บัวบก
ชื่อสมุนไพร บัวบก
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น ใบบัวบก (ภาคกลาง) ผักหนอก จำปาเครือ (ภาคเหนือ) ปะหะ เอขาเด๊าะ (กะเหรี่ยง) แว่นโคก (อีสาน) ผักแว่น (ภาคใต้) เดียกำเช่า ฮมคัก (จีน)
ชื่อสามัญ Asiatic pennywort, Gotu kola , Indian pennywort , Woter pennywort
ชื่อวิทยาศาสตร์ Centella asiatica (Linn.) Urban.
วงศ์ UMBELLIFERAE (APIACEAE)
ประโยชน์และสรรพคุณบัวบก
- ช่วยรักษาสิว ทำให้ผิวหน้าขาวกระจ่างใส ผิวหน้าเต่งตึงได้
- แก้ไข้
- แก้ร้อนใน แก้ช้ำใน
- ใช้เป็นยาภายนอกรักษาแผล ทำให้แผลหายเร็ว
- เป็นยาบำรุงและยาอายุวัฒนะ
- ช่วยเสริมสร้างความจำ
- บรรเทาอาการปวดศีรษะแก้อาการมึนศีรษะ
- ช่วยบำรุงหัวใจ
- บำรุงกำลังบรรเทาอาการปวดตามข้อ
- แก้อาการท้องผูก
- กระตุ้นระบบขับถ่าย
- แก้อาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย
- แก้โรคซาง แก้โรคดีซ่านในเด็ก
- ช่วยบำรุงตับ และไต
- แก้โรคตับอักเสบ
- ช่วยบำรุงสายตา แก้ตาพร่ามัว
- เป็นยาขับโลหิตเสียแก้กระหายน้ำ
- บรรเทาอาการไอ อาการเจ็บคอแก้อาการเจ็บคอ
- รักษาโรคหลอดลมอักเสบรักษาอาการหืดหอบ
- แก้โรคลมชัก
- ช่วยบรรเทาอาการปวดฟัน
- รักษาโรคปากเปื่อย
- ช่วยขับปัสสาวะแก้โรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ
- ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร
- ช่วยขับระดู กระตุ้นประจำเดือนให้มาปกติ
- รักษาฝี ช่วยให้ฝียุบ
- ช่วยเสริมสร้างและกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและอีลาสติน
- ช่วยต่อต้านการเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆในร่างกาย
- ช่วยบำรุงประสาทและสมองเหมือนใบแปะก๊วย
- ช่วยเสริมการทำงานของกาบา (GABA)
- ช่วยผ่อนคลายและทำให้หลับง่ายขึ้น
- ช่วยกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อใหม่
- ช่วยชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง
รูปแบบและขนาดวิธีใช้บัวบก
แก้ไข้ แก้ร้อนใน ช้ำใน ชนิดแคปซูล (รพ.), ชนิดชง(รพ.) ชนิดชง รับประทานครั้งละ 2 – 4 กรัม ชงน้ำร้อนประมาณ 120 – 200 มิลลิลิตร วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร ชนิดแคปซูล รับประทานครั้งละ 400 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร ใช้บัวบกรักษาแมลงกัดต่อย และรักษาแผล ตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข ให้ใช้ใบขยี้ทาแก้แมลงกัดต่อย หรือใช้ส่วนใบสด พอกที่แผลสด วันละ 2 ครั้ง ยาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ ครีมใบบัวบก ทำความสะอาดแผลด้วยยาฆ่าเชื้อก่อนทาครีมที่มีสารสกัดจากบัวบกสดร้อยละ 7 โดยน้ำหนัก ทาบริเวณที่เป็นแผลวันละ 1 – 3 ครั้ง หรือตามแพทย์สั่ง หากใช้แล้วไม่ดีขึ้นภายใน 2 สัปดาห์ ให้หยุดใช้ ควรเก็บครีมใบบัวบกในที่เย็น อุณหภูมิไม่เกิน 25 องศาเซลเซียส แก้อาการปัสสาวะติดขัด ด้วยการใช้ใบบัวบกประมาณ 50 กรัม นำมาตำแล้วพอกบริเวณสะดือ เมื่อถ่ายปัสสาวะคล่องดีแล้วค่อยเอาออก ใช้เป็นยาห้ามเลือด ใส่แผลสด ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 20 ใบนำมาล้างให้สะอาด ตำพอกแผลสด แก้อาการฟกช้ำ ด้วยการใช้ใบบัวบกมาทุบให้แหลกแล้วนำมาโปะบริเวณที่ฟกช้ำ หรือจะใช้ใบบัวบกประมาณ 40 กรัม ต้มกับเหล้าแดงประมาณ 250 cc. ประมาณ 1 ชั่วโมงแล้วนำมาดื่ม
วิธีทำน้ำใบบัวบก
- นำใบบัวบกทั้งต้นมาล้างน้ำให้สะอาด
- หั่นต้น และใบบัวบกเป็นท่อนๆ ราว 2-3 ท่อน
- นำใบบัวบกมาปั่นรวมกับน้ำเปล่า โดยใส่น้ำเปล่าลงไปให้ท่วมใบบัวบก
- กรองเอาแต่น้ำมาดื่ม อาจปรุงรสด้วยน้ำผึ้งได้เล็กน้อยเพื่อลดความขม
- ดื่มครั้งละ 120-200 มิลลิลิตร วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร อาจดื่มน้ำกว่านี้ได้
- ข้อแนะนำและข้อควรระวัง
- บัวบกไม่เหมาะกับคนที่มีภาวะเย็นพร่อง หรือขี้หนาว ท้องอืดบ่อย ๆ
- ไม่แนะนำให้ใช้ยาที่มีส่วนประกอบของบัวบกในผู้ที่สงสัยว่าเป็นไข้เลือดออกเนื่องจากอาจบดบังอาการของไข้เลือดออกได้
- ควรระวังการใช้ใบบัวบกร่วมกับยาที่มีผลต่อตับ ยาขับปัสสาวะ และยาที่มีผลข้างเคียงทำให้ ง่วงนอน เพราะอาจเสริมฤทธิ์กันได้
- ควรระวังการใช้ร่วมกับยาที่มีกระบวนการเมแทบอลิซึมผ่าน Cytochrome P450 (CYP 450) เนื่องจากบัวบกมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ CYP 2C9 และ CYP 2C19
- ในการทำเป็นสมุนไพรไม่ควรนำใบบักบกไปตากแดดเพื่อทำให้แห้ง เพราะจะทำให้สูญเสียตัวยาสมุนไพรซึ่งอยู่ในน้ำมันหอมระเหยได้ โดยให้ผึ่งลมตากไว้ในที่ร่มอากาศถ่ายเทสะดวก เมื่อแห้งแล้ว ให้นำมาใส่ขวดปิดฝาให้สนิทป้องกันความชื้น
- การรับประทานบัวบกในปริมาณที่มากเกินไป จะทำให้ธาตุในร่างกายเสียสมดุลได้ เพราะเป็นยาเย็นจัด แต่ถ้ารับประทานในขนาดที่พอดีแล้วจะไม่มีโทษต่อร่างกายและได้ประโยชน์สูงสุด
-
แหล่งอ้างอิง : เว็บไซต์ https://www.disthai.com/16913509 และ https://www.sanook.com/health
ภาพประกอบ : www.flickr.com (by FotoosVanRobin, besitai, camillenoir, G''''s Garden, Ahmad Fuad Morad)
เข้าชม : 156
|