[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
  
 


เนื้อหา : เรื่องเด่นวันนี้
หมวดหมู่ : วันสำคัญ
หัวข้อเรื่อง : วันฉัตรมงคล

จันทร์ ที่ 2 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2565


 

วันฉัตรมงคล ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๖ 
ฉัตรมงคล 
(อ่านว่า ฉัด-ตระ-มง-คน หรือ ฉัด-มง-คน) [Coronation Day]
มีความหมายตามพจนานุกรมว่า พระราชพิธีฉลองพระเศวตฉัตร

ซึ่งจะกระทำในวันคล้ายวัน
บรมราชาภิเษก ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร
มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
 รัชกาลที่ ๙
พระราชพิธีฉัตรมงคลจัดขึ้นทุกวันที่ ๕
 พฤษภาคม 
เพราะทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓
และทางราชการถือเป็นวันหยุดตามประเพณีวันหนึ่งของประเทศไทย
ต่อมาในวันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐ หลังจากรัชกาลที่ ๙ 
เสด็จสวรรคต 
ทางรัฐบาลที่มี พล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา
ยกเลิกวันนี้ลง และกำหนดให้วันที่ ๒๘ กรกฎาคม อันเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ของ
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และวันที่ ๑๓ ตุลาคม ของทุกปี
อันเป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
เป็นวันหยุดเพิ่มเติมตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นต้นไป
ความสำคัญของวันฉัตรมงคล
เป็นวันที่รำลึกถึงพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ ๑๐ แห่งราชวงศ์จักรี
และราชอาณาจักรไทย ของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ
พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ ต่อจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร
มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเมื่อวันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
และดำรงพระอิสริยยศเป็น “พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว”



ดังนั้น รัฐบาลไทยและพสกนิกร จึงน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมจัดงานพระราชพิธีฉลองพระเศวตฉัตร
หรือรัฐพิธีฉัตรมงคล หรืออาจเรียกว่าพระราชพิธีฉัตรมงคล ซึ่งกระทำในวันบรมราชาภิเษก
ถวายเมื่อวันที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ 
ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้มีพระปฐมบรมราชโองการในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกนั้นว่า “เราจะสืบสาน รักษาและต่อยอด
และครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎรตลอดไป” 
ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
พสกนิกรชาวไทย จึงได้ถือเอาวันที่ ๔ พฤษภาคม ของทุกปีเป็นวันฉัตรมงคล เพื่อน้อมรำลึกถึงวันสำคัญนี้


ความเป็นมาของพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
มีหลักฐานปรากฏในหลักศิลาจารึก วัดศรีชุมของพญาลิไทว่าเริ่มต้นมาตั้งแต่ครั้งพ่อขุนผาเมือง
ได้อภิเษกพ่อขุนบางกลางหาว หรือพ่อขุนบางกลางท่าว ให้เป็นผู้ปกครองเมืองสุโขทัย 
จากนั้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ได้ทรงฟื้นฟูพระราชพิธีบรมราชาภิเษกให้ถูกต้องสมบูรณ์ โดยพระมหากษัตริย์ที่ยังมิได้
ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก จะไม่ใช้คำว่า “พระบาท” นำหน้า
“สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” และคำสั่งของพระองค์ก็ไม่เรียกว่า “พระบรมราชโองการ”
และอีกประการหนึ่งคือ จะยังไม่มีการใช้ นพปฎลเศวตฉัตร หรือฉัตร ๙ ชั้น



ความเป็นมาของพระราชพิธีฉัตรมงคล
ก่อนหน้ารัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชพิธีฉัตรมงคล
ถือเป็นพิธีของเจ้าพนักงานในพระราชฐานที่มีหน้าที่รักษาเครื่องราชูปโภคและพระทวารประตูวัง
ได้จัดการสมโภชสังเวยเครื่องราชูปโภคที่ตนรักษาทุกปีในเดือนหกและเป็นงานส่วนตัว ไม่ถือเป็นงานหลวง
จนกระทั่ง สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์
ได้ทรงกระทำพิธีฉัตรมงคลขึ้นเป็นครั้งแรก ในวันบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๙๓
โดยมีพระราชดำริว่า วันบรมราชาภิเษกเป็นมหามงคลสมัยที่ควรแก่การเฉลิมฉลองในประเทศที่มีพระเจ้าแผ่นดิน
จึงถือให้วันนั้น เป็นวันนักขัตฤกษ์มงคลกาล และควรที่จะมีการสมโภชพระมหาเศวตฉัตรให้เป็นสวัสดิมงคลแก่ราชสมบัติ
แต่เนื่องจากเป็นธรรมเนียมใหม่ ยากต่อการเข้าใจ อีกทั้งเผอิญที่วันบรมราชาภิเษกไปตรงกับวันสมโภชเครื่องราชูปโภคที่มีแต่เดิม
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงอธิบายว่า วันฉัตรมงคลเป็นวันสมโภชเครื่องราชูปโภค จึงไม่มีใครติดใจสงสัย
ดังนั้น จึงได้มีพระราชดำริจัดงานพระราชกุศลพระราชทานชื่อว่า "ฉัตรมงคล" นี้ขึ้น โดยได้มีการเฉลิมฉลอง

ด้วยการนิมนต์พระสงฆ์มาสวดเจริญพุทธมนต์ ในวันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๖ รุ่งขึ้นมีการถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ที่
พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทและพระที่นั่งไพศาลทักษิณ 
ด้วยเหตุนี้ จึงถือว่าการเฉลิมฉลองพระราชพิธีฉัตรมงคล
เริ่มมีในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นครั้งแรก
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ วันบรมราชาภิเษก ตรงกับเดือน ๑๒ จึงโปรดเกล้าฯ ให้จัดงานฉัตรมงคลในเดือน ๑๒
แต่ไม่ได้รับการยินยอมพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงแก้ไขด้วยการออกพระราชบัญญัติ
ว่าด้วยตราจุลจอมเกล้าสำหรับตระกูลขึ้นให้มีพระราชทานตรานี้ตรงกับวันคล้ายบรมราชาภิเษก
ท่านผู้หลักผู้ใหญ่จึงยินยอมให้เลื่อนงานฉัตรมงคลมาตรงกับวันบรมราชาภิเษก
แต่ยังให้รักษาประเพณีสมโภชเครื่องราชูปโภคอยู่ตามเดิม รูปแบบงานวันฉัตรมงคลจึงเป็นเช่นนี้จนถึงปัจจุบัน



พระราชพิธีฉัตรมงคลในรัชกาลปัจจุบัน


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดงาน ๓ วัน คือ 
วันฉัตรมงคล ตรงกับวันที่ ๔ พฤษภาคม
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ประกอบด้วย สรงพระมุรธาภิเษก
ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ทรงรับน้ำอภิเษก ณ พระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์
ทรงรับเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ขัตติยราชวราภรณ์ และพระแสง ณ พระที่นั่งภัทรบิฐ
เลี้ยงพระ พระสงฆ์ดับเทียนชัย ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย

วันที่ ๕ พฤษภาคม
เป็นพระราชพิธีเฉลิมพระปรมาภิไธย พระนามาภิไธย สถาปนาพระฐานันดรศักดิ์พระบรมวงศ์
และเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราสถลมารค จากพระที่นั่งอาภรณ์ภิโมกข์ปราสาท
วัดบวรนิเวศวิหาร วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามและวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
วันที่ ๖ พฤษภาคม
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออก ณ สีหบัญชร พระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาทให้ประชาชนเฝ้าฯ
ถวายพระพรชัยมงคล เสด็จออกให้ทูตานุทูตและกงสุลต่างประเทศเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท


พระราชพิธีฉัตรมงคล
เพื่อให้การจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสวันฉัตรมงคล ๔ พฤษภาคม 
เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและสมพระเกียรติ จึงได้ให้มีการประดับพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พร้อมเครื่องราชสักการะ บริเวณอาคารสำนักงาน ประดับธงชาติไทยคู่กับธงพระปรมาภิไธย ว.ป.ร.
พร้อมประดับผ้าระบายสีเหลืองร่วมกับผ้าระบายสีขาวบริเวณรั้วอาคารสำนักงานตลอดเดือนพฤษภาคม 
รวมทั้งประดับไฟบริเวณอาคารสำนักงานให้สวยงามในระยะเวลาที่เห็นสมควร
รวมถึงจัดทำคำถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในวันฉัตรมงคล ๔ พฤษภาคม พร้อมพระบรมฉายาลักษณ์
และสมุดลงนามถวายพระพรชัยมงคลอิเล็กทรอนิกส์ลงบนหน้าหลักเว็บไซต์จังหวัด
พร้อมทั้งเชิญชวนผู้บริหารและบุคลากรในสังกัด ร่วมลงนามถวายพระพรชัยมงคลผ่านระบบออนไลน์ตลอดเดือนพฤษภาคม 
และแจ้งหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ อำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดดำเนินการจัดทำด้วย
นอกจากนี้ ให้เชิญชวนบริษัท ห้างร้าน และประชาชนร่วมประดับพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บริเวณด้านหน้าอาคารสำนักงานและที่พักอาศัย ประดับธงชาติไทยคู่กับธงพระปรมาภิไธย ว.ป.ร.
และประดับไฟบริเวณอาคารสำนักงานและที่พักอาศัยตลอดเดือนพฤษภาคม  ด้วยความสมัครใจ

 
ร่วมกิจกรรมลงนามถวายพระพรออนไลน์เนื่องในวันฉัตรมงคล

  ****************************************************************
ขอบคุณข้อมูล/รูปภาพ : https://th.wikipedia.org/ และ https://www.google.com/
รวบรวมและเรียบเรียงข้อมูล : กานต์นภัส  แสนยศ บรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชนอำเภอดอยสะเก็ด 



เข้าชม : 1035


วันสำคัญ 5 อันดับล่าสุด

      วันปิยมหาราช 22 / ต.ค. / 2567
      วันแม่แห่งชาติ ๒๕๖๗ 6 / ส.ค. / 2567
      วันสุนทรภู่ 2567 26 / มิ.ย. / 2567
      วันคล้ายวันสถาปนากรมส่งเสริมการเรียนรู้ 20 / พ.ค. / 2567
      ๒ เมษายน ๒๕๖๗ วันรักการอ่าน 4 / เม.ย. / 2567


ความคิดเห็นที่ 1
ศุกร์ ที่ 13 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2565 เวลา 18:18:29
รัก
โดย : นาย ธีรศักดิ์ ทวีชัยรัตน์    ไอพี : 122.155.47.60



ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ไอคอน : ย่อหน้า จัดซ้าย จัดกลาง จัดขวา ตัวหนา ตัวเอียง เส้นใต้ ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา
อ้างอิงคำพูด เพิ่มเพลง เพิ่มวีดีโอคลิป เพิ่มรูปภาพ เพิ่มไฟล์ Flash เพิ่มลิงก์ เพิ่มอีเมล์
ความคิดเห็น :


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ ที่นี่ เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

 
ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอดอยสะเก็ด  จังหวัดเชียงใหม่ โทรศัพท์ 053-496147
  ห้องสมุดประชาชนอำเภอดอยสะเก็ด 555 หมู่ที่ 3 ถนนบ่อสร้าง-เชียงใหม่ อำเเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ โทรศัพท์ 053-495500
Doisaketlibrary@gmail.com
libdoisaket@cmi.nfe.go.th
บาคาร่า Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05HD  Update by   นายบุญมา มาดี