[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
  
 


เนื้อหา : เรื่องเด่นวันนี้
หมวดหมู่ : วันสำคัญ
หัวข้อเรื่อง : วันพืชมงคล

อาทิตย์ ที่ 10 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2563


 

วันพืชมงคล 

วันพืชมงคล คือ วันที่กำหนดให้มีพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
นับว่าเป็นพระราชพิธีที่มีความเก่าแก่สืบต่อมาตั้งแต่โบราณ
เพื่อเสริมสร้างขวัญและกำลังใจให้กับเกษตรกรของชาติ
อีกทั้งยังเป็นการระลึกถึงความสำคัญของเกษตรกรที่มีต่อเศรษฐกิจไทย
ซึ่งการจัดพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญนี้มีสืบเนื่องมา
ตั้งแต่เมื่อสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย
การประกอบพระราชพิธีจะกระทำขึ้นที่ท้องสนามหลวง อันประกอบด้วย ๒
 พระราชพิธี
คือ พระราชพิธีพืชมงคล และพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ที่มีความแตกต่างกันดังนี้

·         พิธีพืชมงคล เป็นพิธีทำขวัญเมล็ดพันธุ์พืชต่างๆ
อาทิ ข้าวเปลือกจ้าว ข้าวเหนียว
ข้างฟ่าง ข้าวโพก ถั่ว งา เผือก มัน เป็นต้น
การประกอบพิธีพืชมงคลก็เพื่อให้พันธ์ุเหล่านั้นปราศจากโรคภัย
และอุดมสมบูรณ์ มีความเจริญงอกงามดี

·         พิธีแรกนาขวัญ ป็นพิธีที่เริ่มต้นการไถนาเพื่อหว่านเมล็ดข้าว
ซึ่งการประกอบพิธีแรกนาขวัญนี้ก็เพื่อให้เป็นอาณัติสัญญาณว่า
บัดนี้ ฤดูกาลแห่งการทำนา ทำไร่ และเพาะปลูกได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว

 

ประวัติวันพืชมงคล

พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ หรือพิธีแรกนา เป็นพระราชพิธีที่มีมาตั้งแต่โบราณ
เมื่อครั้งที่สุโขทัยเป็นราชธานี ซึ่งในสมัยนั้นพระมหากษัตริย์มิได้ลงมือไถนาเอง
เพียงแต่เสด็จฯ ไปเป็นองค์ประธานในพระราชพิธีเท่านั้น
เมื่อครั้นถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา พระมหากษัตริย์ไม่ได้เสด็จฯ ไปเป็นองค์ประธาน
แต่จะมอบอาญาสิทธิ์ให้โดยทรงทำเหมือนอย่างออกอำนาจกษัตริย์
และจะทรงจำศีลเป็นเวลา ๓
 วัน โดยวิธีการเช่นนี้ได้ปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
ตลอดมาจนถึงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา

ต่อมา ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ตั้งแต่รัชสมัยของ
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑
 
ได้โปรดให้ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เป็นผู้ประกอบพระราชพิธีแรกนาขวัญแทนพระองค์
และมิได้ถือว่าเป็นพิธีหน้าพระที่นั่ง จะยกเว้นก็ต่อเมื่อมีพระราชประสงค์จะทอดพระเนตร
ในตอนแรกๆ มีสถานที่ประกอบพิธีที่ไม่ตายตัว แล้วแต่จะทรงกำหนดให้

ครั้นมาถึงในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
 
พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดพิธีสงฆ์เพิ่มขึ้นในพระราชพิธีต่างๆ ทุกพิธี
ฉะนั้น
 พระราชพิธีพืชมงคล จึงได้เริ่มมีขึ้นเป็นครั้งแรกนับแต่นั้นมา
โดยได้จัดรวมกับพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ทำให้มีชื่อเรียกรวมกันว่า
 
พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ 
ส่วนพิธีกรรมนอกเหนือจากการทำเป็นตัวอย่างที่ทรงจำแนกไว้ ๓ อย่าง
๒ อย่างแรกที่ว่า 
อาศัยคำอธิษฐานเอาความสัตย์เป็นที่ตั้งบ้าง
ทำการซึ่งไม่มีโทษนับว่าเป็นการสวัสดิมงคลตามซึ่งมาในพระพุทธศาสนาบ้าง”
 
ทรงหมายถึง พิธีพืชมงคล อันเป็นพิธีสงฆ์ที่กระทำ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ส่วนอีกอย่างหนึ่งที่ว่า
 
บูชาเซ่นสรวงตามที่มาทางไสยศาสตร์บ้าง” 
ทรงหมายถึง พิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ อันเป็นพิธีทางพราหมณ์

ฉะนั้น พอสรุปความมุ่งหมายอันเป็นมูลเหตุการเกิด 
พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ได้ว่า
พระราชพิธีนี้มุ่งหมายที่จะให้เป็นตัวอย่างแก่ราษฎร
หวังเพื่อชักนำให้มีความมั่นใจในการทำนา อันเป็นอาชีพหลักที่สำคัญของคนไทย
ที่มีมาช้านานและสืบต่อมาจนปัจจุบันยังคงเป็นอยู่เช่นนั้น
เพราะด้วยการเกษตรที่มีการทำนาเป็นอาชีหลัก
นับเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่และเศรษฐกิจของประเทศในทุกสมัย

วันที่เหมาะแก่การประกอบพิธีพืชมงคล

วันประกอบพิธีพืชมงคลนั้นต้องเป็นวันที่ดีที่สุดของแต่ละปี ประกอบด้วย
ขึ้น แรม และฤกษ์ยาม ประกอบกันให้ได้วันอันอุดมฤกษ์ตามตำราโหราศาสตร์
แต่จะต้องอยู่ในระหว่างเดือน ๖
 เพราะช่วงเดือนนี้กำลังจะเริ่มเข้าฤดูฝน
อันเป็นระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับเกษตรกร ชาวไร่ ชาวนา จะได้เตรียมทำนา
เมื่อโหรหลวงได้คำนวณวันอันอุดมมงคลพระฤกษ์
ที่จะประกอบพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญแล้ว
สำนักพระราชก็จะบันทึกลงไว้ในปฏิทินหลวงที่พระราชทานในวันขึ้นปีใหม่ทุกปี
รวมถึงได้กำหนดว่าวันใดเป็นวันพืชมงคล
และวันใดเป็นวันจรดพระนังคัลแรกนาขวัญไว้อย่างชัดเจน

พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ 
เดิมทีจะกระทำที่ทุ่งพญาไท แต่เมื่อได้มีการฟื้นฟูพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญขึ้นใหม่
จึงได้เปลี่ยนแปลงสถานที่โดยจัดให้มีขึ้นที่ท้องสนามหลวง ทั้งนี้ วันแรกนาขวัญ
นับเป็นอีกหนึ่งวันสำคัญของชาติ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้ในวันนี้เป็นวันหยุดราชการ ๑
 วัน
และมีประกาศให้ชักธงชาติตามระเบียบราชการ

อนึ่ง นับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๙ เป็นต้นมา คณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษากัน
โดยลงมติให้วันพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเป็นวันเกษตรกรประจำปีอีกด้วย
ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ที่มีอาชีพทางเกษตรพึงระลึกถึงความสำคัญของการเกษตร
และร่วมมือกันประกอบพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเพื่อเป็นสิริมงคลแก่อาชีพของตน

การประกอบพระราชพิธีวันพืชมงคล

พระราชพิธีพืชมงคล 
เป็นพิธีทำขวัญพืชพันธุ์ธัญญาหารที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงอธิษฐาน
เพื่อความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ในราชอาณาจักรไทย โดยข้าวที่นำมาเข้าพิธีพืชมงคลนั้น
เป็นข้าวเปลือก มีทั้งข้าวเจ้าและข้าวเหนียว
อีกทั้งยังมีเมล็ดพืชชนิดต่างๆ รวมกว่า ๔๐
 ชนิดซึ่งแต่ละชนิดจะถูกบรรจุอยู่ในถุงผ้าขาว
นอกจากนี้ก็ยังมีข้าวเปลือกที่ใช้สำหรับหว่านในพิธีแรกนา
บรรจุเข้ากระเช้าทองคู่หนึ่งและเงินอีกคู่หนึ่ง
เป็นข้าวพันธุ์ดีที่โปรดฯ ให้ปลูกในสวนจิตรลดาและพระราชทานมาเข้าพิธีพืชมงคล
ซึ่งพันธุ์ข้าวพระราชทานนี้จะใช้หวานในพระราชพิธีแรกนาส่วนหนึ่ง
ส่วนที่เหลือทางการจะบรรจุซองแล้วส่งไปแจกจ่ายแก่ชาวนานและประชาชนในจังหวัดต่างๆ
เพื่อเป็นมิ่งขวัญและเป็นสิริมงคลแก่พืชผลที่จะเพาะปลูกในปีนี้

พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญในปัจจุบัน

ได้ดำเนินไปตามแบบอย่างโบราณราชประเพณี
ยกเว้นแต่บางอย่างที่ได้มีการดัดแปลงให้เหมาะแก่กาลสมัย
อาทิ พิธีของพราหมณ์ ก็มีการตัดทอนให้ลดเหลือน้อยลง
พระยาแรกนา ก็ให้ตกเป็นหน้าที่ของปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในระดับ
3 – 4
คือ ขั้นโทขึ้นไป อีกทั้ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงทอดพระเนตรพระราชพิธีเป็นประจำทุกปี
รวมถึงมีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ทูตานุทูต
และประชาชนที่สนใจได้เดินทางมาชมการแรกนาเป็นจำนวนมาก

สำหรับการประกอบพิธีนั้นจะถูกกำหนดขึ้นโดยโหรหลวงซึ่งในระหว่างพิธีอันสวยงามนี้
ก็จะมีการทำนายปริมาณน้ำฝนในช่วงฤดูฝนที่กำลังจะมาถึง
โดยพระยาแรกนาจะทำการเลือกผ้า ๓
 ผืนที่มีความยาวต่างกันตามชอบใจ
ซึ่งผ้าทั้ง ๓
 ผืนนี้มีความคล้ายคลึงกัน
หากพระยาแรกนาเลือกผืนที่ยาวที่สุดก็ทายว่า ปีนี้ปริมาณน้ำฝนจะมีน้อย
แต่ถ้าเลือกผืนที่สั้นที่สุด ทายว่าปีนี้จะมีปริมาณน้ำฝนมาก
หรือหากเลือกผืนที่มีความยาวปานกลาง ทายว่าปีนี้จะมีปริมาณน้ำฝนพอประมาณ
ต่อมา หลังจากที่สวมเสื้อผ้าที่เรียกว่า
 ผ้านุ่ง เรียบร้อยแล้ว
พระยาแรกนาก็จะไถลงไปบนพื้นที่ท้องสนามหลวงด้วยพระนังคัลสีแดงและสีทอง
มีพระโคเพศผู้ลำตัวสีขาวทำหน้าที่ลาก
แล้วตามด้วยเทพีทั้ง ๔
 ทำหน้าที่หาบกระเช้าทองและกระเช้าเงินที่บรรจุเมล็ดข้าวเปลือก
นอกจากนี้ยังจะมีคณะพราหมณ์ที่เดินคู่ไปกับขบวน
พร้อมทั้งสวดและเป่าสังข์ไปในขณะเดียวกัน

เมื่อเสร็จจากการไถแล้ว พระโคจะได้รับการป้อนพระกระยาหาร
และเครื่องดื่มทั้งสิ้น ๗
 ชนิด ได้แก่ เมล็ดข้าว ถั่ว ข้าวโพด หญ้า เมล็ดงา น้ำ และเหล้า
ไม่ว่าพระโคจะเลือกกิน หรือดื่มสิ่งใดก็ทายว่าในปีนั้นๆ จะสมบูรณ์ด้วยสิ่งที่พระโคเป็นผู้เลือก

ขั้นตอนต่อมา พระยาแรกนาจะทำการหว่านเมล็ดข้าว ประชาชนจะพากันมาแย่งเก็บ
เพราะถือกันว่าเมล็ดข้าวนี้เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อันจะนำมาซึ่งความอุดมสมบูรณ์
และก่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ผู้ที่มีไว้ในครอบครอง เมื่อเก็บเมล็ดข้าวกลับไปแล้ว
ชาวนาก็จะใช้เมล็ดข้าวที่เก็บได้มาผสมกับเมล็ดข้าวของตัว
เพื่อให้พืชที่ลงแรงลงกายปลูกในปีที่จะมาถึงนี้มีความอุดมสมบูรณ์

สำหรับพระโคที่จะเข้าพระราชพิธีแรกนาขวัญนั้น จะถูกเลี้ยงดูอย่างดีที่จังหวัดราชบุรี
โดยพระโคที่ใช้ในพระราชพิธีจะต้องมีลักษณะที่ดี ขาด หรือเกินไม่ได้
อันประกอบด้วย หูดี ตาดี แข็งแรง เขาทั้งสองตั้งตรงสวยงาม พระโคแต่ละคู่จะต้องมีสีเหมือนกัน
อีกทั้งจะมีการคัดเลือกพระโคเพียงสองสี คือ สีขาวสำลีและสีน้ำตาลแดง
เจาะจงว่าเป็นเฉพาะเพศผู้เท่านั้นและต้องผ่านการ
 ตอน เสียก่อนด้วย

กิจกรรมที่ควรปฏิบัติในวันพืชมงคล

1.      ๑. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการ

2.      ๒. จัดนิทรรศการแสดงประวัติความเป็นมา ตลอดจนความสำคัญของวันพืชมงคล
   รวมถึงพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญอีกด้วย

การจัดกิจกรรมวันพืชมงคลให้สอดคล้องมาตรการป้อง โคโรนา ๒๐๑๙

เนื่องด้วยขณะนี้ได้เกิดสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙
รัฐบาลจึงได้จัดกิจกรรม
วันพืชมงคล พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
ให้สอดคล้องกับมาตรการต่าง ๆ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไปในวงกว้างดังนี้

๑. ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์
ประธานองคมนตรี
 ปฏิบัติหน้าที่ประธานฝ่ายฆราวาสในพิธีปลุกเสกเมล็ดพันธุ์ข้าวพระราชทานและพืชพันธุ์ต่าง ๆ
ในวันอาทิตย์ที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๗.๐๐ น. ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
และปฏิบัติหน้าที่ประธานในพิธีหว่านข้าวในแปลงนา ทดลอง สวนจิตรลดา
ในวันจันทร์ที่ ๑๑
 พฤษภาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๐.๐๐ น. โดยมีปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นผู้หว่านข้าว
ซึ่ง
เป็นการจัดพิธีภายใน ไม่เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าร่วมในพิธีดังกล่าว
 

๒. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต
ให้ประกอบพิธีปลุกเสกเมล็ดพันธุ์ข้าวพระราชทาน เพื่อเป็นเมล็ดพันธุ์สำหรับเพาะปลู
เพื่อความเป็นสิริมงคลและเป็นขวัญกำลังใจแก่เกษตรกรทั่วประเทศ

 พันธุ์ข้าวพระราชทาน ๒๕๖๓ ในพระราชพิธีพืชมงคล

ในปี ๒๕๖๓ นี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เปิดเผยข้อมูล ๕ พันธุ์ข้าว
ที่ถูกนำมาเข้าพิธีปลุกเสกเมล็ดพันธุ์ข้าวพระราชทานร่วมกับเมล็ดพันธุ์พืชอื่น ๆ
ซึ่งเป็นข้าวที่ได้รับการรับรองพันธุ์ จากการศึกษาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
และได้รับการปรับปรุงพันธุ์ด้วยเทคนิคต่าง ๆ จนเป็นข้าว
ที่ให้ผลผลิตสูงต่อไร่ ซึ่ง 5 สายพันธุ์นี้ไม่ธรรมดาทีเดียว

กว่าจะมาเป็นพันธุ์ข้าวพระราชทาน

พันธุ์ข้าวที่ได้รับคัดเลือกเป็นพันธุ์ข้าวพระราชทานในแต่ละปี
ล้วนเป็นข้าวที่ผ่านการศึกษาสายพันธุ์ ทั้งพันธุ์ข้าวเดิมที่ปลูกมาแต่ในอดีต
ตลอดจนพันธุ์ข้าวที่ได้รับการปรับปรุงสายพันธุ์ด้วยวิธีการปลูกคัดเลือกพันธุ์
หรือชักน้ำพันธุ์ด้วยรังสี จนได้พันธุ์ข้าวที่มีคุณสมบัติทนต่อโรคพืช และได้ผลผลิตต่อไร่ที่ดี


โดยข้าวทั้ง ๕ สายพันธุ์นี้ ได้ทดลองปลูกในแปลงนา
โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาซึ่งเป็นโครงการในพระราชดำริ
ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมการข้าวได้นำเมล็ดพันธุ์ข้าวมาปลูกทดลอง
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 และยังคงใช้เมล็ดพันธุ์เหล่านี้แจกจ่าย
ให้กับเกษตรกรเพื่อเป็นสิริมงคล ในการประกอบอาชีพเรื่อยมา


ในปีนี้มีพันธุ์ข้าว กข. ๗๙ ที่เพิ่งได้รับการรับรองพันธุ์ในปี ๒๕๖๒
ว่าให้ผลผลิตได้สูงสุดถึง ๑,๑๘๒ กิโลกรัมต่อไร่ เป็นพันธุ์ที่น่าสนใจ
และพันธุ์ข้าว กข ๖ เป็นข้าวเหนียวที่ให้ผลผลิตได้สูง มีคุณภาพหุงต้มดี
พันธุ์ข้าวปทุมธานี ๑ และพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ ๑๐๕
ที่ได้รับคัดเลือกเป็นพันธุ์ข้าวพระราชทานมาหลายปีแล้ว
และพันธุ์ข้าว กข ๔๓ เป็นข้าวเจ้าที่มีระยะการปลูกสั้นเหมาะกับที่น้ำขังเป็นระยะเวลานาน

ขอขอบคุณข้อมูล :
เว็บไซต์พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
,

มูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ , ไทยรัฐออนไลน์, วิดีพีเดีย สาราณุกรมเสรี
รวบรวมและเรียบเรียงโดย : กานต์นภัส  แสนยศ





เข้าชม : 1012


วันสำคัญ 5 อันดับล่าสุด

      วันปิยมหาราช 22 / ต.ค. / 2567
      วันแม่แห่งชาติ ๒๕๖๗ 6 / ส.ค. / 2567
      วันสุนทรภู่ 2567 26 / มิ.ย. / 2567
      วันคล้ายวันสถาปนากรมส่งเสริมการเรียนรู้ 20 / พ.ค. / 2567
      ๒ เมษายน ๒๕๖๗ วันรักการอ่าน 4 / เม.ย. / 2567




ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ไอคอน : ย่อหน้า จัดซ้าย จัดกลาง จัดขวา ตัวหนา ตัวเอียง เส้นใต้ ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา
อ้างอิงคำพูด เพิ่มเพลง เพิ่มวีดีโอคลิป เพิ่มรูปภาพ เพิ่มไฟล์ Flash เพิ่มลิงก์ เพิ่มอีเมล์
ความคิดเห็น :


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ ที่นี่ เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

 
ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอดอยสะเก็ด  จังหวัดเชียงใหม่ โทรศัพท์ 053-496147
  ห้องสมุดประชาชนอำเภอดอยสะเก็ด 555 หมู่ที่ 3 ถนนบ่อสร้าง-เชียงใหม่ อำเเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ โทรศัพท์ 053-495500
Doisaketlibrary@gmail.com
libdoisaket@cmi.nfe.go.th
บาคาร่า Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05HD  Update by   นายบุญมา มาดี