ประวัติวันปิยมหาราช
วันปิยมหาราช คือวันที่ 23 ตุลาคม ภายหลังพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้จัดพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทาน ถวายพวงมาลาที่ลานพระบรมรูปทรงม้า และจุดธูปเทียนเครื่องสักการะ เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือ “การเลิกทาส” อันเป็นพระราชประสงค์ที่ต้องการให้เลิกทาสให้เป็นไทตั้งแต่พระองค์ทรงขึ้นครองราชย์
ทาสในสมัยนั้นเป็นพลเมืองของประเทศไทย โดยมีมากกว่า 1 ใน 3 ของคนทั้งประเทศ รัชกาลที่ 5 ทรงเห็นว่าลูกทาสในเรือน เบี้ยสืบทอดกันมาไม่มีที่สิ้นสุด พ่อแม่เป็นทาส ลูกก็ต้องเป็นทาสไปตลอดชีวิต และเกิดจากความยากจนที่ต้องขายตัวเอง ซึ่ง เท่ากับขายชีวิต จะถูกฆ่าหรือถูกกดขี่จากนายได้โดยไม่มีความผิด
“การเลิกทาส” ระบุอยู่ในพระราชบัญญัติพิกัดเกษียณอายุลูกทาสลูกไทย ณ วันที่ 18 ตุลาคม 2417 เพื่อปลดปล่อยทาสให้เป็น ไทโดยสันติวิธี ด้วยทรงไม่ต้องการเห็นการกดขี่และเหยียดหยามคนไทยด้วยกันเอง
ด้านการทหารและการปกครองประเทศ
- จัดตั้งกรมเสนาธิการทหารบกแบบต่างประเทศขึ้นเป็นครั้งแรก
- ตั้งโรงเรียนนายร้อยทหารบกและทหารเรือ
- จัดตั้งกระทรวง กรม กองต่างๆ
- จัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลเพื่อดูแลส่วนภูมิภาค
- แยกงบประมาณแผ่นดินและเงินส่วนพระองค์ออกจากกัน
- จัดตั้งธนาคารครั้งแรก ชื่อ ธนาคารสยามกัมมาจล
- ตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นครั้งแรกในพระบรมมหาราชวัง และขยายโรงเรียนสู่ภูมิภาคต่างๆ
- ส่งเอกอัครราชทูตไปประจำต่างประเทศเป็นครั้งแรก