลักนั้น (X-XXXX-XXXXX-XX-X) แบ่งออกเป็น 5 ส่วน คือ

  • ส่วนที่ 1 - มีเลข 1 หลัก เลขเพียงหนึ่งตัวนี้หมายถึง ประเภทบุคคลประกอบด้วย 8 ประเภท
  • ส่วนที่ 2 - มีเลขทั้งหมด 4 หลักเรียงติดกัน หมายถึง สำนักทะเบียนที่ออกเลขประจำตัวประชาชน หากนับจากทางซ้ายมือ เลขตัวที่ 2-3 เป็นการบอกจังหวัด ส่วนเลขตัวที่ 4-5 เป็นการบอกอำเภอ เขต เทศบาล หรือเมืองพัทยา
  • ส่วนที่ 3 และส่วนที่ 4 - มีเลขทั้งหมด 7 หลัก บ่งบอกลำดับของบุคคลในแต่ละประเภทของแต่ละสำนักทะเบียน
  • ส่วนที่ 5 - มีเลข 1 หลัก หมายถึงเลขตรวจสอบความถูกต้องของเลขประจำตัวประชาชนทั้งหมด

ขณะที่เลขหลังบัตรนั้น เป็นเลขที่กรมการปกครองใช้ควบคุม
การจ่ายบัตรประจำตัวประชาชน ที่แจกจ่ายให้กับที่ว่าการอำเภอ
สำนักงานเขต สำนักงานเทศบาลและเมืองพัทยา
ไม่เกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชน
ข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนจะอยู่ด้านหน้าบัตรเท่านั้น

ส่วนของ หมายเลขหลักที่ 1 หรือหมายเลขตัวแรกที่บ่งบอกประเภทบุคคล
ซึ่งแยกย่อยเป็น 8 ประเภท คือ

  • ประเภทที่ 1 คือ คนที่เกิดและมีสัญชาติไทย และได้แจ้งเกิดภายในกำหนดเวลาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2527 เป็นต้นไป ซึ่งเป็นวันแรกหลังจากมีการประกาศให้ประชาชนทุกคนต้องมีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ภายในระยะเวลา 15 วันนับตั้งแต่วันเกิดตามที่กฎหมายกำหนด จะมีเลขประจำตัวขึ้นด้วยเลข 1 เป็นต้น
  • ประเภทที่ 2 คือ คนที่เกิดและมีสัญชาติไทย และได้แจ้งเกิดภายในกำหนดเวลาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2527 เป็นต้นไป แต่ไม่ได้แจ้งเกิดภายใน 15 วันนับตั้งแต่วันเกิดตามที่กฎหมายกำหนด
  • ประเภทที่ 3 คือ คนไทยหรือคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านที่ใดที่หนึ่งในประเทศไทย ก่อน 31 พฤษภาคม 2527
  • ประเภทที่ 4 คือ คนไทยหรือคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญคนต่างด้าว แต่แจ้งย้ายเข้าโดยที่ยังไม่มีเลขประจำตัวประชาชน (ซึ่งต้องอยู่ในช่วงกำหนดระยะเวลา 1 มกราคม-31 พฤษภาคม 2527) ยกตัวอย่างเช่น คนไทยหรือคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญคนต่างด้าว อยู่อาศัยในพื้นที่หนึ่ง ต่อมาได้ย้ายไปพื้นที่อื่น แต่ยังไม่ได้เลขประจำตัว ก็จะเข้าข่ายเป็นบุคคลประเภทที่ 4
  • ประเภทที่ 5 คือ คนไทยที่ได้รับอนุมัติให้เพิ่มชื่อเข้าไปในทะเบียนบ้านในกรณีตกสำรวจหรือกรณีอื่นๆ
  • ประเภทที่ 6 คือ ผู้ที่เข้าเมืองโดยชอบและไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่อยู่ในลักษณะชั่วคราว และยังไม่ได้สัญชาติไทย เนื่องจากทางการยังไม่รองรับตามกฎหมาย เช่น ชนกลุ่มน้อยหรือชาวเขาตามชายแดน ชาวต่างชาติที่มีสามีหรือภรรยาเป็นคนไทย ซึ่งอาจไปขอทำทะเบียนประวัติเพื่อให้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านของสามีหรือภรรยาคนไทย
  • ประเภทที่ 7 คือ บุตรของบุคคลประเภทที่ 6 ที่เกิดในประเทศไทย
  • ประเภทที่ 8 คือ คนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยถูกต้องตามกฎหมาย และคนที่ได้รับการแปลงสัญชาติเป็นสัญชาติไทยหลัง 31 พฤษภาคม 2557
***********************************************************************************************************
ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก : เพจ Examth และ www.sanook.com

รวบรวมและเรียบเรียงข้อมูล : กานต์นภัส แสนยศ บรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชนอำเภอดอยสะเก็ด





เข้าชม : 2660


สาระน่ารู้ 5 อันดับล่าสุด

      ส้าผัก 25 / เม.ย. / 2566
      พรบ.กรมส่งเสริมการเรียนรู้ 5 / เม.ย. / 2566
      วันท่องเที่ยวโลก 25 / ก.ย. / 2565
      เทศกาลกินเจ 2565 25 / ก.ย. / 2565
      24 กันยายน วันมหิดล 25 / ก.ย. / 2565


 
ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอดอยสะเก็ด  จังหวัดเชียงใหม่ โทรศัพท์ 053-496147
  ห้องสมุดประชาชนอำเภอดอยสะเก็ด 555 หมู่ที่ 3 ถนนบ่อสร้าง-เชียงใหม่ อำเเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ โทรศัพท์ 053-495500
Doisaketlibrary@gmail.com
libdoisaket@cmi.nfe.go.th
บาคาร่า Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05HD  Update by   นายบุญมา มาดี