[x] ปิดหน้าต่างนี้
 




 


เนื้อหา : เรื่องเด่นวันนี้
หมวดหมู่ : ข่าวประชาสัมพันธ์
หัวข้อเรื่อง : ชะพลู หรือ ช้าพลู : ห้องสมุดประชาชนอำเภอฮอด

อังคาร ที่ 14 เดือน กันยายน พ.ศ.2564


 
ชะพลู หรือ ช้าพลู[2] (ชื่อวิทยาศาสตร์: Piper sarmentosum Roxb. หรือ Piper lolot C.DC.) เป็นพืชในวงศ์ Piperaceae มักสับสนกับพลู[3] 

นอกจากชื่อ ชะพลู, ช้าพลู ในภาษาไทยแล้ว ในภาษาอังกฤษไม่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ แต่อาจถูกเรียกในชื่อ wild betel, ในภาษาลาวเรียกว่า ຜັກອີ່ເລີດ (ผักอีเลิด), ภาษามลายูเรียก Pokok Kaduk, ภาษาอินโดนีเซียเรียก Merica lolot[5]ภาษาเขมรเรียก ចាព្លូ (ชาพลู หรือ ជីរភ្លូ ชีพลู), ภาษาเวียดนามเรียก lá lốt (ลาโล้ต), ภาษาจีนเรียก 假蒟 (เจี๋ยจู่)[6]ภาษาจีนกวางตุ้งเรียก 蛤蔞 (กับเหล่า)

ชะพลูมีชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ ในประเทศไทยอีกคือ ทางภาคเหนือเรียกว่า "ผักปูนา", "ผักพลูนก", "พลูลิง", "ปูลิง", "ปูลิงนก" ทางภาคกลาง เรียกว่า "ช้าพลู" ทางภาคอีสานเรียกว่า "ผักแค", "ผักปูลิง", "ผักนางเลิด", "ผักอีเลิด" และ ทางภาคใต้เรียกว่า "นมวา"

ลักษณะ
     ใบมีลักษณะคล้ายรูปหัวใจรูปทรงคล้ายกับใบพลู แต่มีขนาดใบเล็กกว่า มีสีเขียวเข้มเป็นใบเดี่ยว รสชาติเผ็ดอ่อน ๆ ดอกออกบริเวณปลายยอด มีสีขาวอัดแน่นกันเป็นทรงกระบอกขนาดเล็ก ลักษณะคล้ายดีปลีแต่สั้นกว่าชะพลูพบในเขตร้อนของ
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย และตอนใต้ของจีน และไกลถึงหมู่เกาะอันดามัน[7]
      แต่ใบรสไม่จัดเท่าพลูและมีขนาดเล็กกว่า ชะพลูเป็นพันธุ์ไม้ที่ชอบพื้นที่ลุ่ม มีความชื้น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำ โดยการเลือกกิ่งที่มีใบอ่อนและใบแก่ เด็ดใบแก่ออกและนำไปปักชำได้

"Piper lolot (lolot)" ปัจจุบันทราบว่าเป็นสปีชีส์เดียวกันกับ Piper sarmentosum โดย lolot ได้รับการปลูกเพื่อใช้ใบประกอบในอาหารของลาว และเวียตนาม เช่นใช้สำหรับห่อเนื้อย่าง thịt bò nướng lá lốt (ถิกบ่อเหนืองลาโล้ต) ในเวียดนาม[4]

การใช้ประโยชน์

ในใบชะพลูมีสารบีตา-แคโรทีนสูงมาก ใบนำมารับประทานกับเมี่ยงคำ นำมาแกงใส่กะทิ ข้าวยำ ห่อหมก หรือเป็นผักจิ้มน้ำพริก ทางภาคใต้ใส่ในแกงกะทิหอยขม แกงคั่วปู[8]ในจังหวัดจันทบุรีใส่ในแกงป่าปลา[9] ในใบมีออกซาเลตสูง จึงไม่ควรรับประทานมากเป็นประจำ

ชะพลูเป็นพืชที่มีสรรพคุณทางยา ดอกทำให้เสมหะแห้ง ช่วยขับลมในลำไส้ รากขับเสมหะให้ออกมาทางระบบขับถ่าย ขับลมในลำไส้ ทำให้เสมหะแห้ง ต้นขับเสมหะในทรวงอก ใบมีรสเผ็ดร้อน ทำให้เจริญอาหาร ขับเสมหะ ใบ ต้น และดอกใช้ขับเสมหะ รากใช้ขับลม น้ำต้มทั้งต้นช่วยลดน้ำตาลในเลือดของกระต่ายที่เป็นเบาหวานได้[10]


ขอขอบคุณที่มา
แหล่งอ้างอิง : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี



เข้าชม : 989


ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

      ๑๔ มกราคม ๒๕๖๘ เป็นโอกาสมหามงคลสมัยพิเศษ 14 / ม.ค. / 2568
      ทรงพระเจริญ 8 / ม.ค. / 2568
      สวัสดีปีใหม่ 2568 Happy New Year 2025 2 / ม.ค. / 2568
      วันที่ 27 ธันวาคม 2567 27 / ธ.ค. / 2567
      วันที่ 24 ธันวาคม 2567 24 / ธ.ค. / 2567




ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ไอคอน : ย่อหน้า จัดซ้าย จัดกลาง จัดขวา ตัวหนา ตัวเอียง เส้นใต้ ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา
อ้างอิงคำพูด เพิ่มเพลง เพิ่มวีดีโอคลิป เพิ่มรูปภาพ เพิ่มไฟล์ Flash เพิ่มลิงก์ เพิ่มอีเมล์
ความคิดเห็น :


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ ที่นี่ เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

 
ห้องสมุดประชาชนอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ 
ที่อยู่ 66 หมู่ 9 ตำบลหางดง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ รหัสไปรษณีย์ 50240
โทรสาร 053-461350 E-mail
libhot4@gmail.com
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05HD  Update by   นายบุญมา มาดี