ดอยตุง เชียงตุง
พระราชนิพนธ์ ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เนื้อหาโดยสังเขป
บันทึกการเสด็จพระราชดำเนินเยือนเชียงตุง สาธารณรัฐพม่า เมื่อวันที่ 1-4 มีนาคม 2537 ในวันที่ 1 และ 2 มีนาคม เป็นพระราชกรณียกิจตรวจเยี่ยมความเป็นอยู่ของราษฎร และความก้าวหน้าของโครงการสำหรับโรงเรียนและศูนย์ฝึกอาชีพของชาว เขา ที่อยู่ในจังหวัดเชียงราย ส่วน 2 วัน หลัง เป็นการเสด็จฯ เยือนเชียงตุง "เป็นเวลาสั้น เพียง 2 วันไม่เต็ม" วันที่ 1 มีนาคม เสด็จฯ จากกรุงเทพฯ มาดอยตุง วันที่ 2 มีนาคม เสด็จฯ ทอดพระเนตรกิจการของโรงเรียนตระเวนชายแดนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์ 3 โรงเรียนบ้านเทอดไทย โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนกลุ่มค้าวัสดุก่อสร้าง ศูนย์ฝึกอาชีพสตรีดอยตุง โรงขยายพันธุ์พืช โดยการเพาะเนื้อเยื่อที่บ้านห้วยน้ำขุ่น หมู่บ้านอีก้อป่ากล้วย และสวนสมเด็จย่า วันที่ 3 มีนาคม เสด็จฯ จากดอยตุงไปแม่สายเพื่อเดินข้ามสะพานไปต่อรถเข้าเชียงตุง โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงตุง รับเสด็จฯ และร่วมในขบวนเสด็จ ทรงถวายขอพระพร และทอดพระเนตรการแสดงของชาวบ้านที่วัดพระเจ้าล้านทอง แล้วเสด็จฯ ไปสบตาแจ่ว บ่อน้ำพุร้อน วัดพระธาตุจอมทอง วัดมหามุนี ประทับแรมที่โรงแรมเชียงตุง วันที่ 4 มีนาคม เสด็จฯ ดอยเหมย กองพัน 226 ตึกเก่าของอังกฤษซึ่งพันเอก Rubel เป็นเจ้าของ จากนั้นเสด็จฯ ทอดพระเนตรกุหลาบพันปี ซึ่งฝ่ายพม่าจะถวายสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สุดท้ายเสด็จฯ นมัสการ พระธาตุดอยเหมย แล้วเสด็จฯ กลับเชียงตุง ไปดูต้นยาง อายุ 242 ปี โรงเรียนพัฒนาเด็กกำพร้าตามแนวชายแดน วัดยางลอ และสถานฝึกอาชีพสตรีชายแดน เป็นแห่งสุดท้ายก่อนเสด็จฯ กลับเชียงราย ท้ายเล่มเป็นภาคผนวก สังเขปเรื่องเมืองเชียงตุง
สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ห้องสมุดประชาชนอำเภอดอยสะเก็ดนะคะ
รวบรวมและเรียบเรียงโดย : กานต์นภัส แสนยศ บรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชนอำเภอดอยสะเก็ด
เข้าชม : 1247
|