ใบเตย
ชื่อสมุนไพร เตย
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น ใบเตย , เตยหอม , ต้นเตย , เตยหอมใหญ่ , เตยหอมเล็ก (ภาคกลาง) , หวานข้าวใหม่ (ภาคเหนือ) , ปาแนะวอวิง , ปาแง๊ะออริง (นราธิวาส,มาเลเซีย) ,พังลั้ง (จีน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pandanus amaryllifolius Roxb.
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Pandanus ordorus Ridl.
ชื่อสามัญ Pandanus Palm , Fragrant Pandan , Pandom wangi.
วงศ์ Pandanaceae
ถิ่นกำเนิดเตย
เตยเป็นพืชที่คนไทยรู้จักกันเป็นอย่างดีมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว เพราะได้นำมาใช้ประโยชน์ต่างๆมากมาย โดยเฉพาะส่วนของใบที่เราเรียกว่า ใบเตย จึงทำให้เรียกพืชชนิดนี้ติดปากกันมาจนถึงปัจจุบันว่า “ใบเตย” สำหรับถิ่นกำเนิดของเตยนั้น เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อาทิ ไทย พม่า ลาว มาเลเซีย และประเทศอินเดีย รวมถึงทวีปอื่น เช่น แอฟริกา และออสเตรเลีย ชอบขึ้นตามพื้นที่ชุ่ม ริมลำน้ำหรือบริเวณที่ชื้นแฉะที่มีน้ำขังเล็กน้อย ในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ
ประโยชน์และสรรพคุณเตย
- ช่วยบำรุงหัวใจ
- ช่วยลดน้ำตาลในเลือด
- ช่วยลดความดันโลหิต
- ใช้รักษาโรคหัด
- รักษาเลือดออกตามไรฟัน
- แก้หวัด
- รักษาอาการตับอักเสบ
- ช่วยดับพิษไข้
- แก้โรคหัด
- แก้ท้องอืด
- แก้กระหายน้ำ
- แก้ร้อนใน
- ช่วยขับปัสสาวะ
- รักษาเบาหวาน
- ใช้รักษาโรคตับ ไตอักเสบ
- รักษาโรคหืด
- แก้หนองใน
- แก้พิษโลหิต
- แก้ตานซางในเด็ก
- ช่วยละลายก้อนนิ่วในไต
ใบเตยนำมาห่อทำขนมหวาน เช่น ขนมตะโก้ ใบนำมามัดรวมกัน ใช้สำหรับวางในห้องน้ำ ห้องรับแขกเพื่อให้อากาศมีกลิ่นหอม ช่วยในการดับกลิ่นหรือใช้ใบเตยสดนำมายัดหมอน ช่วยให้มีกลิ่นหอม นำมาใช้เป็นสารแต่งกลิ่นบุหรี่ นำมาสับเป็นชิ้นเล็กๆ นำไปตากแดดให้แห้ง ก่อนใช้ชงเป็นชาดื่ม น้ำมันหอมระเหยจากเตยนำไปเป็นส่วนผสมของน้ำยาปรับอากาศ ใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอาง ครีมทาผิว แชมพู สบู่ หรือ ครีมนวด เป็นต้น
รูปแบบและขนาดวิธีใช้
- ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ ใช้ใบสดผสมในอาหาร แล้วรับประทาน หรือนำใบสดมาคั้นน้ำรับประทาน ครั้งละ 2-4 ช้อนแกง
- ช่วยดับกระหาย นำใบเตยสดมาล้างให้สะอาด นำมาตำหรือปั่นให้ละเอียด แล้วเติมน้ำเล็กน้อย คั้นเอาแต่น้ำดื่ม
- รักษาโรคหัดหรือโรคผิวหนัง โดยนำใบเตยมาตำแล้วมาพอกบนผิว
- ใช้รักษาโรคเบาหวาน ใช้ราก 1 กำมือนำไปต้มเป็นน้ำดื่ม ทุกเช้า-เย็น
- ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ โดยการนำต้นเตยหอม 1 ต้น หรือราก ครึ่งกำมือไปต้มกับน้ำดื่มหรือใช้ใบมาหั่นตากแดดให้แห้งแล้วชงดื่มแบบชาเขียวก็ได้
- ใช้บำรุงผิวหน้า โดยการใช้ใบเตยล้างให้สะอาด หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ นำมาปั่นรวมกับน้ำสะอาดจนละเอียด จะได้ครีมข้นเหนียวแล้วนำมาพอกหน้าทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที
ข้อแนะนำและข้อความระวัง
- ถึงแม้ว่าเตยจะเป็นพืชจากธรรมชาติ แต่ก็ควรบริโภคในปริมาณที่เหมาะสมและไม่บริโภคเป็นระยะเวลานานจนเกินไป
- ผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือสตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตรควรปรึกษาแพทย์และผู้เชี่ยวชาญก่อนบริโภคหรือใช้ผลิตภัณฑ์ใดๆจากเตย เพราะสารเคมีในเตยอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้
- ในขั้นตอนการเตรียมการใช้ใบเตยด้วยตนเองควรล้างทำความสะอาดใบเตยอย่างดีอย่าให้มีสิ่งแปลกปลอมปนไป เพราะอาจเกิดอันตรายต่อสุขภาพได้
แหล่งอ้างอิง : เว็บไซต์ https://www.disthai.com/17040525
เข้าชม : 557
|