แหล่งเรียนรู้วัดป่าไม้แดง
ตำบลหนองบัว อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่
วัดป่าไม้แดง (พระเจ้าพรหมมหาราช) ตั้งอยู่เลขที่ 119 หมู่ 9 บ้านป่าไม้แดง ตำบลหนองบัว อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งบริเวณวัดมีเนื้อที่ 49 ไร่ 3 งาน 80 ตารางวา มีอาณาเขต ทิศเหนือจดถนนสาธารณะ ทิศใต้จดลำเหมืองสาธารณะ ทิศตะวันออกจดลำน้ำเหมืองสาธารณะ ทิศตะวันตกจดถนนสาธารณะ ภายในบริเวณวัดมีอาคารเสนาสนะประกอบด้วย วิหารจัตุรมุข, วิหารธรรมานุสสติ ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังประเพณีล้านนา 12 เดือน, มีอนุสาวรีย์
พระเจ้าพรหมมหาราช ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์ผู้สถาปนาสร้างเวียงไชยปราการราชธานี (เมือง
ไชยปราการ), มีอนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช พระมหากษัตริย์ผู้สถาปนาสร้างเมืองเชียงใหม่,
มีวิหารพระคุ้มเสาหลักเมืองไชยปราการ, ศาลาบำเพ็ญบุญ ศาลาราย ศาลาเอนกประสงค์ กุฏิสงฆ์
อาคารเรียนโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม – บาลี และแผนกสามัญศึกษา, มีศูนย์อบรมเด็ก
ก่อนเกณฑ์ในวัด
วัดป่าไม้แดง (พระเจ้าพรหมมหาราช) เดิมเป็นวัดร้าง ตามตำนานกล่าวว่า สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.1599 ในสมัยพระเจ้าพรหมมหาราช พระมหากษัตริย์ผู้ทรงสถาปนาสร้างเมืองไชยปราการ ซึ่งได้รกร้างมีป่าไม้แดงขึ้นปกคลุมอยู่ มีแต่สภาพซากวัดเก่าปรักหักพัง คงเหลือแต่หลักฐานบางอย่างปรากฏอยู่ เช่น ซากฐานก้อนอิฐที่จมอยู่ในพื้นดิน
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2515 พระครูประดิษฐ์พรหมคุณ (หลวงพ่อบุญเย็น ฐฺานธมฺโม) เจ้าอาวาสวัดสุปัฏนาราม เจ้าคณะตำบลปงตำในขณะนั้น ได้นำคณะศรัทธาสาธุชนภายในหมู่บ้านป่าไม้แดง
และหมู่บ้านใกล้เคียง เข้าพัฒนาสถานที่วัดร้างที่ปกคลุมด้วยป่าไม้แดง ได้สร้างราชานุสาวรีย์
พระเจ้าพรหมมหาราชขึ้น เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานแด่พระเจ้าพรหมมหาราช วีรกษัตริย์ผู้ทรงสถาปนาสร้างเมืองไชยปราการ, และได้จัดตั้งขึ้นเป็นสำนักสงฆ์โดยให้ใช้ชื่อว่า “สำนักสงฆ์พระเจ้าพรหมมหาราช” โดยมีท่านพระครูประดิษฐ์พรหมคุณ เป็นเจ้าสำนักสงฆ์รูปแรกตั้งแต่ปีพ.ศ. 2515-2534
จนกระทั่งปีพ.ศ. 2533 ได้อาศัยอำนาจตามความในข้อ 4 แห่งระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการยกวัดร้างเป็นวัดมีพระสงฆ์ พุทธศักราช 2514 ได้ประกาศให้เป็นวัดมีพระสงฆ์ เมื่อวันที่ 24 เดือนตุลาคม พ.ศ.2533 โดยให้ชื่อวัดว่า “วัดป่าไม้แดง” โดยมีท่านพระครูดวงคำ ฐฺานิสฺสโร ในขณะนั้น หรือท่านพระครูสถิตธรรมาภิรักษ์ เป็นเจ้าอาวาสวัดป่าไม้แดงรูปแรก, ซึ่งได้ดำรงตำแหน่งเป็น
เจ้าอาวาสมาตั้งแต่วันที่ 20 เดือนมีนาคม พุทธศักราช 2534 ถึงปัจจุบัน
แหล่งเรียนรู้ กศน.ตำบล 4 แห่ง ได้แก่
1. แหล่งเรียนรู้ กศน.ตำบลปงตำ
ประวัติความเป็นมา
ตำบลปงตำเป็นตำบลเก่าแก่ตำบลหนึ่งอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอฝางจังหวัดเชียงใหม่ ก่อนแยกการปกครองเป็นกิ่งอำเภอไชยปราการ ได้มีการแบ่งแยกการปกครองออกจากตำบลปงตำอีก 3 ตำบล คือ ตำบลศรีดงเย็น หนองบัว และแม่ทะลบ ปัจจุบัน ต.ปงตำ แบ่งการปกครองออกเป็น 8 หมู่บ้าน คือ บ้านปงตำ บ้านท่า บ้านปางควาย บ้านมิตรอรัญ บ้านป่ารวก บ้านห้วยบง บ้านห้วยม่วง และบ้านทุ่งยาว
ขนาดพื้นที่
ตำบลปงตำ มีพื้นที่ ประมาณ 21.84 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ในเขตอำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดเชียงใหม่ ระยะห่างจากตัวจังหวัด ประมาณ 127 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 850 กิโลเมตร
อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลแม่ข่า อำเภอฝาง
ทิศใต้ ติดกับ ตำบลศรีดงเย็น
ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลแม่ทะลบ
ทิศตะวันตก ติดกับ ตำบลหนองบัว
ลักษณะทางกายภาพ
- สภาพภูมิประเทศ
ตำบลปงตำ มีพื้นที่ 21.84 ตารางกิโลเมตร มีแนวภูเขาล้อมรอบ ลักษณะเอียงลาด ไปทางทิศตะวันออก พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม มีลำธารและลำห้วยไหลลงสู่แม่น้ำฝาง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ใช้ในการเกษตรกรรมได้ทุกฤดูกาล
- สภาพภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปในช่วงฤดูร้อนจะร้อนระดับปานกลาง ในช่วงฤดูหนาวจะหนาวจัด ฤดูฝนจะมีฝนตกชุก เหมาะสำหรับการทำการเกษตรกรรม
- โครงสร้างพื้นฐาน
1. อาคารพาณิชย์ ประมาณ 117 แห่ง
2. ที่พักอาศัย ประมาณ 3,008 หลังคาเรือน
3. โรงงานอุตสาหกรรม ประมาณ 1 แห่ง
4. ตลาดสด (ขนาดใหญ่) ประมาณ 2 แห่ง
5. ธนาคาร ประมาณ 5 แห่ง
6. ส่วนราชการ ประมาณ 27 แห่ง
7. สถานศึกษา ประมาณ 7 แห่ง
8. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปงตำ ประมาณ 1 แห่ง
- ข้อมูลที่ตั้ง กศน.ตำบลปงตำ
ที่ตั้ง: ตั้ง ณ เลขที่ 573 ซอย 5 หมู่ที่ 2 ตำบลปงตำ อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ 50320
สภาพทางสังคม – ประชากร
- สภาพทางสังคม
ประชากรอาศัยอยู่ในเขตเทศบาล โดยภาพรวมแล้วเป็นสังคมแบบกลุ่ม ชาวบ้านดั้งเดิม นี้จะถือปฏิบัติขนบธรรมเนียม และประเพณีท้องถิ่นโดยเคร่งครัด กลุ่มชาวบ้านที่มาอาศัยอยู่ใหม่ ซึ่งมาตั้งรกรากอยู่ในเขตเทศบาล ส่วนประชากรแฝง ยังมีจำนวนหนึ่ง เนื่องจากมีจำนวนประชากรที่เป็นผู้ที่เข้ามาทำงานในพื้นที่แต่ยังไม่ได้ย้ายทะเบียนบ้านเข้ามาด้วย ได้แก่ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ พนักงาน และแรงงานที่เข้ามาทำงานในเขตตำบลปงตำ ที่มาเช่าอาศัยอยู่ตามบ้านพัก โดยไม่มีหลักฐานทางทะเบียนอีกจำนวนมาก
- ประชากร
ตำบลปงตำ มีครัวเรือนทั้งหมด จำนวน 3,009 ครัวเรือน มีจำนวนประชากร
ทั้งหมด 7,987 คน แยกเป็นชาย จำนวน 3,883 คน และเป็นหญิง จำนวน 4,104 คน สามารถแยกตาม
หน่วยงานในตำบล
2. แหล่งเรียนรู้ กศน.ตำบลศรีดงเย็น
ประวัติตำบล
ศูนย์การเรียนชุมชน ตำบลศรีดงเย็น ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 14 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 โดยมีสำนักงานพบกลุ่มนักศึกษา ณ วัดศรีดงเย็น ต่อมาปี พ.ศ. 2549 ได้ย้ายศูนย์การเรียนชุมชนไปตั้งที่โรงเรียนบ้างปางมะขามป้อม หมู่ที่ 14 ตำบลศรีดงเย็น เพื่อปรับแผนการดำเนินงานให้เป็นไปตามนโยบายในการขับเคลื่อนสู่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เนื่องจากมีภูมิประเทศที่เหมาะสม สถานที่กว้างขวาง
อย่างไรก็ตามเนื่องจากเป็นสถานที่ที่ห่างไกลชุมชนและขาดเงินงบประมาณสนับสนุน และเพื่อเป็นการเน้นผู้เรียน / ผู้รับบริการเป็นสำคัญ ศูนย์การเรียนชุมชนดังกล่าว จึงต้องมีการโยกย้ายเข้ามาสู่ในเขตชุมชนอีกครั้งหนึ่ง ในปี พ.ศ. 2551 ณ ศาลาเอนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน บ้านแม่ขิหล่ายฝาง หมู่ 2 ตำบลศรีดงเย็น
ต่อมาก็มีการโยกย้ายศูนย์การเรียนชุมชนมา ณ วัดบ้านอ่าย หมู่ 5 ตำบลศรีดงเย็น อีกครั้งใน ปี พ.ศ. 2553 เนื่องจากวัดบ้านอ่าย เป็นจุดศูนย์กลางตำบลศรีดงเย็น สะดวกต่อการเดินทางของผู้รับบริการ โดยจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ตามความต้องการของประชาชนในพื้นที่ และตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อให้ประชาชนได้รับการศึกษาเกิดการพัฒนาไปในทางที่ดี และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อไป
3. แหล่งเรียนรู้ กศน.ตำบลหนองบัว
ประวัติตำบล
กศน.ตำบลหนองบัว อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ สังกัด ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยไชยปราการ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ
ประวัติความเป็นมา
กศน.ตำบลหนองบัวก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2547 ปัจจุบันได้ใช้พื้นที่อาคารชมรมผู้สูงอายุบ้านหนองบัว เป็นอาคาร กศน.ตำบลหนองบัว
กศน.ตำบลหนองบัว มีบทบาทหน้าที่ในการจัดการศึกษานอกโรงเรียนสายสามัญ ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 จัดการเรียนการสอนผู้ไม่รู้หนังสือ เพื่อให้อ่านออกเขียนได้ การศึกษาในระดับระถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย งานการศึกษาต่อเนื่อง การศึกษาเพื่อการมีงานทำการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน และการศึกษาตามอัธยาศัย โดยจัดให้มีที่อ่านหนังสือในชุมชน การจัดตั้ง กศน.ตำบล มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายตามความต้องการของผู้เรียน ลดความเหลื่อมล้ำให้โอกาสทางการศึกษา เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกันสำหรับผู้สนใจและประชาชนในชุมชน
ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลประชากร
สภาพทางสังคม - ประชากร
เขตปกครอง และจำนวนประชากร
เทศบาลตำบลหนองบัว มีประชากรทั้งสิ้น 12,019 คน แยกเป็นชาย 5,916 คน หญิง 6,058 คน ( ข้อมูล ณ มีนาคม 2557 ) ความหนาแน่นเฉลี่ย 144.23 คน/ตารางกิโลเมตร มีครัวเรือนทั้งสิ้น 4,439 ครัวเรือน มีหมูบ้านตั้งอยู่บนพื้นที่สูงแนวชายแดนจำนวน 1 หมู่บ้าน ประกอบด้วยกลุ่มชนต่างๆ ได้แก่ จีน ไทยใหญ่ มูเซอ และอื่นๆ แบ่งเขตการปกครองออกเป็นดังนี้
หมู่ที่
|
ชื่อหมู่บ้าน
|
จำนวนประชากร
|
จำนวนหลังคาเรือน
|
หมายเหตุ
|
ชาย
|
หญิง
|
รวม
|
1
|
บ้านเด่น
|
9
|
10
|
19
|
12
|
|
2
|
บ้านห้วยไผ่
|
351
|
368
|
791
|
458
|
|
3
|
บ้านหนองบัว
|
223
|
223
|
446
|
178
|
|
4
|
บ้านทา
|
351
|
368
|
791
|
458
|
|
5
|
บ้านต้นโชค
|
341
|
351
|
692
|
252
|
|
6
|
บ้านถ้ำง๊อบ
|
1,158
|
1,117
|
2,275
|
850
|
|
7
|
บ้างปง
|
298
|
317
|
615
|
244
|
|
8
|
บ้านปาง
|
302
|
277
|
579
|
174
|
|
9
|
บ้านป่าไม้แดง
|
253
|
191
|
444
|
151
|
|
10
|
บ้านใหม่หนองบัว
|
2,911
|
3,101
|
6,012
|
2,040
|
|
11
|
บ้านถ้ำผาผึ้ง
|
115
|
103
|
218
|
80
|
|
|
|
5,961
|
6,058
|
12,019
|
4,898
|
|
เขตติดต่อ
ขนาดพื้นที่ ที่ตั้ง อาณาเขตติดต่อ
กศน.ตำบลหนองบัว ตั้งอยู่อาคารชมรมผู้สูงอายุบ้านหนองบัว หมู่ที่ 3 ตำบลหนองบัว อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากตัวจังหวัดเชียงใหม่ ไปทางทิศเหนือ เป็นระยะทาง 134 กิโลเมตร
ทิศเหนือ ติดต่อ ตำบลปงตำ อ.ไชยปราการ ต.แม่งอน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่
ทิศใต้ ติดต่อ ต.ศรีดงเย็นอ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่
ทิศตะวันออก ติดต่อ เทศบาลตำบลไชยปราการจ.เชียงใหม่
ทิศตะวันตก ติดต่อ ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ และสาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า
4. แหล่งเรียนรู้ กศน.ตำบลแม่ทะลบ
ประวัติตำบล
ตำบลแม่ทะลบ บริหารโดยสำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ทะลบ ตั้งอยู่เลขที่ 299 หมู่ที่ 4 บ้านดอยหล่อ ตำบลแม่ทะลบ อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากที่ว่าการอำเภอไชยปราการ ไปทางทิศตะวันออก ระยะทาง 6 กิโลเมตร
มีเนื้อที่ประมาณ 99.34 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ 62,087.50 ไร่ ห่างจากจังหวัดเชียงใหม่ไปทางทิศเหนือ ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 107 เป็นระยะทางประมาณ 145 กิโลเมตร มีลักษณะสภาพพื้นที่เป็นภูเขามีที่ราบระหว่างภูเขาเหมาะแก่การเกษตรและป่าไม้ยังมีสภาพสมบูรณ์พอใช้ มีอาณาเขตดังนี้
จุดพิกัดที่ตั้งขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่ทะลบ
ละติจุด พิกัด 19.729900739602133
ลองติจุด พิกัด 99.17971665259097
ภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่ทะลบ สภาพโดยทั่วไป พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา มีที่ราบระหว่างภูเขาตอนบนเป็นป่าไม้ ภูเขาสูงสลับซับซ้อน มีที่ราบตามข้างหุบเขาและระหว่างภูเขา มีความสูง 773 เมตร จากระดับน้ำทะเล ปานกลาง (วัดระดับด้วยเครื่อง GPS ที่บริเวณกลางหมู่บ้านห้วยต้นตอง , 15 มกราคม 2555 ) มีแหล่งกำเนิดต้นน้ำ 2 สาย มีแม่น้ำแม่ทะลบและน้ำห้วยเดื่อ
สภาพภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศ เป็นลมมรสุมมี 3 ฤดู คือ
- ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม ระยะเวลาประมาณ 3 เดือน โดยอากาศจะร้อนมากในช่วงเดือนเมษายนถึงต้นเดือนพฤษภาคม
- ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ระยะเวลาประมาณ 6 เดือน โดยเฉลี่ยตกมากในเดือนมิถุนายน
- ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม ระยะเวลาประมาณ 3 เดือน เดือนมกราคมเป็นเดือนที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด
ข้อมูลประชากร
- องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ทะลบ มีจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 2,753 ครัวเรือน มีประชากรรวม 7,322 คน แยกเป็นชาย 3,695 คน หญิง 3,627 คน ความหนาแน่นเฉลี่ย 73.70 คน / ตารางกิโลเมตร ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ทะลบ มีประชากรชุมชนบนพื้นที่สูงเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นชาวเขาประมาณ 2 เผ่า ได้แก่ ลาหู่ (มูเซอ) ลีซอ (ลีซู) อาศัยอยู่ในพื้นที่
เขตติดต่อ
ทิศเหนือ ติดต่อกับ เทศบาลตำบลแม่ข่า อ.ฝาง จ.เชียงใหม่
ทิศใต้ ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลศรีดงเย็น อ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ เทศบาลตำบลไชยปราการ อ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลแม่สรวย อ.แม่สรวย จ.เชียงราย
หน่วยงานในตำบล
1.องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ทะลบ
2.หน่วยงาน ชพส.ที่3203
3.โครงการขยายผลโครงการหลวง
4.หน่วยจัดการต้นน้ำ
5.ศูนย์สงเคราะห์และพัฒนาชาวเขา
6.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
ชื่อแหล่งเรียนรู้
|
ประเภทแหล่งเรียนรู้
|
ที่ตั้ง
|
1. หัตถกรรมปั้นหมอ
|
ด้านหัตถกรรม
|
บ้านสันทราย ม.12 ต.ศรีดงเย็น
|
2. กาดเมืองผี
|
ด้านธรรมชาติ
|
บ้านทรายขาว ม.7 ต.ศรีดงเย็น
|
3. วัดถ้ำตับเต่า
|
ด้านธรรมชาติ
|
บ้านถ้ำตับเตา ม.13 ต.ศรีดงเย็น
|
4. น้ำซาวรู
|
ด้านธรรมชาติ
|
บ้านหนองเบี้ย ม.6 ต
.ศรีดงเย็น
|
5. ป่าพันปี สระมรกต
|
ด้านธรรมชาติ
|
บ้านปางมะขามป้อม ม.14 ต.ศรีดงเย็นเเย็น สต.ศศรีดดงเย็น
|
6. อุทยานแห่งชาติดอยเวียง
ผา
|
ด้านธรรมชาติ
|
บ้านหนองป่าซาง ม.8 ต.ศรีดงเย็น
|
7. อ่างเก็บน้ำแม่ทะลบหลวง
|
ด้านธรรมชาติ
|
บ้านโป่งจ๊อกม.4 ต.แม่ทะลบ
|
8. โรงเพาะเห็ด
|
ด้านอุตสาหกรรม
|
บ้านท่าม.2 ต.ปงตำ
|
9. ศูนย์เศรษฐกิจพอเพียงบ้านมิตรอรัญ
|
ด้านเศรษฐกิจพอเพียง
|
บ้านมิตรอรัญม.4 ต.ปงตำ
|
10. กลุ่มเกษตรกรทำสวนหนองบัว
|
ด้านเศรษฐกิจพอเพียง
|
บ้านหนองบัว หมู่ 3 ต.หนองบัว
|
11. โครงการธนาคารใบไม้
|
ด้านเศรษฐกิจพอเพียง
|
บ้านดง ม.5 ต.แม่ทะลบ
|
12.บ้านพอใจ
|
ด้านเศรษฐกิจพอเพียง
|
บ้านท่า ม.2 ต.ปงตำ
|
13.วัดถ้ำตับเตา
|
ด้านวัฒนธรรม
|
บ้านถ้า ม.13 ต.ศรีดงเย็น
|
14. วัดพระเจ้าพรหมมหาราช
|
ด้านวัฒนธรรม
|
บ้านป่าแดง ม.9 ต.หนองบัว
|
15. ชมรมผู้สูงอายุหนองบัว
|
ด้านศิลปวัฒนธรรม
|
บ้านหนองบัว ม.3 ต.หนองบัว
|
16. หมูหลุมกำจัดขยะ
|
ด้านเศรษฐกิจพอเพียง
|
บ้านท่า ม.2 ต.ปงตำ
|
17. ศูนย์เรียนรู้เทศบาลตำบลไชยปราการ
|
ด้านเศรษฐกิจพอเพียง
|
บ้านท่าม.2 ต.ปงตำ
|
คาร์บอนต่ำ
|
|
|
รวมจำนวน
|
17 แห่ง
|
|
เข้าชม : 2400 |