เนื้อหา : สาระน่ารู้การพัฒนาอาชีพ
หมวดหมู่ : สมุนไพรน่ารู้
หัวข้อเรื่อง : บอระเพ็ด

อาทิตย์ ที่ 10 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2566

คะแนน vote : 35  

 


บอระเพ็ด

ชื่อสมุนไพร บอระเพ็ด
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น จุ้งจาลิง, จุ่งจิง, เครือเขาฮอ (ภาคเหนือ), เจตมูลหนาม (หนองคาย), หางหนู (อุบลราชธานี), เถาหัวด้วน, ตัวเจตมูลยาน (สระบุรี)
ชื่อสามัญ Heart leaved moonseed
ชื่อวิทยาศาสตร์  Tinospora crispa (L.) Miers ex Hook.f. & Thomson
ชื่อพ้อง Tinospora tuberculata Miers, Tinospora rumphii Boerl.
วงศ์ Menispermaceae

ประโยชน์และสรรพคุณบอระเพ็ด

  1. แก้ไข้ทุกชนิด
  2. แก้พิษฝีดาษ
  3. เป็นยาขมเจริญอาหาร
  4. ช่วยย่อยอาหาร
  5. บำรุงน้ำดี
  6. บำรุงไฟธาตุ
  7. แก้โรคกระเพาะอาหาร
  8. บำรุงร่างกาย
  9. แก้สะอึก
  10. แก้มาลาเรีย
  11. เป็นยาขับเหงื่อ
  12. ช่วยดับกระหาย
  13. แก้ร้อนในดีมาก ทำให้เนื้อเย็น
  14. แก้อหิวาตกโรค
  15. แก้ท้องเสีย
  16. แก้ไข้จับสั่น  
  17. แก้โลหิตพิการ
  18. เป็นยาพอกบาดแผล ทำให้เย็น
  19. บรรเทาอาการปวด
  20. ช่วยดับพิษปวดแสบปวดร้อน
  21. ช่วยพอกฝี
  22. แก้ฟกช้ำ
  23. แก้คัน
  24. แก้รำมะนาด
  25. แก้ปวดฟัน
  26. แก้เสมหะเป็นพิษ
  27. เป็นยาอายุวัฒนะ 

          น้ำสกัด หรือ น้ำต้มจากบอระเพ็ดสามารถใช้ฉีดพ่นกำจัด และป้องกันหนอนแมลงศัตรูพืช อาทิ หนอนใยผัก และเพลี้ยต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ส่วนลำต้น และใบของบอระเพ็ดสามารถใช้ผสมในอาหารสัตว์หรือให้สัตว์กินโดยตรง เพื่อให้สัตว์มีร่างกายแข็งแรง และรักษาโรคในสัตว์ ทั้งโค กระบือ สุกร ไก่ และอื่น ซึ่งชาวบ้านนิยมให้ไก่ชนกินในระยะก่อนออกชน นอกจากนี้ลำตัน และใบยังสามารถนำมาบด และใช้พอกศีรษะหรือสระผม สำหรับกำจัดเหาได้อีกด้วย 


รูปแบบและขนาดวิธีใช้

รักษาอาการไข้ ใช้เถาบอระเพ็ดที่ไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไป (เถาเพสลาก) ประมาณ  1- 1.5 ฟุต (2.5 คืบ) หรือเถา น้ำหนัก 30-40 กรัม โดยตำ เติมน้ำเล็กน้อย คั้นเอาน้ำดื่ม หรือ ต้มกับน้ำ 3 ส่วน เคี่ยวให้เหลือ 1 ส่วน หรือบดเป็นผง ทำให้เป็นลูกกลอนรับประทานวันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหาร เช้า เย็น

           รักษาอาการเบื่ออาหาร: ใช้เถาที่โตเต็มที่ ประมาณ 1- 1.5 ฟุต (2.5 คืบ) น้ำหนัก หรือเถา 30-40 กรัม โดยตำ เติมน้ำเล็กน้อย คั้นเอาน้ำ หรือต้มกับน้ำ 3 ส่วน เคี่ยวให้เหลือ 1 ส่วน หรือ บดเป็นผง ทำให้เป็นลูกกลอนรับประทานวันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหาร เช้า เย็น ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ ด้วยการใช้บอระเพ็ด / เมล็ดข่อย / หัวแห้วหมู / เมล็ดพริกไทย / เปลือกต้นทิ้งถ่อน / เปลือกต้นตะโกนา ในสัดส่วนเท่ากันนำมาบดเป็นผง ปั้นเป็นยาลูกกลอนเท่าปลายนิ้วก้อย รับประทานก่อนนอนครั้งละ 2-3 เม็ด หรือ จะนำเถาบอระเพ็ดมาหั่นตากแห้งแล้วนำมาบดให้เป็นผงปั้นเป็นลูกกลอนก็ได้  ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ด้วยการใช้เถาสดที่โตเต็มที่ตากแห้งแล้วบดเป็นผง นำมาชงน้ำร้อนดื่มครั้งละ 1 ช้อน เช้าและเย็นแก้โรคกระเพาะอาหารด้วยการใช้บอระเพ็ด 5 ส่วน / มะขามเปียก 7 ส่วน / เกลือ 3 ส่วน / น้ำผึ้งพอควร นำมาคลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วรับประทานก่อนอาหาร 3 เวลานำทุกส่วนของบอระเพ็ด (เถา,ใบ,ราก) มาบดแล้วใช้ประคบฝี เพื่อลดน้ำหนอง,ลดอาการปวดบวม หรือ แผล(สำหรับห้ามเลือด)

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง
  1. ส่วนที่นิยมนำเถาบอระเพ็ดมาใช้ทำเป็นยาจะคือส่วนของ “เถาเพสลาก” เพราะมีลักษณะไม่แก่หรืออ่อนเกินไปนัก และมีรสชาติขมจัด แต่ถ้าเป็นเถาแก่จะแตกแห้ง รสเฝื่อน ไม่ขม หรือถ้าอ่อนเกินไปก็จะมีรสไม่ขมมาก
  2. การศึกษาในอาสาสมัครสุขภาพดี 12 คนที่กินบอระเพ็ดในขนาด 1 กรัม วันละ 3 ครั้ง นาน 8 สัปดาห์ พบแนวโน้มระดับเอนไซม์ในตับเพิ่มขึ้นแสดงว่าน่าจะก่อให้เกิดพิษต่อตับ
  3. หากนำบอระเพ็ดมาใช้และพบอาการผิดปกติของการทำงานตับและไต ควรหยุดการใช้
  4. ห้ามใช้ในผู้ที่มีภาวะเอนไซม์ตับบกพร่อง หรือผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคตับหรือโรคไต
  5. สมุนไพรบอระเพ็ดสำหรับการรับประทานในส่วนของรากอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานอาจมีผลต่อหัวใจ เนื่องจากเป็นยารสขม สิ่งที่ต้องระวังก็คือไม่ควรใช้ติดกันต่อเนื่องเกิน 1 เดือน ถ้าหากจำเป็นต้องใช้ในเดือนถัดไปก็ควรเว้นระยะเวลา 1-2 สัปดาห์เป็นอย่างน้อยเพื่อให้ร่างกายสามารถปรับสภาพได้ก่อน ถ้าใช้ไปแล้วมีอาการมือเท้าเย็น แขนขาหมดเรี่ยวแรงก็ควรหยุดรับประทาน




เข้าชม : 364


สมุนไพรน่ารู้ 5 อันดับล่าสุด

      มะตูม 12 / ธ.ค. / 2566
      กระเจี๊ยบแดง 10 / ธ.ค. / 2566
      เก๊กฮวย 10 / ธ.ค. / 2566
      อัญชัน 10 / ธ.ค. / 2566
      มะขามป้อม 10 / ธ.ค. / 2566