[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
  
 

เนื้อหา : สาระน่ารู้พัฒนาทักษะชีวิต
หมวดหมู่ : สาระน่ารู้
หัวข้อเรื่อง : วันโอโซนโลก

พุธ ที่ 14 เดือน กันยายน พ.ศ.2565


 

วันที่ 16 กันยายนของทุกปีเป็นวันโอโซนโลก (World Ozone Day) เกิดมาจากข้อตกลงของอนุสัญญาเวียนนาและพิธีสารว่าด้วยการใช้สารทำลายชั้นโอโซน ในปี 2528 และลงนามในพิธีสารมอลทรีออล ในปี 2530 โดยมุ่งสาระสำคัญไปที่ข้อตกลงระหว่างประเทศในการปกป้องชั้นบรรยากาศ และใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมร่วมกัน เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจและปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศสมาชิกภาคี ซึ่งประเทศไทยเราเองก็เป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกด้วยเช่นกัน

สาเหตุที่ต้องจัดตั้งสัญญานี้ขึ้น ต้องย้อนไปเมื่อปี 2525 นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบรูโหว่ขนาดใหญ่ในชั้นโอโซน เหนือทวีปแอนตาร์กติก แถบขั้วโลกใต้ ซึ่งเป็นผลมาจากสารคลอรีนใน CFC ที่ถูกกระแสลมพัดมาสะสมในเมฆชั้นสตราโตสเฟียร์ทำปฏิกิริยากันจนเกิดเป็นช่องโหว่ นานาชาติจึงเริ่มเล็งเห็นของปัญหาของการเกิดรูโหว่ครั้งนั้นอย่างจริงจังขึ้น โดยวิธีการเยียวยาช่องโหว่นั้นคือการลดสารที่ก่อให้เกิดมลพิษสะสมในชั้นบรรยากาศ โดยออกมาตรการดังนี้

  • เลิกใช้เรื่องใช้ไฟฟ้าที่มีสาร CFCs เช่น สารทำความเย็นในตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ หรือสารที่อยู่ในกระป๋องสเปรย์ เป็นต้น 
  • ประหยัดไฟฟ้า
  • ช่วยกันปลูกต้นไม้ เพิ่มออกซิเจนให้กับชั้นบรรยากาศ
  • ลดการใช้พลาสติกชนิดใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง
  • เน้นเดินทางด้วยพาหนะสาธารณะ เช่น รถไฟฟ้า, รถประจำทางและจักรยานมากขึ้น
  • ลดการปล่อยของเสียทั้งทางน้ำและทางอากาศ โดยเฉพาะควันเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมและยานยนต์

โอโซน หรือ O3 คือก๊าซที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ โดยจะอยู่ในชั้นที่สองของชั้นบรรยากาศโลก เป็นแหล่งเกิดปรากฎการณ์ฝ้าผ่า หรือแสงจากดวงอาทิตย์ เป็นต้น โอโซนเกิดจากออกซิเจน 3 อะตอม โมเลกุลเมื่อแตกตัวไปจากการกระตุ้นของรังสี UVC และจับตัวกับอะตอมออกซิเจนอิสระ จะกลายเป็นก๊าซโอโซนที่จะช่วงปกป้องมนุษย์จากรังสีอัลตร้าไวโอเลตบี (UV-B) ซึ่งหากมนุษย์รับรังสีนี้เข้าไปมากๆอาจก่อให้เกิดโรคมะเร็วผิวหนังในมนุษย์ได้ง่ายและสามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตได้ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ โอโซนจะช่วงป้องกันการรับแสงที่มากเกินไปของพืชและสัตว์อีกด้วย

เพื่อกระตุ้นการตื่นตัวของภัยอันตรายนี้ Modernist ขอชวนไปติดตามสถานการณ์สภาวะโลกร้อนแบบเรียลไทม์ด้วย Carbon Clock ที่จัดทำโดยเว็บไซต์ Bloomberg Green ได้แสดงผลแบบเรียลไทม์ถึงค่าคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศบนโลกที่สูงขึ้นจนน่าเป็นห่วง โดยมีการเก็บข้อมูลแบบเรียลไทม์ มาตั้งแต่ปี ค.ศ.1950 ก็นับว่าใช้เวลาเก็บข้อมูลมา 71 ปีแล้ว ซึ่งจะแสดงค่าคาร์บอนรายเดือนโดยรวม ด้วยข้อมูลที่อ้างอิงมาจาก NOAA หรือ องค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ (Nation Oceanic and Atmospheric Administration) จากสหรัฐอเมริกาที่มีการเฝ้าจับตามองสภาวะการแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศมาสักพักใหญ่แล้ว

โดยปริมาณค่าคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากกิจกรรมมนุษย์นี้ ถูกวัดค่าด้วยปัจจัยที่หลากหลาย เช่น การเผาเชื้อเพลิงฟอสซิลและการเผาป่า ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดค่าก๊าซคาร์บอนที่สูงที่สุด แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมดที่คาร์บอนเอ้อละเหยในชั้นบรรยากาศนั้นจะเกิดขึ้นจากน้ำมือมนุษย์เพียงอย่างเดียว ส่วนหนึ่งมาจากการดูดซับของมหาสมุทรและถูกปล่อยออกมา และส่วนอื่นๆเกิดจากการปล่อยก๊าซของพืช 

ซึ่งแน่นอนว่าในขณะนี้ระดับค่าคาร์บอนที่ล่องลอยอยู่ในชั้นบรรยากาศได้แสดงผลแตะเกิน 400 ppm (ppm คือหน่วย Part per million หรือหนึ่งส่วนในล้านส่วน) ซึ่งเป็นปริมาณที่เยอะมากๆ เยอะเสียกว่ายุคอุตสาหกรรมที่คาดว่าทีการปล่อยเยอะที่สุดเสียอีก หลักฐานทางธรณีวิทยากล่าวว่า ระดับของคาร์บอนไดออกไซด์คงอยู่ที่ระดับนี้เทียบเท่ากับเมื่อประมาณ 3 ล้านปีก่อน ซึ่งเป็นยุคที่มีอุณหภูมิสูงขึ้น 2-3 องศาเซลเซียส เหมือนกับว่าอุณหภูมิของโลกเริ่มกลับไปร้อนเทียบเท่ากับยุคหินแล้วด้วยซ้ำ

นอกจากนี้นักวิทยาศาสตร์ยังคาดการณ์ว่าหากโลกเรายังไม่ลดก๊าซคาร์บอนในเร็ววันและยังคงเพิ่มระดับสูงไปเรื่อยๆเช่นนี้ โลกจะเข้าสู่ช่วงที่ร้อนสุดเท่าที่เคยเจอมา โดยในปี 2100 จะมีอุณหภูมิสูงขึ้น 3 องศาเซลเซียสซึ่งมากกว่าก่อนยุคอุตสาหกรรมซะอีก 

ระดับคาร์บอนไดออกไซด์จะเพิ่มขึ้นในรอบปีอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งมันมักจะเพิ่มขึ้นช่วงฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาวในซีกโลกเหนือ ในที่ซึ่งมีต้นไม้และพรรณพืชอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น และจะลดลงช่วงฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อน สิ่งมีชีวิตเหล่านี้จะลดการปล่อยก๊าซก็ต่อเมื่อถึงช่วงเวลาฤดูที่ต้องสังเคราะห์แสง แม้ว่าแนวโน้มการปล่อยก๊าซจะเพิ่งสูงขึ้นเรื่อยๆก็ตาม

เว็บไซต์ Bloomberg Green ยังมีการแสดงผลเรียลไทม์ที่ไม่ได้มีแค่ผลค่าคาร์บอนเท่านั้น มีการเผยแพร่ข้อมูลเรียลไทม์ของ การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งมีการแยกปริมาณก๊าซจากชนิดการปล่อยอย่างชัดเจน เช่นก ก๊าซที่ปล่อยจากอุตสาหกรรมปศุสัตว์และอุตสาหกรรมเกษตร ซึ่งเป็นปัจจัยรองลงมาจากการปล่อนก๊าซคาร์บอนจากการเผลาเชื้อเพลิงที่กล่าวถึงไปแล้วในข้างต้น ต่อมาก็มลพิษการปล่อยควันเสียบนท้องถนนและโรงงานอุตสาหกรรม และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆเป็นต้น รวมไปถึงมีข้อมูลเรียลไทม์ของอุณหภูมิโลกที่เริ่มร้อนขึ้นและคาดการณ์ว่าจะร้อนได้อีกหากยังไม่มีมาตรการเร่งด่วนในการลดก๊าซมลพิษที่ก่อให้เกิดความร้อนเหล่านี้

ทุกวันนี้เราจะเห็นหรือได้ยินข่าวด้านสิ่งแวดล้อมเชิงปัญหาเยอะมากขึ้น รวมไปถึงการแปรปรวนของสภาพอากาศและภัยพิบัติทางธรรมชาติมากมายที่ประเดประดังขึ้นเยอะมากในปีนี้ และเมื่อไม่นานมานี้ IPCC ได้ออกมารายงานความร้ายแรงของสภาพภูมิอากาศของโลกจึงต้องประกาศสัญญาณเตือน Red Code ซึ่งสามารถอ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่ ‘รหัสแดง’ IPCC รายงานวิกฤตการณ์โลกร้อนที่เกินมือมนุษย์จะแก้ไขแล้ว ทั้งนี้คงต้องจับตาดูท่าทีการประชุมของเหล่าผู้นำทั่วโลกและมาตรการที่จะขับเคลื่อนสภาวะร้ายแรงเหล่านี้ให้ทุเลาลง ว่าผลการประชุมจะมีมติและท่าทีอย่างไรต่อการกู้โลกใบนี้
*****************************************************************
ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.modernist.life
รวบรวมและเรียบเรียงโดย กานต์นภัส แสนยศ บรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชนอำเภอดอยสะเก็ด



เข้าชม : 306


สาระน่ารู้ 5 อันดับล่าสุด

      ส้าผัก 25 / เม.ย. / 2566
      พรบ.กรมส่งเสริมการเรียนรู้ 5 / เม.ย. / 2566
      วันท่องเที่ยวโลก 25 / ก.ย. / 2565
      เทศกาลกินเจ 2565 25 / ก.ย. / 2565
      24 กันยายน วันมหิดล 25 / ก.ย. / 2565


 
ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอดอยสะเก็ด  จังหวัดเชียงใหม่ โทรศัพท์ 053-496147
  ห้องสมุดประชาชนอำเภอดอยสะเก็ด 555 หมู่ที่ 3 ถนนบ่อสร้าง-เชียงใหม่ อำเเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ โทรศัพท์ 053-495500
Doisaketlibrary@gmail.com
libdoisaket@cmi.nfe.go.th
บาคาร่า Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05HD  Update by   นายบุญมา มาดี