แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น
1. ถ้ำตับเตา ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านถ้ำตับเตา หมู่ที่ 13 ตำบลศรีดงเย็น ทางเข้าจากเส้นทางหลวงหมายเลข 107 ตรงทางแยกทางด้านทิศตะวันตกตรงกิโลเมตรที่ ถนนโชตนา มีระยะทางเข้าประมาณ 3 กิโลเมตร ภายในบริเวณมีถ้ำมืด-ถ้ำสว่าง มีหินงอกหินย้อยภายในถ้ำ มีความสวยงามมาก ภายในถ้ามีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ นอกจากนี้ยังมีสวนหย่อมที่ร่มรื่น และมีธารน้ำไหลเลี้ยงปลาหลายชนิด
2. อนุสาวรีย์พระเจ้าพรหมมหาราช ตั้งอยู่ที่วัดป่าไม้แดง ในหมู่บ้านป่าไม้แดง หมู่ที่ 9 ตำบลหนองบัว ภายในบริเวณวัดมีสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง เช่น ชมวิหารธรรมานุสสติ ซึ่งภายในมีภาพจิตรกรรม การแกะสลักสวยงาม พระคุ้มเสาหลักเมืองไชยปราการ และสามารถเยี่ยมชมการศึกษาของพระภิกษุ-สามเณรได้
3. ถ้ำผาผึ้ง เป็นโบราณสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา มีถ้ำ 3 ชั้น มีทิวทัศน์ร่มรื่นเป็นสำนักวิปัสสนา ตั้งอยู่ ณ บ้านถ้ำผาผึ้ง หมู่ที่ 4 ตำบลหนองบัว อำเภอไชยปราการ
4. บ่อน้ำแร่ ตั้งอยู่ที่บ้านใหม่หนองบัว หมู่ที่ 10 ตำบลหนองบัว อำเภอไชยปราการ
5. อ่างเก็บน้ำห้วยบง ตั้งอยู่ที่บ้านห้วยบง หมู่ที่ 7 ตำบลปงตำ อำเภอไชยปราการ
6. อ่างเก็บน้ำหนองควายตก หรืออ่างเก็บน้ำไชยปราการ ตั้งอยู่บ้านดงป่าสัก หมู่ที่ 9 ตำบล
ศรีดงเย็น อำเภอไชยปราการ
7. หมู่บ้านคนจีน (จีนฮ่ออพยพ) ตั้งอยู่ที่บ้านถ้ำง็อบ หมู่ที่ 6 ตำบลหนองบัว
8. กาดเมืองผี สถานที่ตั้ง บ้านทรายขาว หมู่ที่ 7 ตำบลศรีดงเย็น อำเภอไชยปราการ
จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากที่ว่าการอำเภอไชยปราการ ไปทางทิศใต้ประมาณ 10 กิโลเมตร
ลักษณะแหล่งท่องเที่ยวเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ที่ธรรมชาติได้สรรสร้าง มีหน้าผาหินที่มีรูปร่างแปลกตาคล้ายกับแพะเมืองผีของจังหวัดแพร่ เมื่อยืนอยู่ที่จุดชมวิวจะเห็นทิวทัศน์ของพื้นที่ตำบลศรีดงเย็นได้อย่างชัดเจนและสวยงาม
9. ภูแสนดาว สถานที่ตั้ง บ้านใหม่หนองบัว หมู่ที่ 10 ตำบลหนองบัว อำเภอไชยปราการ
จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากที่ว่าการอำเภอไชยปราการไปทางทิศตะวันตกประมาณ 10 กิโลเมตร
ลักษณะแหล่งท่องเที่ยว เป็นที่ทำการของหน่วยจัดการต้นน้ำห้วยสูน และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อของอำเภอไชยปราการ มีภูมิทัศน์ที่สวยงามรายล้อมด้วยขุนเขา และมีเรือนพักตากอากาศหลายรูปแบบทั้งบ้านเดี่ยวและเรือนรับรองหมู่คณะ มีการจัดสวนไม้ดอกไม้ประดับที่สวยงามและมีร้านอาหารบริการนักท่องเที่ยว
10. น้ำบ่อซาวรู สถานที่ตั้ง บ้านหนองเบี้ย หมู่ที่ 6 ตำบลศรีดงเย็น อำเภอไชยปราการ
จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากที่ว่าการอำเภอไชยปราการ ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 20 กิโลเมตร
ลักษณะแหล่งท่องเที่ยว เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ บริเวณโดยรวมของน้ำรู อุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้นานาพันธุ์ มีน้ำไหลตลอดปี สามารถใช้ประโยชน์ในการเกษตรได้ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สมบูรณ์ตามธรรมชาติ
11. อ่างเก็บน้ำแม่ทะลบหลวง สถานที่ตั้ง บ้านโป่งจ๊อก หมู่ที่ 4 ตำบลแม่ทะลบ อำเภอไชย
ปราการ จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากที่ว่าการอำเภอไชยปราการ ไปทางทิศตะวันออก ประมาณ 12 กิโลเมตร ลักษณะแหล่งท่องเที่ยว เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง ใช้เก็บน้ำเพื่อการเกษตร และเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาที่ชุมชนสามารถหารายได้จากแหล่งน้ำได้ มีแพไม้ไผ่ไว้บริการนักท่องเที่ยวชมธรรมชาติของอ่างและร้านอาหารบริการนักท่องเที่ยว
12. อุทยานแห่งชาติดอยเวียงผา สถานที่ตั้ง บ้านหนองป่าซาง หมู่ที่ 8 ตำบลศรีดงเย็น
อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากที่ว่าการอำเภอไชยปราการไปทางทิศตะวันออก ประมาณ 11 กิโลเมตร ลักษณะแหล่งท่องเที่ยว เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อของอำเภอไชยปราการ มีภูมิทัศน์ที่สวยงามรายล้อมด้วยขุนเขา และมีเรือนพักตากอากาศหลายรูปแบบ ทั้งบ้านเดี่ยวและเรือนรับรองหมู่คณะมีการจัดสวนไม้ดอกไม้ประดับที่สวยงามมีน้ำตกให้ท่องเที่ยวหลายแห่ง แต่ส่วนใหญ่เส้นทางยังไม่สะดวกนัก เนื่องจากยังอยู่ในระหว่างการพัฒนาพื้นที่ น้ำตกที่เดินทางเข้าถึงสะดวกที่สุดคือ
13. น้ำตกห้วยทรายขาว ซึ่งอยู่บริเวณเดียวกันกับที่ตั้งที่ทำการอุทยานฯ เป็นน้ำตกขนาดเล็ก
มีแอ่งน้ำให้นักท่องเที่ยวลงเล่นน้ำได้แต่ในช่วงฤดูแล้งน้ำน้อย และจะมีน้ำมากในช่วงเดือนพฤษภาคมแต่น้ำจะขุ่นน้ำจะใสช่วงหลังฤดูฝน ชั้นบนของน้ำตกเป็นแอ่งน้ำและมีทรายมากเนื่องจากน้ำพัดเอาทรายมาจากการกัดกร่อนของหินทรายชั้นบน อากาศบริเวณน้ำตกชื้นจนทำให้มีพันธุ์พืชตระกูลมอสเป็นจำนวนมากนอกจากนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆในอุทยานฯ ได้แก่ น้ำตกแม่ฝางหลวง น้ำตกดอยเวียงผา น้ำตกห้วยหาน และจุดชมวิวดอยเวียงผา อุทยานแห่งชาติดอยเวียงผามีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 583 ตารางกิโลเมตรสภาพป่าในพื้นที่ส่วนใหญ่ เป็นป่าดิบเขาและป่าเบญจพรรณ มีดอกกุหลาบพันปี สภาพทั่วไปเป็นป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง และป่าสนเขา นกที่พบ เช่น นกกินปลี และนกพญาไฟ สัตว์ป่าที่พบส่วนใหญ่จะเป็นขนาดกลางและสัตว์ขนาดเล็ก ได้แก่ กระรอก กระต่าย หมูป่า อีเห็น เก้ง เลียงผา เสือไฟ เม่น หมีควาย เป็นต้น
14. บ้านสันทรายปั้นหม้อ สถานที่ตั้ง บ้านสันทราย หมู่ที่ 12 ตำบลศรีดงเย็น อำเภอไชย
ปราการ จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากที่ว่าการอำเภอไชยปราการไปทางทิศตะวันออก ประมาณ 10 กิโลเมตรลักษณะแหล่งท่องเที่ยวเป็นหมู่บ้านหัตถกรรมทั้งหมู่บ้าน โดยการรักษาศิลปวัฒนธรรมการทำเครื่องปั้นดินเผาหลากรูปแบบ ที่ตอบสนองต่อการใช้ในชีวิตประจำวัน จากฝีมือการปั้นและขั้นตอนการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีพื้นบ้านแบบโบราณ จึงทำให้ราษฎรในหมู่บ้านมีความโดดเด่นและมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง จนทำให้สามารถประกอบอาชีพหลักของชุมชนได้และจนเรียกติดปากของคนภายนอกชุมชนว่า “บ้านสันทรายปั้นหม้อ”
แผนที่แสดงเขตอำเภอไชยปราการ
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
|
ความรู้ความสามารถ
|
ที่อยู่
|
1. นาวสาวเบญจลักษณ์ จะแฮ
|
การทอผ้าลาหู่
|
ตำบลศรีดงเย็น
|
2. นางสาวเบญจมาภรณ์ จะกู
|
การทอผ้าลาหู่
|
ตำบลศรีดงเย็น
|
3. นายสายชน จันทร์สม
|
เครื่องปั้นดินเผา
|
ตำบลศรีดงเย็น
|
4. นางมาลี อุตตะมะ
|
เครื่องปั้นดินเผา
|
ตำบลศรีดงเย็น
|
5. นางนงคราญ คาบเพชร
|
การทำเกษตรธรรมชาติ
|
ตำบลปงตำ
|
6. นายพินัย ไชยธง
|
การทำเกษตรธรรมชาติ
|
ตำบลปงตำ
|
7. นางบัวผิน อาภัย
|
การนวดแผนไทย
|
ตำบลปงตำ
|
8. นายสิงห์ทอง เชียงทิศ
|
การทำเครื่องดนตรีพื้นเมือง
|
ตำบลปงตำ
|
9. นางเรือนคำ ชัยวงค์
|
การทำบายศรี
|
ตำบลปงตำ
|
10. นางบุตร ธิราช
|
การตัดตุงแบบล้านนา
|
ตำบลหนองบัว
|
11. นายขจรศักดิ์ วงศ์สุข
|
ดนตรีไทย(พื้นเมือง)
|
ตำบลหนองบัว
|
12. นางทองวัน กิติแก้ว
|
การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
|
ตำบลหนองบัว
|
13. นางอำพันธ์ เวียงสา
|
การตัดเย็บเสื้อผ้า
|
ตำบลแม่ทะลบ
|
14. นายคำมูล เมืองใจ
|
การทำปุ๋ยหมัก
|
ตำบลแม่ทะลบ
|
15. นายทา ขัดคำ
|
การจักสาน
|
ตำบลแม่ทะลบ
|
16. นางปริศนา มะโนเนือง
|
การแปรรูปอาหาร
|
ตำบลแม่ทะลบ
|
รวมจำนวน
|
16 คน
|
|
เข้าชม : 2150 |