#อาการที่สังเกตได้ ...ก่อนระบบจะล้มเหลว ถึงขั้นอันตรายถึงชีวิต จะมีอาการนำ หากเราสังเกตทัน ช่วยทัน ก็จะไม่อันตรายถึงชีวิต ตัวเราก็คอยสังเกตอาการตัวเองด้วยนะคะ
อาการคือ มึนๆ เวียนหัว ตัวร้อน แต่ไม่มีเหงื่อ ผิวแห้ง ถ้ายังมีสติ จะรู้สึกอ่อนเพลีย มึนศีรษะ อาจมี เดินเซ พูดไม่ชัด หายใจเร็ว ชีพจนเต้นเร็ว ความดันตก อาจมีคลื่นไส้ อาเจียน
เมื่อมีอาการเกิดขึ้นกับตัวเราเอง หรือผู้อื่น ให้ #ปฐมพยาบาลตัวเอง #ถ้ายังมีสติ ให้รีบดื่มน้ำ ทำตัวเองให้เย็นลง #นอนราบให้เลือดเลี้ยงสมองสะดวก ยกเท้าสูงนิดหน่อย เอาผ้าชุบน้ำเช็ดตัวให้เย็นลง พาร่างกายเข้าที่เย็น เช่น ห้องแอร์ เข้าร้านเซเว่น พอร่างกายเย็นลง ก็ดื่มน้ำ #ชดเชยเกลือแร่ ถ้ายังมีสติ ถือว่า ยังไม่อันตรายถึงชีวิต
แต่ถ้าหมดสติ ชัก หรือล้มลง เรียกไม่ตื่น ให้ทำตามขั้นตอนดังนี้
1. อันดับแรกโทร 1669 #เรียกรถพยาบาลด่วน
2. สังเกตว่า เรียกไม่ตื่น ให้ดูว่า ผู้ป่วย ยังหายใจ ไม่มีภาวะ #หัวใจหยุดเต้นหากพบว่าหัวใจหยุดเต้น ให้ทำการ #CPR ปั้มหัวใจ (ถ้าทำเป็น) หากทำไม่เป็นให้ ตะโกนขอความช่วยเหลือ และส่งไทมุง แทนที่จะยืนมุง ให้พวกเขาวิ่งกระจายกำลังออกไปตะโกนหา คนที่ทำ CPR เป็น และควรทำให้เร็วที่สุด เพราะหากช้า ผู้ป่วยอาจเสียชีวิต หรือฟื้นขึ้นมาช้า สมองพิการได้
3. ถ้าเขายังหายใจ หัวใจยังเต้น แต่เรียกไม่ตื่น ไม่ต้อง CRP ระหว่างรอรถพยาบาล ถ้าพบว่าตัวเขาร้อนจัด (ประมาณ 40 องศา ไม่ต้องวัดก็รู้สึกได้) คิดว่าอาจใช่ heat stroke ให้รีบลดอุณหภูมิร่างกายผู้ป่วยให้เร็วที่สุด หาผ้า ถ้าไม่มี ใช้เสื้อใครก็ได้ ชุบน้ำอุณหภูมิห้อง หรือเย็น #ทำให้ผู้ป่วยตัวเย็นลงให้เร็วที่สุด
ช่วยกันทำ คนนึงเช็ดตัวแรง ๆ (เช็ดย้อนรูขุมขนยิ่งดี) อีกคนเอาผ้าหรือเสื้ออีกตัว กระพือ ให้ลมพัด เอาให้เย็นให้ได้ คนที่ไม่มีส่วนช่วยเหลือ ถอยออกไปห่าง ๆ
4. ถ้าผู้ป่วยตัวเย็นลง เริ่มมีสติ และพูดรู้เรื่อง ให้จิบน้ำช้า ๆ #อย่ากรอกน้ำใส่ปากขณะที่เขาหมดสติ ถ้าไม่มีสติ ไม่ต้องให้ดื่มน้ำ เพราะจะสำลักเข้าปอด อันตรายหนักกว่าเดิม
5. รถพยาบาลมาถึง เราทุกคน ทีมช่วยเหลือ ก็สบายใจ
หน้าร้อนนี้ ระวังนะคะ พกขวดน้ำติดตัว #อย่าให้ร่างกายขาดน้ำ อย่ารอให้คอแห้ง หรือรู้สึกหิวน้ำ เพราะนั่นอาจสายไปแล้ว ถ้าร่างกายร้อนจัด มันจะช็อค #ระบบภายในจะล้มเหลว ตับถูกทำลาย ไตวาย หัวใจหยุดเต้น อันตรายกว่าที่เราคิดไว้ ถ้าเริ่มมึนๆ ตึงๆ ก็รีบหาน้ำดื่ม #ลดอุณหภูมิร่างกาย
🙏ขอขอบคุณข้อมูลดีๆมีประโยชน์จาก กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
รวบรวมและเรียบเรียงข้อมูลโดย กานต์นภัส แสนยศ บรรณารักษ์