การแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน
ปัจจุบันปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาที่กำลังทำลายเศรษฐกิจและสังคมของประเทศแม้ว่าทุกฝ่ายจะพยายามป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดมาโดยตลอดจากการสำรวจของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ในปี 2536 ประมาณว่ามีผู้ติดยาเสพติดทั่วประเทศ 1.26 ล้านคน โดยแพร่กระจายไปถึงระดับหมู่บ้านชุมชนซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของสังคมและแพร่กระจายเข้าไปในกลุ่มนักเรียน นักศึกษาและเยาวชนซึ่งเป็นพลังสำคัญของประเทศชาติในอนาคต
สถานการณ์ปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหา
จากการศึกษาผลการดำเนินการที่ผ่านมา สถานการณ์ปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาพิจารณาปัจจัยภายในชุมชนวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งของชุมชน พิจารณาปัจจัยภายนอกชุมชนวิเคราห์โอกาส ข้อจำกัดและภัยคุกคามสามารถนำปไส่การวิเคราะห์เพื่อการแก้ไขปัญหาดังต่อไปนี้
จุดแข็ง
1. ชุมชนสังคมรวมทั้งสื่อมวลชนตระหนักในความรุนแรงของปัญหายาเสพติดและผลกระทบ จึงให้มีการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนและจริงจังโดยได้มีการรวมตัวกันเพื่อหาทางป้องกัน ซึงปรากฏว่ามีหลายแห่งประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ
2. หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะสถาบันธัญญารักษ์และศูนย์บำบัดรักษายาเสพติดประจำภูมิภาคมีการพัฒนาศักยภาพ ให้มีความพร้อมครอบคลุมและเพียงพอต่อการแก้ปัญหา และประสานงานพร้อมถึงระดับชุมชน
3. มีการกระจายอำนาจโดยให้องค์กรปกครองท้องถิ่น ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้ท้องถิ่นและชุมชนมีขีดความสามารถในการจัดการแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จุดอ่อน
1. โครงสร้างของปัญหายาเสพติดเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากตัวปัญหาเองมีความสลับซับซ้อนนับวันจะขยายตัวเพิ่มขึ้น และมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ยากแก่การแก้ไขเพราะรากเหง้าของปัญหาเกิดจากปัจจัยภายในตัวบุคลและความไร้จิตสำนึก
2. ปัญหาสังคมไทยในเชิงโครงสร้างยังขยายตัวและส่งผลทำให้ปัญหายาเสพติดเพิ่มขึ้น ทำให้ประชาชนประสบปัญหาด้านจิตใจ ด้านอาชีพและรายได้บางส่วนหันไปใช้ยาเสพติดและค้ายาเสพติดรวมทั้งปัญหาค่านิยมเรื่องวัตถุนิยมบริโภคนิยม และอิทธิพลในระดับต่างๆ
3. ข้อมูลที่เกี่ยวข้องขาดความถูกต้องและความน่าเชื่อถือทำให้ไม่สามารถวางแผนและปรับเปลี่ยนการดำเนินงานได้อย่างทันเหตุการณ์
ที่มา สถาบันธัญญารักษ์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
เข้าชม : 872419
|