เนื้อหา : สาระน่ารู้การพัฒนาอาชีพ
หมวดหมู่ : สมุนไพรน่ารู้
หัวข้อเรื่อง : มะขามป้อม

อาทิตย์ ที่ 10 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2566

คะแนน vote : 35  

 


มะขามป้อม

ชื่อสมุนไพร มะขามป้อม
ชื่ออื่นๆ/ชื่อพื้นเมือง กันโตด (เขมร), กำทวด (ราชบุรี), มิ่งลู่, สันยาส่า (กะเหรี่ยมแม่ฮ่องสอน), อะมะลา (ฮินดู, เปอร์เซีย)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Phyllanthus emblica Linn.
ชื่อสามัญ Emblic myrabolan, Malacca tree, Indian gooseberry.
ชื่อวงศ์ Euphorbiaceae

ประโยชน์และสรรพคุณมะขามป้อม

  1. ใช้เป็นน้ำยาบ้วนปาก แก้ปวดฟัน
  2. แก้ปวดท้องน้อย กระเพาะอาหาร
  3. แก้ปวดเมื่อยกระดูก
  4. แก้ไอ ละลายเสมหะ
  5. แก้ตานซางในเด็ก
  6. แก้กระหายน้ำได้เป็นอย่างดี
  7. ช่วยขับปัสสาวะ
  8. เป็นยาระบาย
  9. รักษาคอตีบ
  10. รักษาเลือดออกตามไรฟัน
  11. เป็นยาถ่ายพยาธิ
  12. แก้ท้องเสีย
  13. รักษาโรคหนองใน
  14. บำรุงธาตุ
  15. รักษาโรคบิด
  16. ใช้ล้างตา แก้ตาแดง เยื่อบุตาอักเสบ
  17. แก้ตกเลือด ใช้เป็นยาล้างตา
  18. รักษาโรคดีซ่าน 
  19. ทาแก้ตุ่มคัน หืด
  20. รักษาโรคเบาหวาน
  21. รักษาโรคหอบหืด หลอดลมอักเสบ
  22. แก้คลื่นไส้ อาเจียน
  23. ต้านอนุมูลอิสระและยังยั้งการสร้างเมลานินได้
  24. บำรุงผิวขาว และช่วยชะลอความแก่

           มะขามป้อม 1 ลูกนั้นให้วิตามินซีสูงกว่าวิตามินซีสังเคราะห์ถึง 12 เท่า และมากกว่านี้ส้มคั้นสด ถึง 20 เท่าเลยทีเดียว

รูปแบบและขนาดวิธีใช้

           • ประโยชน์มะขามป้อม แก้ไอ ช่วยกระตุ้นให้น้ำลายออก ช่วยละลายเสมหะ มีวิธีใช้ดังนี้
           • ใช้เนื้อผงสด ครั้งละ 2-5 ผล โขลกพอแหลก แทรกเกลือเล็กน้อย อม หรือ เดี่ยว วันละ 3-4 ครั้ง
           • ผลมะขามป้อมสดฝนกับน้ำแทรกเกลือจิบบ่อยๆ หรือ ใช้ผลมะขามป้อมสดจิ้มเกลือรับประทาน
           • ผลสดตำคั้นเอาน้ำดื่ม หรือผลแห้ง 6-12 กรัม (ผลสด 10-30 ผล) คั้นน้ำดื่มหรือเคี้ยวอมบ่อยๆ
           • อาการเป็นหวัด ไอ เจ็บคอ ปากคอแห้ง ใช้ผลสด 15-30 ผล คั้นเอาน้ำ มาจากผล หรือ ต้มทั้งผลแล้วดื่ม แทนน้ำเป็นครั้งคราว
           • บำรุงร่างกายให้แข็งแรง มะขามป้อมมีรสเปรี้ยว ฝาด ขม เช่นเดียวกับสมอไทย จึงสามารถ แก้โรคต่างๆ ได้มาก เช่นเดียวกับสมอไทย ดื่มน้ำมะขามป้อมคั้นสด 1 ช้อนโต๊ะ (15 ซีซี) กับน้ำมะระขี้นกคั้นสด 1 ถ้วย ทุกวันเป็นเวลาสองเดือนสามารถกระตุ้นให้ตับอ่อนหลั่นอินซูลินและลดระดับน้ำตาลในเลือด
           • ท้องผูก นำมะขามป้อมมาผ่าแคะเม็ดออก (กินแต่เนื้อ) ประมาณ 10 ลูก ใส่พริก เกลือ น้ำตาล ตำพอแหลก กินต่างผลไม้ แต่ควรกินก่อนนอน หรือตอนตื่นนอนใหม่ๆ ในขณะที่ท้องว่าง
           • รับประทานมะขามป้อมเป็นยาแก้ไอผสมมะขามป้อม

           สูตรตำรับที่ 1 ในยา 100 มิลลิลิตร ประกอบด้วย สารสกัดน้ำมะขามป้อมเข้มข้น (ความเข้มขัน 40 เปอร์เซ็นต์) 60 มิลลิลิตร สารสกัดใบเสนียด (ความเข้มข้น 10 เปอร์เซ็นต์) 10 มิลลิลิตร กลีเชอรีน 5 มิลลิลิตร สารสกัดรกชะเอมเทศ 0.45 มิลลิลิตร เกลือแกง 0.5 กรัม เกล็ดสะระแหน่ 0.01 มิลลิกรัม

           สูตรตำรับที่ 2 ในยา 100 มิลลิลิตร ประกอบด้วย สารสกัดน้ำมะขามป้อมเข้มข้น (ความเข้มข้น 25 เปอร์เซ็นต์) 30 มิลลิลิตร มะนาวดอกแห้ง 8 กรัม สารสกัดรากชะเอมเทศ 5 มิลลิลิตร ผิวส้มจีน 3.3 มิลลิกรัม บ๊วย 3 มิลลิกรัม เนื้อลูกสมอพิเภก 3 กรัม เนื้อลูกสมอไทย 1 มิลลิกรัม หล่อฮังก๊วย 2 มิลลิกรัม เกล็ดสะระแหน่ 0.08 มิลลิกรัม น้ำตาลทรายแดง 40 มิลลิกรัม

ข้อแนะนำ ข้อควรระวัง

การใช้มะขามป้อม จัดเป็นยารสเปรี้ยว ฝาด เย็น ผู้ที่หนาวเย็นง่าย ไม่ควรกินมะขามป้อมมาก ต่อเนื่อง เกินจำเป็น ผู้ที่มีปัญหาเลือดจาง ใส เหลวกว่าปกติ ก็ไม่ควรทานมากทานประจำ ผู้ที่แน่นท้องแบบไฟธาตุน้อย ก็ระวังปริมาณในการทาน หรือ ให้ปรับธาตุอาหารสมุนไพรที่ทาน ให้มีความอุ่นร้อนเพิ่มขึ้น สำหรับยาน้ำแก้ไอสูตรผสมผงมะขามป้อม ผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ผู้ป่วยที่ท้องเสียง่าย เนื่องจากมะขามป้อมมีฤทธิ์เป็นยาระบาย

แหล่งอ้างอิง : เว็บไซต์ https://www.disthai.com/16488243



เข้าชม : 209


สมุนไพรน่ารู้ 5 อันดับล่าสุด

      มะตูม 12 / ธ.ค. / 2566
      กระเจี๊ยบแดง 10 / ธ.ค. / 2566
      เก๊กฮวย 10 / ธ.ค. / 2566
      อัญชัน 10 / ธ.ค. / 2566
      มะขามป้อม 10 / ธ.ค. / 2566