เนื้อหา : สาระน่ารู้การพัฒนาอาชีพ
หมวดหมู่ : สมุนไพรน่ารู้
หัวข้อเรื่อง : กระเจี๊ยบแดง

อาทิตย์ ที่ 10 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2566

คะแนน vote : 35  

 


กระเจี๊ยบแดง 

ชื่อสมุนไพร กระเจี๊ยบแดง
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น  กระเจี๊ยบเปรี้ยว (ภาคกลาง) กระเจี๊ยบ ส้มพอเหมาะ ส้มเก็ง (ภาคเหนือ)  ส้มพอดี (อีสาน) ส้มปู (แม่ฮ่องสอน) แบบมีฉี่ แต่เพะฉ่าเหมาะ (กะเหรี่ยง) ปร่างจำบู้ (ปะหล่อง)
ชื่อสามัญ Rosella , Jamaica Sorrel, Red Sorrel ,Roselle 
ชื่อวิทยาศาสตร์  Hibiscus sabdariffa Linn
วงศ์ Malvaceae

 


ถิ่นกำเนิดกระเจี๊ยบแดง
 

กระเจี๊ยบแดง มีถิ่นกำเนิดในประเทศซูดาน รวมถึงประเทศใกล้เคียงในแถบทวีปแอฟริกาแล้วมีการกระจายพันธุ์ไปยังทั่วโลก เช่น อินเดีย มาเลเซีย และประเทศไทย โดยในประเทศไทยนั้นพบบันทึกการปลูกในไทยครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2510 โดยกรมประชาสงเคราะห์ได้นำกระเจี๊ยบแดงพันธุ์ซูดานเข้ามาปลูกที่นิคมสร้างตัวเอง อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี แล้วจึงมีการขยายพื้นที่ปลูกไปยังภาคต่างๆทั่วประเทศ ในปัจจุบันมีแหล่งเพาะปลูกกระเจี๊ยบแดงที่สำคัญ ได้แก่ จังหวัดลพบุรี สระบุรี อุตรดิตถ์ กาญจนบุรี และฉะเชิงเทรา 


ประโยชน์และสรรพคุณกระเจี๊ยบแดง
 

  1. แก้อาการขัดเบา
  2. แก้เสมหะ
  3. ช่วยขับน้ำดี
  4. ช่วยลดไข้
  5. แก้ร้อนใน
  6. แก้ไอ
  7. ขับนิ่วในไต นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
  8. แก้อ่อนเพลีย
  9. บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง บำรุงโลหิต
  10. แก้กระหายน้ำ
  11. รักษาไตพิการ
  12. ขับเมือกมันให้ลงสู่รูทวารหนัก ละลายไขมันในเลือด
  13. เป็นยาระบาย
  14. แก้ไตพิการ
  15. ลดอาการบวม
  16. แก้เลือดออกตามไรฟัน 
  17. เป็นยาฆ่าพยาธิตัวจี๊ด 
  18. รักษาแผลอักเสบ แผลติดเชื้อ
  19. แก้โรคเบาหวาน
  20. ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร
  21. ช่วยป้องกันโรคต่อมลูกหมากโต
  22. ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
  23. ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง


รูปแบบและขนาดวิธีใช้

ใช้ขับปัสสาวะ ให้ใช้กลีบกระเจี๊ยบแดงแห้ง บดเป็นผง 3 กรัม (หรือ 1 ช้อนชา) ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วยแก้ว ดื่มวันละ 3 ครั้ง นาน 7 วัน ถึง 1 ปี หรือจนกว่าอาการจะหาย  รักษาโรคกระเพาะและลำไส้อักเสบ ด้วยการใช้ผลแห้งนำมาบดเป็นผง ใช้รับประทานครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะแล้วดื่มน้ำตาม วันละ 3-4 ครั้ง  ช่วยแก้โรคพยาธิตัวจี๊ด หรือจะใช้ผลอ่อนนำมาต้มรับประทานติดต่อกัน 5-8 วัน  หรือจะใช้ทั้งต้นใส่หม้อต้มกับน้ำ 3 ส่วน เคี่ยวไฟจนงวดให้เหลือ 1 ส่วน แล้วผสมกับน้ำผึ้งกึ่งหนึ่ง ใช้รับประทานวันละ 3 เวลา หรือจะรับประทานน้ำยาเปล่า ๆ ก็ได้จนหมดน้ำยา  แก้อาการขัดเบา โดยใช้กลีบเลี้ยงของผลหรือกลีบรองดอกสีม่วงแดง นำมาตากแห้งแล้วบดให้เป็นผง นำมาใช้ครั้งละ 1 ช้อนชา (ประมาณ 3 กรัม) ใช้ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย (ประมาณ 250 มิลลิลิตร) แล้วนำมาเฉพาะน้ำสีแดงใส วันละ 3 ครั้ง ดื่มติดต่อกันทุกวันจนกว่าอาการจะดีขึ้นและหายไป

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง
  1. การใช้กระเจี๊ยบแดงอาจทำให้เกิดอาการท้องเสียได้ เนื่องจากมีฤทธิ์เป็นยาระบาย
  2. ในเพศชาย ควรหลีกเลี่ยงการกินกระเจี๊ยบแดงติดต่อกันเป็นเวลานาน เนื่องจากผลการศึกษา ในสัตว์ทดลองพบว่า ทำให้เกิดพิษต่อเซลล์ของอัณฑะและตัวอสุจิได้ส่วนในสตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตร ก็ควรหลีกเลี่ยงเช่นกันเพราะมีผลการศึกษาในหนูทดลองพบว่าอาจทำให้ลูกหนูเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ช้าลง
  3. จากการศึกษาทางพิษวิทยา พบว่าหากรับประทานกระเจี๊ยบแดงในขนาดที่สูงและเป็นเวลานานอาจทำให้เป็นพิษต่อตับได้
  4. ผู้ที่มีภาวการณ์ทำงานของไตบกพร่อง ไม่ควรรับประทานกระเจี๊ยบแดง หรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกระเจี๊ยบแดง

สูตรเครื่องดื่ม น้ำกระเจี๊ยบ

ส่วนผสม น้ำกระเจี๊ยบ

  • กระเจี๊ยบแห้ง  50 กรัม
  • น้ำสะอาด 5  ลิตร
  • น้ำตาลทราย 500 กรัม
  • เกลือ 1 ช้อนชา

วิธีทำ น้ำกระเจี๊ยบ

  1. นำดอกกระเจี๊ยบแห้งมาล้างน้ำให้สะอาด ล้างฝุ่นออก สะเด็ดน้ำให้แห้ง
  2. จากนั้นก็ต้มน้ำให้เดือด ใส่เกลือ และดอกกระเจี๊ยบแห้งที่เตรียมไว้ 
  3. ต้มประมาณ 20 นาที ดูให้น้ำออกเป็นสีแดงสดดี หรือดูสีดอกกระเจี๊ยบที่ต้ม ถ้าสีซีดลง ตักดอกกระเจี๊ยบออก 
  4. ใส่น้ำตาลทรายลงไป คนให้ละลาย ลองชิมรสเติมหวานเค็มได้ตามชอบ 
  5. นำมากรองด้วยผ้าขาวบาง 
  6. รอให้เย็น นำไปแช่ตู้เย็นหรือใส่น้ำแข็ง ดื่มเย็นๆ รับรองสดชื่น



เข้าชม : 570


สมุนไพรน่ารู้ 5 อันดับล่าสุด

      มะตูม 12 / ธ.ค. / 2566
      กระเจี๊ยบแดง 10 / ธ.ค. / 2566
      เก๊กฮวย 10 / ธ.ค. / 2566
      อัญชัน 10 / ธ.ค. / 2566
      มะขามป้อม 10 / ธ.ค. / 2566