เนื้อหา : เรื่องเด่นวันนี้
หมวดหมู่ : ข่าวประชาสัมพันธ์ หัวข้อเรื่อง : ดาวฤกษ์สีฟ้าจัดในแอนโดรเมด้า
พุธ ที่ 8 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2555
|
|
ดาวฤกษ์สีฟ้าจัดในแอนโดรเมด้า
rook :รายงาน
แหล่งที่มา:sciencedaily.com : rare ultra-blue stars found in neighboring galaxy’s hub เมื่อกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลสำรวจเจาะลึกเข้าไปที่ศูนย์กลางของกาแลคซีแอนโดรเมด้าเพื่อนบ้านก็ได้พบประชากรกลุ่มใหญ่ของดาวสว่างร้อนสีฟ้าที่หาได้ยาก
โดยปกติ สีฟ้าเป็นตัวบ่งชี้ถึงดาวอายุน้อยที่ร้อน อย่างไรก็ตาม ในกรณีนี้ ความประหลาดก็คือมันเป็นดาวฤกษ์คล้ายดวงอาทิตย์ซึ่งทิ้งมวลสารชั้นนอกๆ ของมันออกมา เปิดเผยให้เห็นแกนกลางร้อนสีฟ้าจัด นักดาราศาสตร์ต้องประหลาดใจเมื่อพวกเขาพบดาวเหล่านี้เนื่องจากแบบจำลองทางกายภาพแสดงว่ามีแต่เพียงดาวอายุมากชนิดที่ไม่ปกติเท่านั้นที่จะสามารถร้อนและสว่างในแสงอุลตราไวโอเลตได้
ขณะที่ฮับเบิลเคยพบดาวสีฟ้าจัดเหล่านี้ในแอนโดรเมด้ามาก่อน แต่การสำรวจใหม่ได้ครอบคลุมพื้นที่ที่กว้างกว่า เผยให้เห็นว่าดาวผิดแปลกเหล่านี้กระจัดกระจายอยู่ทั่วใจกลางของกาแลคซี นักดาราศาสตร์ใช้กล้องมุมกว้าง 3 ของฮับเบิลเพื่อหาดาวสีฟ้าจัดได้ประมาณ 8000 ดวงในช่วงอุลตราไวโอเลต ซึ่งตามรอยการเรืองสว่างของดาวที่ร้อนที่สุด การศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของการสำรวจ Panchromatic Hubble Andromeda Treasury เพื่อทำแผนที่ประชากรดวงดาวทั่วกาแลคซีแอนโดรเมด้า
Julienne Dalcanton จากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ในซีแอตเติล กล่าวว่า เราไม่ได้มองหาดาวเหล่านี้ พวกมันโผล่ขึ้นมาเนื่องจากพวกมันสว่างในช่วงยูวีและแตกต่างอย่างมากกับดาวที่เราคาดว่าจะพบเห็น
กล้องพบดาวภายในระยะทาง 2600 ปีแสงจากแกนกลาง หลังจากวิเคราะห์ดาวเหล่านี้เกือบหนึ่งปี ทีมของ Dalcanton ได้ตรวจสอบพบว่าพวกมันผ่านพ้นช่วงสูงสุดมาแล้ว ดาวกำลังมืดลงและมีอุณหภูมิพื้นผิวในช่วงกว้างแตกต่างจากดาวที่สว่างมากๆ ที่เราเห็นในพื้นที่ก่อตัวดาวฤกษ์ในแอนโดรเมด้า Phi Rosenfield จากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน กล่าว เมื่อดาวเหล่านี้พัฒนาไป จะพองตัวออกกลายเป็นดาวยักษ์แดง พวกมันจะผลักมวลสารชั้นนอกเกือบทั้งหมดเพื่อเผยให้เห็นแกนกลางร้อนสีฟ้า เมื่อดาวคล้ายดวงอาทิตย์พองตัวกลายเป็นดาวยักษ์แดง พวกมันจะสูญเสียมวลสารน้อยกว่าและไม่เคยสว่างไสวเช่นนี้ในช่วงอุลตราไวโอเลต
Leo Girardi สมาชิกทีมจากหอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์ สถาบันดาราศาสตร์ฟิสิกส์แห่งชาติในปาดัว กล่าวว่า เราพบดาวเหล่านี้เมื่อพวกมันยังสว่างที่สุด ก่อนที่จะกลายเป็นดาวแคระขาว เป็นไปได้ว่ามีดาวร้อนคล้ายๆ กันนี้อีกมากมายในส่วนกลางของแอนโดรเมด้าที่อยู่ในช่วงต้นกว่า แต่ดาวเหล่านี้ก็มืดเกินกว่าที่ฮับเบิลจะเห็นได้เนื่องจากพวกมันผสมรวมอยู่กับฝูงดาวฤกษ์ปกติ
นักดาราศาสตร์ได้เสนอลำดับเหตุการณ์ที่เป็นไปได้ 2 แบบเพื่ออธิบายว่าเพราะเหตุใดดาวสีฟ้าเหล่านี้จึงพัฒนาไปอย่างแตกต่าง Rosenfield บอกว่าเหตุการณ์ที่เป็นไปได้มากที่สุดก็คือดาวฤกษ์อุดมไปด้วยธาตุที่หนักกว่าไฮโดรเจนและฮีเลียม การสำรวจด้วยกล้องโทรทรรศน์ภาคพื้นดินได้แสดงว่าดาวฤกษ์ในส่วนกลางของกาแลคซีที่ปริมาณของธาตุหนักจำนวนมาก ซึ่งทำให้มันง่ายกว่าที่จะผลักมวลสารจำนวนมากออกสู่อวกาศในช่วงหลังของชีวิต
ในลำดับเหตุการณ์นี้ การแผ่รังสีจากดาวฤกษ์นั้นมีประสิทธิภาพในการผลักก๊าซที่อุดมด้วยธาตุหนักนี้มากกว่า ซึ่งจะผลักมวลสารออกไปเหมือนกับลมที่พัดใบเรือหนาๆ แม้ว่าดาวทั้งหมดในแกนกลางจะอุดมไปด้วยธาตุหนัก แต่ดาวสีฟ้าสว่างก็อาจจะมีปริมาณที่สูงเป็นพิเศษ ซึ่งช่วยทำให้เกิดการสูญเสียมวลได้ดีขึ้น การศึกษายังแสดงว่าจำนวนของดาวสีฟ้าลดลงตามระยะทางจากแกนกลาง ซึ่งเป็นไปตามการลดลงของปริมาณธาตุหนัก
คำอธิบายที่เป็นไปได้อีกแบบก็คือดาวสีฟ้าอยู่ในระบบคู่ที่ใกล้ชิดและได้สูญเสียมวลให้กับคู่ขาของมัน การสูญเสียมวลน่าจะเปิดเผยให้เห็นแกนร้อนของดาว นักดาราศาสตร์ต้องประหลาดใจที่พบว่าดาวสีฟ้าจัดนั้นกำลังกระจายตัวในกาแลคซีในแบบเดียวกับประชากรดาวคู่ที่มีมวลใกล้เคียงกันซึ่งพบในการสำรวจรังสีเอกซ์ด้วยหอสังเกตการณ์รังสีเอกซ์จันทรา ก้าวต่อไปของนักดาราศาสตร์ก็คือการสร้างแบบจำลองเสมือนจริงของดาวเหล่านี้เพื่อตรวจสอบว่าลำดับเหตุการณ์ใดที่จะนำมันไปสู่เส้นทางแห่งวิวัฒนาการที่แตกต่างไป
เข้าชม : 982
|
|
ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด
ศคส.ปันสุข สนุกกับการเรียนรู้ 13 / ธ.ค. / 2566
กรมส่งเสริมการเรียนรู้ 18 / พ.ค. / 2566
ยินดีต้อนรับ ผอ.พิชญณ์ภัทร ศรีประสิทธิ์ 27 / ต.ค. / 2565
วันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2565 7 / ม.ค. / 2565
แนะนำหนังสือน่าอ่าน 29 / ต.ค. / 2564
|