[x] ปิดหน้าต่างนี้
 

 


เนื้อหา : เรื่องเด่นวันนี้
หมวดหมู่ : ข่าวประชาสัมพันธ์
หัวข้อเรื่อง : ห้องสมุดประชาชนอำพร้าว ขอเชิญร่วมลงนามถวายพระพรชัยมงคล พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณมหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐ เนื่องในวัน วันฉัตรมงคล ๔ พฤษภ

จันทร์ ที่ 2 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2565


 

ประวัติความสำคัญ "วันฉัตรมงคล" 4 พฤษภาคม 

วันฉัตรมงคล คือ วันฉลองพระเศวตฉัตร

ในอดีตมีบันทึกเกี่ยวกับพระราชพิธีฉัตรมงคลเป็นงานหลวงครั้งแรกในวันที่ 15 พฤษภาคม 2393 ซึ่งเป็นการฉลองพระเศวตฉัตรของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) จากแต่เดิมพิธีนี้ถือเป็นงานส่วนตัวของพระมหากษัตริย์ที่จัดขึ้นในเขตพระราชฐาน และมีพระราชดำริว่าควรสมโภชพระมหาเศวตฉัตรให้เป็นสวัสดิมงคลแก่ราชสมบัติ นับจากรัชสมัยของพระองค์ วันฉัตรมงคลก็ได้ถูกระบุเป็นวันนักขัตฤกษ์มงคลนับแต่นั้นมา

ตามธรรมเนียมเดิม พระราชพิธีฉัตรมงคลที่จัดขึ้นในเดือน 6 ตามปฏิทินไทย ซึ่งตรงกับเดือนพฤษภาคมตามปฏิทินสากล เจ้าพนักงานทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายใน มีหน้าที่รักษาเครื่องราชูปโภคและพระราชนิเวศน์ จะทำพิธีสมโภชเป็นการฝ่ายใน


พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรับบรมราชาภิเษกเมื่อวันพุธ เดือน 12 แรม 12 ค่ำ ปีมะโรงสัมฤทธิศก จ.ศ.1230 ตรงกับวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2411 แต่ยังคงให้จัดพระราชพิธีฉัตรมงคลในเดือน 6 ตามแบบอย่างในรัชกาลที่ 4 ต่อมา จนกระทั่งเมื่อประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ครั้งที่ 2 ในวันอาทิตย์ เดือน 12 แรม 12 ค่ำ ปีระกาเบญจศก จ.ศ.1235 ตรงกับวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ.2416 พระองค์โปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าแก่พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการที่ได้รับพระราชทานพานทองด้วย ในปีต่อมาจึงย้ายเวลาจัดพระราชพิธีฉัตรมงคล จากเดือน 6 มาทำในเดือน 12 และเรียกว่า “การสมโภชพระมหาเศวตฉัตร” มีการจัดพระราชพิธีรวม 4 วัน ในเดือน 12 แรม 10 ค่ำ ถึงแรม 13 ค่ำ
พระราชพิธีฉัตรมงคลนั้นเป็นพิธีจัดสมโภชเครื่องราชกกุธภัณฑ์ในพระบรมมหาราชวัง เจ้าพนักงานอัญเชิญเครื่องมงคลสิริเบญจราชกกุธภัณฑ์ขึ้นประดิษฐานบนพระแท่นใต้พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร จากนั้นพระราชครูหัวหน้าพราหมณ์อ่านประกาศพระราชพิธีฉัตรมงคล พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์เย็น สำหรับเครื่องสิริเบญจราชกกุธภัณฑ์ ประกอบด้วย
1. พระมหาพิชัยมงกุฎ
พระมหาพิชัยมงกุฎ ทำด้วยทองลงยาประดับเพชร มีค่าสำคัญเท่ากับราชกกุธภัณฑ์อื่น ภายหลังประเทศไทยติดต่อกับประเทศในทวีปยุโรป จึงนิยมตามราชสำนักยุโรปที่พระมหากษัตริย์สวมมงกุฎ จากนั้นมาจึงถือเป็นสิ่งสำคัญ พระมหากษัตริย์จะทรงสวมพระมหาพิชัยมงกุฎในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก



 

2. พระแสงขรรค์ชัยศรี
พระแสงขรรค์ชัยศรี ด้ามและฝักทำด้วยทองลงยาประดับอัญมณี เป็นพระแสงราชศัสตราวุธประจำพระองค์พระมหากษัตริย์ เป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเศษ เมื่อ พ.ศ.2328 โดยพระยาอภัยภูเบศร์ (แบน) ให้ข้าราชการเมืองพระตะบองนำมาทูลเกล้าฯ ถวายรัชกาลที่ 1



3. ธารพระกร
รัชกาลที่ 1 โปรดให้สร้างธารพระกรจากไม้ชัยพฤกษ์ปิดทอง หัวและส้นเป็นเหล็กคร่ำลายทอง ที่สุดส้นเป็นส้อมสามง่าม เรียกว่า ธารพระกรชัยพฤกษ์ ภายหลังรัชกาลที่ 4 โปรดให้สร้างด้วยทองคำ ภายในมีพระเสน่า ยอดมีรูปเทวดา เรียกว่า ธารพระกรเทวรูป มีลักษณะเป็นพระแสงดาบมากกว่า ครั้งถึงรัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ธารพระกรชัยพฤกษ์ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสืบมาจนถึงรัชกาลที่ 9

4. วาลวิชนี
วาลวิชนี หรือ พัดและแส้ รัชกาลที่ 1 โปรดให้สร้างขึ้น พัดเป็นใบตาลปิดทองทั้ง 2 ด้าน ขอบขลิบทองคำ ด้ามทำด้วยทองลงยา ต่อมารัชกาลที่ 4 ทรงพระราชดำริให้เรียกตามภาษาพระบาลีว่า “วาลวิชนี” เป็นเครื่องโบกทำด้วยขนหางจามรี และขนหางช้างเผือกในเวลาต่อมา เป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์ใช้ควบคู่กับพัดใบตาล

                     
                    5. ฉลองพระบาทเชิงงอน
                   ฉลองพระบาทเชิงงอน เป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์ตามแบบอินเดียโบราณ ทำด้วยทองคำลงยาราชาวดีฝังเพชร                                 และ พราหมณ์เป็นผู้สวมถวายในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกหลังจากจบพิธีสงฆ์ ทหารบก และทหารเรือ ยิงปืนใหญ่                         เฉลิมพระเกียรติ ฝ่ายละ 21 นัด และมีพิธีพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และผู้                     ทำความดีให้แก่ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์


 
 ที่มา https://www.thairath.co.th/lifestyle/culture/2083001


เข้าชม : 560


ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

      13 ม.ค. 67 ห้องสมุดประชาชนอำเภอพร้าว ร่วมกับบ้านหนังสือชุมชนบ้านหลวง และครู ศกร.ตำบลโหล่งขอด 🎊จัดกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ 😊🎉 ณ บ้านหนังสือชุมชนบ้านหลวง ต.โหล่งขอด อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ 15 / ม.ค. / 2567
      วันที่10 มกราคม 2567 ห้องสมุดประชาชนอำเภอพร้าว ร่วมกับ ครู ศกร.ตำบลสันทราย จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านภายใต้โครงการห้องสมุดเคลื่อนที่สำหรับชาวตลาด ณ ตลาดสดบ้านสันปง ต.สันทราย อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ 12 / ม.ค. / 2567
      วันออกพรรษา (ขึ้น 15 ค่ำเดือน 11) 30 / ต.ค. / 2566
      รับสมัครนักศึกษา ภาคเรียนที่ 2/2566 25 / ต.ค. / 2566
      ขอเชิญชวนทุกท่านร่วมลงนามเพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในวันที่ 13 ตุลาคม 2566 ผ่านระบบออนไลน์ 16 / ต.ค. / 2566


 
ห้องสมุดประชาชนอำเภอพร้าว  จังหวัดเชียงใหม่ 
ที่อยู่  ม.5 ต.ทุ่งหลวง  อ.พร้าว  จ.เชียงใหม่
โทรสาร  053-475530  E-mail phrao555@hotmail.com
บาคาร่า Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05HD  Update by   นายบุญมา มาดี