พลูคาว (ผักคาวตอง) สรรพคุณและประโยชน์ของพลูคาว
พลูคาว ชื่อสามัญ Plu Kaow
พลูคาว ชื่อวิทยาศาสตร์ Houttuynia cordata Thunb. จัดอยู่ในวงศ์ผักคาวตอง (SAURURACEAE)
สมุนไพรพลูคาว มีชื่อเรียกท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผักคาวตอง (ลำปาง, อุดรธานี) คาวทอง (อุตรดิตถ์, มุกดาหาร) ผักก้านตอง (แม่ฮ่องสอน) ผักคาวปลา, ผักเข้าตอง, ผักคาวตอง (ภาคเหนือ) ส่วนทางภาคกลางมักจะนิยมเรียกว่า พลูคาว
พลูคาวเป็นพืชล้มลุกที่พบได้ทั่วไปในแถบทวีปเอเชียในแถบเทือกเขาหิมาลัยไปจนถึงเวียดนาม ญี่ปุ่น รวมถึงไทยด้วย เป็นที่รู้จักกันดีในทางภาคเหนือ
สรรพคุณของพลูคาว
- มีฤทธิ์ในการช่วยต่อต้านมะเร็ง ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
- มีฤทธิ์ในการช่วยบำบัดฟื้นฟูโรคความดันโลหิตสูง
- ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ต้านทานโรค ช่วยยืดอายุผู้ป่วยให้อยู่สู้โรคได้นานมากขึ้น
- มีส่วนช่วยยับยั้งเบาหวาน รักษาความสมดุลของร่างกาย
- ช่วยทำให้กระดูกเชื่อมติดกันเร็วขึ้น (ต้นสด)
- ช่วยรักษาปริมาณของเหลวในร่างกาย
- ช่วยรักษาอาการหูชั้นกลางอักเสบ (ทั้งต้น)
- ใช้รักษาโรคติดเชื้อและทางเดินหายใจ (ต้น)
- ประโยชน์ของผักคาวตองช่วยแก้ไข้ (ใบ)
- ช่วยรักษาโรคไข้มาลาเรีย (ต้น)
- ใช้เป็นส่วนผสมในตำรับยาที่เป็นน้ำยาข้น ใช้ทารักษาและช่วยต้านเชื้อโรคหวัด ไข้หวัดใหญ่
- ใช้เป็นส่วนประกอบในตำรับยา ช่วยรักษาอาการติดเชื้อเฉียบพลัน ติดเชื้อทางเดินหายใจ
- ใช้เป็นส่วนผสมในตำรับยาที่เป็นน้ำยาข้น ใช้ทารักษาคางทูม ต่อมทอนซิลอักเสบ และปอดอักเสบในเด็ก
- คาวตองมีสรรพคุณช่วยแก้และบรรเทาอาการไอ (ทั้งต้น)
- มีส่วนช่วยกระตุ้นการแบ่งตัวของเซลล์เม็ดเลือดขาวช่วยรักษาภาวะภูมิแพ้ หอบหืด
- ช่วยรักษาโรคไอกรน (ประยุกต์ใช้ทางการแพทย์)
- ช่วยรักษาการอักเสบชนิดธรรมดาบริเวณแก้วตา (ประยุกต์ใช้ทางการแพทย์)
- ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ (ทั้งต้น)
- ช่วยรักษาโรคหลอดลมขยายตัวมากเกินไป (ประยุกต์ใช้ทางการแพทย์)
- ช่วยรักษาอาการปอดบวม ปอดอักเสบ (ทั้งต้น)
- ช่วยรักษาฝีหนองในปอด (ต้น)
- ช่วยรักษาอาการคั่งน้ำในอกจากโรคมะเร็ง (ประยุกต์ใช้ทางการแพทย์)
- ช่วยลดอาการบวมน้ำ (ทั้งต้น)
- ใช้เป็นยาระบาย อาหารไม่ย่อย (ใบ)
- รักษาอาการท้องเสีย (ใบ)
- ใช้แก้โรคบิด (ต้น, ใบ, ทั้งต้น)
- ช่วยขับพยาธิ (ใบ)
- ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ (ราก, ทั้งต้น)
- ช่วยรักษาอาการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ (ทั้งต้น)
- ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร (ต้นสด, ใบ, ทั้งต้น)
- ช่วยรักษาโรคหนองใน (ใบ)
- ใช้ปรุงเป็นยาแก้กามโรค (ใบ)
- ช่วยรักษานิ่ว (ต้น)
- ช่วยแก้โรคไต (ใบ)
- ช่วยรักษาอาการไตผิดปกติ (ประยุกต์ใช้ทางการแพทย์)
- ช่วยรักษาโรคตับอักเสบชนิดดีซ่าน (ประยุกต์ใช้ทางการแพทย์)
- ช่วยขับระดูขาว (ต้น)
- ช่วยรักษาแผลอักเสบคอมดลูก (ประยุกต์ใช้ทางการแพทย์)
- ช่วยรักษาการอักเสบบริเวณกระดูกเชิงกราน (ประยุกต์ใช้ทางการแพทย์)
- ช่วยแก้โรคข้อ (ใบ)
- ช่วยรักษาโรคหัด (ใบ)
- ช่วยรักษาโรคผิวหนังต่าง ๆ (ต้นสด, ใบ)
- ช่วยรักษาผื่นคัน ฝีฝักบัว (ต้นสด)
- มีฤทธิ์ช่วยระงับอาการปวด
- ช่วยห้ามเลือด
- มีฤทธิ์ต้านการอักเสบต่าง ๆ
- ใช้พอกฝี บวมอักเสบ (ต้นสด, ทั้งต้น)
- ช่วยรักษาบาดแผล (ต้นสด)
- ช่วยรักษาแผลเปื่อย (ต้นสด)
- ช่วยรักษาแผลให้หายเร็วขึ้น (ใบ)
- ใช้พอกแผลที่ถูกงูพิษกัด (ต้นสด)
- ช่วยป้องกันการติดเชื้อหลังผ่าตัด (ประยุกต์ใช้ทางการแพทย์)
- ใบสดผิงไฟพอนิ่มใช้พอกเนื้องอกต่าง ๆ (ใบ)
- มีฤทธิ์ช่วยต่อต้านเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส
- ประโยชน์ของพลูคาวช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของไวรัสชนิดต่าง ๆ เช่น ไข้ทรพิษ หัด งูสวัด เริม เอดส์ (HIV)
- แก้โรคน้ำกัดเท้า
- ในประเทศจีนใช้เป็นส่วนผสมในตำรับยาช่วยป้องกันและรักษาโรคที่เกิดจากไวรัสในไก่ โดยใช้ผสมในอาหารที่ใช้เลี้ยงไก่
- ใบสดใช้ป้องกันปลาเน่าเสีย (ใบ)
- ใบนำมารับประทานเป็นผักสด
- ใบสดต้มน้ำนำมารดต้นข้าว ข้าวสาลี ต้นฝ้าย ป้องกันพืชเป็นโรคเหี่ยวเฉาตาย
- ใช้ขับทากที่ตายในท้อง (ดอก)
- เหมาะกับผู้ป่วยและผู้ที่ต้องการบำรุงร่างกาย ผู้ป่วยในระยะพักฟื้น
- เหมาะกับผู้ที่ต้องการ Detox ล้างพิษออกจากร่างกาย ป้องกันโรคร้าย ช่วยให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันแข็งแรงขึ้น ทำให้โรคต่าง ๆ มีอาการดีขึ้น และหายจากอาการของโรคต่าง ๆ ได้ในที่สุด
- ใช้ควบคู่กับการรักษาด้วยเคมีบำบัดหรือการฉายรังสี จะช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการแพ้น้อยลง
- ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางประเภทครีมทาแก้ผิวหนังแห้ง หยาบกร้าน ป้องกันผิวหนังแตก
วิธีใช้ทั้งต้นแห้งประมาณ 15-30 กรัม (ต้นสด 30-60 กรัม) นำมาแช่น้ำทิ้งไว้ประมาณ 3 นาที แล้วนำมาต้มน้ำให้เดือดประมาณ 5 นาทีแล้วนำมาดื่ม แต่หากใช้ร่วมกับสมุนไพรหรือยาชนิดอื่น ให้ต้มยาอื่นให้เดือดก่อนจึงใส่ยา ต้มให้เดือด การรับประทานถ้ามากเกินไปอาจจะทำให้หัวใจเต้นสั้นและถี่ อาจเป็นอันตรายได้
แหล่งอ้างอิง : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี , สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย
ขอบคุณที่มา : เว็บไซต์เมดไทย
เข้าชม : 10986
|