📌📌ปัญหาสุขภาพที่คนๆ หนึ่งมีโอกาสเสี่ยงเป็นได้มีหลายโรคเนื่องจากปัจจัยรอบตัวที่เต็มไปด้วยมลพิษ
และเชื้อโรคที่มากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลต่อระบบหายใจหรือโรคติดเชื้อ แต่หลายคนอาจลืมไปแล้วว่าหนึ่งใน
โรคที่ทุกคนควรระวังและมีโอกาสเป็นทุกยุคทุกสมัยโดยไม่จำเป็นต้องเกี่ยวกับมลภาวะรอบตัวนั่นคือ
“โรคความดันโลหิตสูง” และด้วยความเสี่ยงที่สามารถเป็นได้ทุกช่วงวัยเราจึงควรศึกษาข้อมูลของโรคนี้
ก่อนจะสายเกินไป
.
❌โรคความดันโลหิตสูง สำคัญอย่างไร
โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่มีความสำคัญมาก คนที่ป่วยเกินกว่าครึ่งมักจะไม่มีอาการใดๆ จึงเป็น
ภัยเงียบที่กว่าจะรู้ตัวว่ามีความดันโลหิตสูง ก็เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงขึ้นแล้ว โดยเฉพาะโรค
หลอดเลือดหัวใจตีบทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจหนา ภาวะหัวใจวาย
ภาวะไตวายเรื้อรัง หลอดเลือดสมองตีบหรือแตกเกิดอัมพฤกษ์ อัมพาตตามมา จนถึงขั้นเสียชีวิตได้
.
ดังนั้น การที่เรารู้ตัวว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงตั้งแต่ระยะแรกๆ สามารถควบคุมความดันโลหิตที่สูง
ให้กลับมาสู่ระดับปกติได้ ก็จะช่วยลดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้
.
❌ความดันโลหิตเท่าไหร่ดี
ปัจจุบัน ค่าความดันโลหิตที่ยอมรับได้ในผู้ที่อายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป ควรตํ่ากว่า 150/90 มิลลิเมตรปรอท
ถ้าอายุน้อยกว่า 60 ปี หรือเป็นเบาหวาน หรือมีภาวะไตเสื่อม ค่าความดันโลหิต ควรตํ่ากว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท
.
❌แนวทางการรักษาความดันโลหิตสูง
จากการการศึกษาที่ผ่านมา ได้ข้อสรุปชัดเจนแล้วว่าการให้ยาลดความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
สามารถลดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากความดันโลหิตสูงได้ นอกจากการรับประทานยาแล้ว ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
ทุกรายควรจะได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือการรักษาความดันโลหิตสูงโดยไม่ต้องใช้ยาร่วมด้วย ดังนี้👇
✅ออกกำลังกายแบบแอโรบิก หมายถึงการออกกำลังกาย ที่มีการเคลื่อนไหวร่างกายตลอดเวลา เช่น วิ่ง เดินเร็ว
ว่ายนํ้า อย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย วันละ 15-30 นาที 3-6 วันต่อสัปดาห์ และการควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
✅ลดปริมาณแอลกอฮอล์ให้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสม
✅งดบุหรี่
✅ลดเครียด
✅รับประทานอาหารที่มีคุณภาพ โดยการลดอาหารเค็มจัด ลดอาหารมัน เพิ่มผักผลไม้ เน้นอาหารพวกธัญพืช
ปลา ถั่ว รับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวต่ำ หลีกเลี่ยงเนื้อแดง น้ำตาล เครื่องดื่มที่มีรสหวานนิดหน่อยจะทำให้
ระดับความดันโลหิตลดลงได้
.
ขอบคุณข้อมูลจาก: phukethospital
.
#ชีวจิต #preventionandhealing #ความดันโลหิตสูง
ที่มา : นิตยสารชีวจิต
เข้าชม : 492
|