เนื้อหา : สาระน่ารู้การพัฒนาอาชีพ
หมวดหมู่ : สมุนไพรน่ารู้
หัวข้อเรื่อง : ชะพลู

อาทิตย์ ที่ 10 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2566

คะแนน vote : 37  

 

ชะพลู

ชื่อสมุนไพร ชะพลู (ช้าพลู)
ชื่ออื่นๆ ผักปูนก (ลำปาง), ช้าพลู (ภาคกลาง) ชะพลูเถา เฌอภลู (สุรินทร์) ผักปูนา ผักปูลิง ผักปูริง ปูลิงนก ผักพลูนก ผักอีไร ผักอีเลิศ (ภาคอีสาน) พลูลิง (ภาคเหนือ) เย่เท้ย (แม่ฮ่องสอน) พลูนก ผักปูนก (พายัพ) พลูลิงนก (เชียงใหม่) นมวา (ใต้) ปู้,ปู๊ (ไทยใหญ่)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Piper samentosum Roxb.

ชื่อวงศ์
 PIPERACEAE

ประโยชน์และสรรพคุณชะพลู

  1. สามารถช่วยเจริญอาหาร
  2. ช่วยขับเสมหะ ทำเสมหะให้งวด
  3. ทำให้เลือดลมซ่าน
  4. แก้ธาตุพิการ
  5. รักษาโรคเบาหวาน
  6. ช่วยทำให้ระบบหมุนเวียนโลหิตดี 
  7. แก้ศอเสมหะ ทำให้เสมหะแห้ง
  8. ช่วยย่อยอาหาร
  9. ช่วยขับลมในลำไส้
  10. ช่วยขับเสมหะให้ตกทางทวารหนัก
  11. ช่วยบำรุงธาตุ
  12. แก้เบาเหลือง ขัดเบา ปวดเอ็น
  13. แก้ปวดท้องแน่นจุกเสียด แก้ไข้ดีซ่าน ดีกระตุก บำรุงน้ำดี
  14. รักษาโรคบิด
  15. ยับยั้งการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ ลดการบีบตัวของลำไส้เล็ก
  16. ช่วยในการขับเสมหะทางอุจจาระ
  17. ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน และช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน 

             ด้านการใช้เป็นอาหาร ใบชะพลูมีรสหวาน เย็น และกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์ จึงนิยมนำมาปรุงอาหารได้หลากหลายเมนู บทบาทของชะพลูในจานอาหารครัวเรือนพื้นบ้านมีมากมาย เริ่มตั้งแต่เป็นผักสดที่นิยมกินกับอาหารรสแซบทั้งหลาย เช่น ลาบ ก้อย น้ำตก เนื้อย่าง ปลาย่าง ตลอดจนน้ำพริกต่างๆ ช้าพลูเป็นเครื่องปรุงที่ขาดไม่ได้ในอาหารจานพื้นบ้านต่างๆ แกงแคของภาคเหนือซึ่งถึงกับเรียกใบชะพลูว่า”ใบผักแค” เลยทีเดียว หรือไม่ก็เป็นเพราะใช้ใบชะพลูเป็นเครื่องปรุงเฉพาะตัว จึงเรียกแกงนั้นว่าแกงแค เป็นไปได้อย่างเดียวกัน ส่วนภาคอีสารนิยมใส่ในแกงอ่อมต่างๆ แกงขนุนอ่อน แกงหัวปลี ภาคใต้ใช้แกงกะทิใบชะพลูกับหอยแครง ส่วนภาคกลางนิยมใส่แกงคั่วหอยขม นิยมนำมากินร่วมกับข้าวมันส้มตำ ชนิดที่เรียกว่าถ้าขาดใบชะพลู รสชาติของข้าวมันส้มตำก็อร่อยไปเลย รสชาติใบชะพลูขณะที่กัดและเคี้ยวกินจะมีกลิ่นหอมในปาก รสจัด เคี้ยวนานๆ จะได้รสเผ็ดอ่อนๆ ใบชะพลูขนาดกำลังอร่อยจะต้องเป็นใบที่ไม่อ่อนและไม่แก่จนเกินไป ใบจึงจะนุ่ม หอม และเผ็ดกำลังดี อย่างไรก็ตาม ใบชะพลูกินได้ทุกขนาดอายุของมัน แม้แก่มากก็กินได้ เพราะเส้นใยไม่ถึงกับเหนียวจนกัดไม่ขาด เพียงแต่ใบจะหยาบสักนิด และกลิ่นจะฉุดเล็กน้อย ในใบชะพลูมีสารบีตา-แคโรทีนสูงมาก ใบนำมารับประทานกับเมี่ยงคำ นำมาแกงใส่กะทิ ข้าวยำ ห่อหมก หรือเป็นผักจิ้มน้ำพริก ทางภาคใต้ใส่ในแกงกะทิหอยขม แกงคั่วปูในจังหวัดจันทบุรีใส่ในแกงป่าปลา 

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ วิธีใช้ชะพลูตามภูมิปัญญาไทย

• แก้เบาหวาน เอาต้นชะพลู ทั้ง 5 (เอาทั้งต้นตลอกถึงราก) มา 1 กำมือ พับเป็น 3 ทบใช้ ตอกไม้ไผ่มัดเป็น 3 เปราะ ใส่หม้อดินต้มกับน้ำ 3 ขัน เคี่ยวเหลือ 1 ขัน รับประทานครั้งละครึ่งแก้ว วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร ได้ผลชะงัดหรือจะเอาใบชะพลูทั้งต้นและใบ 9 ต้น ล้างน้ำให้สะอาด ใส่ในภาชนะพร้อมด้วยน้ำ 2 ถ้วยแก้ว ต้มเคี่ยวให้เหลือครึ่งถ้วยแก้ว รับประทานให้หมดก่อนอาหารเย็น โดยรับประทาน 15 วันต่อครั้ง เมื่อรับประทานไปได้ 2 ครั้ง ภายใน 30 วันแล้ว ลองไปพบแพทย์เพื่อให้แพทย์กรวดน้ำปัสสาวะ หากปกติให้หยุด ถ้ายังมีน้ำตาลในปัสสาวะให้ต้มรับประทานต่อ
• ยาแก้โรคถ่ายปัสสาวะบ่อยๆ เอาเปลือกหอยแครง 7 ฝา (เผาไฟให้เป็นขี้เถ้า) กับต้นชะพลูทั้ง 5 นำมาย่างไฟให้กรอบ ตำผสม กันให้ละเอียด ใช้ชงกับน้ำร้อน รับประทานต่างน้ำชามีสรรพคุณแก้โรคถ่ายปัสสาวะบ่อยๆได้ผลชะงัด 
• แก้ขัดเบา เอาต้นแจงทั้ง 5 หนัก 3 ตำลึง ช้าพลู หนัก 3 ตำลึง แก่น ไม้สัก 3 ตำลึง ตัวยาทั้ง3 นี้ ใส่หม้อดิน กับน้ำ 3 ส่วน ต้มเคี่ยว ให้เหลือ 1 ส่วน ใช้น้ำยารับประทาน เช้า-เย็น แก้ขัดเบาได้ผลชะงัก 
• เจริญอาหาร บำรุงธาตุ ขับเสมหะ นำใบชะพลูมาจิ้มน้ำพริก หรือกะปิหลน น้ำพริกปลาป่น หรือจะนำใบชะพลูมาทำเมี่ยงคำ ทานวันละ อย่างน้อย ๗ ใบ ทุกวัน จะทำให้ธาตุปกติ เจริญอาหาร ขับเสมหะได้ดี 
• แก้โรคเส้นเลือดในร่างกายแข็ง ซึ่งโรคดัง 18 กล่าวมีคนเป็นกันมาก เมื่อเป็นแล้วทำให้เลือดที่จะไปหล่อเลี้ยงหัวใจและสมองมีปัญหา ก่อให้ เกิดอาการเส้นโลหิตแตกหรือหัก เสียชีวิตได้ โดยเอา "ชะพลู" ทั้งต้นรวมราก จำนวน 3 ต้น ต้มกับน้ำ 1 ลิตร ตักดื่มครั้งละครึ่งแก้ว เช้าเย็น ดื่มจนตัวยาจืดแล้วเปลี่ยนยาใหม่ ดื่มให้ครบ 15 วัน จึงหยุด จากนั้นไปให้แพทย์ตรวจดู จะพบว่าอาการที่เป็นจะหายไป โดยไม่มีผลข้างเคียงใด ๆ 
• แก้ท้องอืดเฟ้อ ขับลม ใช้ราก 1 กำมือ ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 1/2 ถ้วยแก้ว รับประประทานครั้งละ 1/2 ถ้วยแก้ว
• แก้บิด ใช้รากครึ่งกำมือ ผล 2-3 หยิบมือ ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละ 1/4 ถ้วยแก้ว

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

ไม่ควรรับประทานใบชะพลูมากเกินไป เพราะจะทำให้เกิดอาการเวียนศรีษะ และทำให้มีการสะสมของสารออกซาเลท (Oxalate) ในร่างกายสูง ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดโรคนิ่วในไต เวลารับประทานควรปรุงร่วมกับอาหารประเภทเนื้อสัตว์ จะช่วยให้ย่อยง่ายขึ้นในการใช้รักษาโรคเบาหวานจะต้องคอยตรวจน้ำตาลในปัสสาวะก่อนและหลังดื่มน้ำทุกครั้ง เพราะยานี้ทำให้น้ำตาลลดลงเร็วมาก และในการต้มจะต้องเปลี่ยนต้นชะพลูใหม่ทุกวัน



เข้าชม : 284


สมุนไพรน่ารู้ 5 อันดับล่าสุด

      มะตูม 12 / ธ.ค. / 2566
      กระเจี๊ยบแดง 10 / ธ.ค. / 2566
      เก๊กฮวย 10 / ธ.ค. / 2566
      อัญชัน 10 / ธ.ค. / 2566
      มะขามป้อม 10 / ธ.ค. / 2566