[x] ปิดหน้าต่างนี้
 

 
ข้อมูลอำเภอพร้าว

             
 
 อำเภอพร้าว มีชื่อเรียกตามภาษาพื้นบ้านว่า เมืองป้าว เป็นเมืองโบราณที่มีชื่อเสียงในสมัยโบราณว่า เวียงพร้าววังหิน หรือ เวียงแจ้สัก ปัจจุบันเรียกว่า เมืองพร้าว มีประวัติความเป็นมาปรากฏตามตำนานโยนก ดังนี้
               พุทธศักราช 1780 พระเจ้าราวเม็ง ผู้ครองนครหิราญนครเงินยาง จังหวัดเชียงราย มีมเหสีทรงพระนามว่า พระนางเทพคำข่าย มีโอรสชื่อ เม็งราย พ.ศ. 1801 พระเจ้าราวเม็งทิวงคต พระเจ้าเม็งรายพระราชโอรสได้ขึ้นครองราชสืบต่อมา ในขณะนั้นทรงมีพระชนมมายุ 20 พรรษา มีพระโอรส 3 พระองค์ คือ 1 ขุนเครื่อง 2 ขุนคราม 3. ขุนเครือ
              พุทธศักราช 1816 พระเจ้าเม็งรายทราบข่าวว่าทางหริภุญชัยนคร อุดมสมบูรณ์พูนสุข จึงส่งอ้ายฟ้าจาระบุรุษ ไปกระทำวิเทโสบายกลศึกทางเมืองลำพูนนานถึง 7 ปี อ้ายฟ้าได้กระทำการสำเร็จ จึงทูลพระเจ้าเม็งรายเพื่อเกณฑ์ไพร่พลยกทัพไปตีเมืองลำพูน
               พุทธศักราช 1823 พระเจ้าเม็งรายทรงให้ขุนคราม โอรสองค์ที่สอง ครองเมืองเชียงราย และพระองค์ได้ยกทัพไพร่พลมุ่งสู่เมืองลำพูน การเดินทัพถึงที่แห่งหนึ่ง พระองค์เห็นว่าท้องที่แห่งนี้เป็นชัยภูมิที่เหมาะสมตามตำราพิชัยสงคราม มีพืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ จึงหยุดทัพเพื่อสะสมไพร่พลและเสบียงอาหารเพื่อให้กองทัพมีความเข้มแข็งมากขึ้น โดยตั้งค่ายคูประตูหอรบ อย่างมั่นคงแข็งแรงอยู่บนสันดอยแห่งหนึ่ง ชื่อ เวียงหวาย และขนานนามว่า นครป้าว บางตำนานว่า นครแจ้สัก หรือ เมืองป้าววังหิน คำว่า ป้าว มาจากคำว่า ป่าวร้องกะเกณฑ์ไพร่พล ภาษาท้องถิ่นหมายถึง มะพร้าว เมืองคงสร้างขึ้นด้วยพลโยธาของพระเจ้าเม็งรายและยังสร้างไม่เสร็จ พระองค์ได้ยกทัพสู่เมืองลำพูนต่อไป มุ่งทัพลงมาทางใต้เลียลฝั่งแม่น้ำปิงไปพบชัยภูมิอีกแห่งหนึ่ง แต่ภาระกิจยังไม่บรรลุเป้าหมาย จึงเคลื่อนทัพเข้าที่ราบผืนนี้ ทำการเกณฑ์ไพร่พลขึ้นใหม่ เพื่อสร้างเมือง และขนานนามว่า นครพิงค์ 
             ในเวลาต่อมา พระเจ้าเม็งรายทรงเสด็จมาครองเม้อง นครพิงค์ที่สร้างขึ้นใหม่  และขนานนามเมืองที่สร้างขึ้นใหม่ว่า นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ และทรงให้ขุนเครือง ราชโอรสองค์ที่สามไปครองเมืงอป้าว ขุนเครือได้บูรณะและสร้างต่อเติมเมืองป้าววังหิน จนได้ขนานนามว่า นครป้าว ขุนเครืองครองเมืองป้าววังหินนานเท่าไหน ไม่ปรากฏหลักฐาน จนถึงปีสุดท้าย ได้ถูกพระเจ้าเม็งรายลงทัณฑ์เกี่ยวักบการทำกาเมสุมิฉาตาลกับพี่สะใภ้  จึงถูกเนรเทศไปยังเมืองปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอนในปัจจุบัน  หลังจากนั้น นครป้าวจึงลดลงมาเป็นเมืองลูกหลวง  ในเวลาต่อมา กษัตริย์ผู้ครองนครล้านนาไทยไม่มีราชบุตร ก็ส่งขุนนางคนสนิทไปครองเมืองแทน จนกระทั่งสมัยพระเจ้าแกน พ.ศ.1954 - 1958 พระองค์ส่งลูกเจ้าราชบุตรองค์ที่ 6  หรือเจ้าติโลกราช หรือพระเจ้านิโลกราช ไปครองนครป้าว นับเป็นองค์สุดท้ายที่ครองนครป้าวนับแต่สร้างนครป้าวมา พ.ศ.1823 จนถึงปัจจุบัน มีอายุถึง 723 ปี
 

2.เนื้อที่/พื้นที่ 2,021.855 ตร.กม.
3.สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไป มี 3 ฤดู มี ฤดูร้อน เริ่มเดือนมีนาคม - เดือนมิถุนายน , ฤดูฝน เริ่มเดือนกรกฎาคม - ตุลาคม , และฤดูหนาว เริ่ม พฤศจิกายน - กุมภาพันธ์ 

 ข้อมูลการปกครอง
 
1.ตำบล.......11.... แห่ง 3.เทศบาล..1.....แห่ง
2.หมู่บ้าน....109.... แห่ง 4.อบต........... แห่ง

 ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ
 
1.อาชีพหลัก ได้แก่ 1. ทำนา ปลูกข้าว
2. ทำไร่ข้าวโพด
 
2.อาชีพเสริม ได้แก่ 1. ทำประมง
2. เลี้ยงปลา
3. เลี้ยงสัตว์
 
3.จำนวนธนาคาร 
 
มี 2 แห่ง ได้แก่
1. ธนาคารออมสิน
2. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
4.จำนวนห้างสรรพสินค้า มี - แห่ง

ด้านสังคม
 
1.โรงเรียนมัธยม ได้แก่ 1. โรงเรียนพร้าววิทยาคม ตั้งอยู่ถนนสายเชียงใหม่ - พร้าว ตำบลเขื่อนผาก 
อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ 50190 หมายเลขโทรศัพท์.0-5347-5301
2. โรงเรียนบ้านแม่ปั๋ง หมู่ที่ 5 ตำบลแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ 50190
 
2.มหาวิทยาลัย ได้แก่  -

 
ด้านทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของอำเภอ
 
1.ลำน้ำแม่งัด
2.ลำน้ำแม่โก๋น
3.ลำน้ำแม่แวน
4.ลำน้ำแม่สะรวม
5.ลำน้ำแม่ธาตุ
6.ลำน้ำแม่ขอด
7.ลำน้ำแม่สม
8.ลำน้ำแม่ลาด
9.ลำน้ำแม่พวก
  

 ด้านประชากร
 
1.จำนวนประชากรทั้งสิ้น รวม 51,822  คน
2.จำนวนประชากรชาย รวม 25,800  คน
3.จำนวนประชากรหญิง รวม 26,022 คน
4.ความหนาแน่นของประชากร 27 คน/ตร.กม.

 ด้านการคมนาคม
 
1.ทางบก - รถยนต์ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  1001,1150
- สถานีขนส่ง หมายเลขโทรศัพท์  
- สถานีรถไฟ  หมายเลขโทรศัพท์ 
2.ทางน้ำ - ท่าเรือขนส่งโดยสาร  หมายเลขโทรศัพท์  
- ท่าแพขนานยนต์        หมายเลขโทรศัพท์ 
3.ทางอากาศ - ท่าอากาศยาน             หมายเลขโทรศัพท์ 

 ด้านการเกษตร และอุตสาหกรรม
 
1.ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ 1. ข้าว
2. ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
3. อ้อย น้ำตาล
4. ถั่งลิสงฝน
5. ถั่วลิสงฤดูแล้ง
 
2.ชื่อแหล่งน้ำที่สำคัญได้แก่
      (แม่น้ำ/บึง/คลอง)
1.ลำน้ำแม่งัด
2.ลำน้ำแม่โก๋น
3.ลำน้ำแม่แวน
4.ลำน้ำแม่สะรวม
5.ลำน้ำแม่ธาตุ
6.ลำน้ำแม่ขอด
7.ลำน้ำแม่สม
8.ลำน้ำแม่ลาด
9.ลำน้ำแม่พวก
 
3.โรงงานอุตสาหกรรมที่สำคัญได้แก่  -




เข้าชม : 1281
 
 
ห้องสมุดประชาชนอำเภอพร้าว  จังหวัดเชียงใหม่ 
ที่อยู่  ม.5 ต.ทุ่งหลวง  อ.พร้าว  จ.เชียงใหม่
โทรสาร  053-475530  E-mail phrao555@hotmail.com
บาคาร่า Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05HD  Update by   นายบุญมา มาดี