[x] ปิดหน้าต่างนี้
 

 
    ข้อมูลทั่วไปของอาเซียน (ASEAN)    

ความเป็นมาของอาเซียน ประชาคมอาเซียน กฎบัตรอาเซียน โครงสร้างอาเซียน ประเทศสมาชิก


      ความเป็นมาของอาเซียน
              
อา เซียน หรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations หรือ ASEAN) ได้ถูกก่อตั้งขึ้นภาใต้ปฏิญญากรุงเทพ (The Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 โดยมีสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ ในเวลาต่อมาได้มีประเทศต่างๆ สมัครเข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไน เวียดนาม ลาว พม่า และกังพูชา ตามลำดับทำให้อาเซียนมีสมาชิกรวมทั้งหมด 10 ประเทศ
วัตถุ ประสงค์ในการก่อตั้งอาเซียน คือ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒธรรม เทคโนโลยี และการบริหาร ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับต่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ นโยบายของอาเซียนจะเป็นผลจากการประชุมหารือเพื่อกำหนดแนวนโยบายในภาพรวมและ เป็นโอกาสที่ประเทศสมาชิกจะได้ร่วมกันประกาศเป้าหมายและแผนการของอาเซียนใน ระยะยาว
อา เซียนมีความร่วมมือทางสังคมและวัฒนธรรมครอบคลุมทุกสาขา ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เยาวชน และได้มีการพัฒนาความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง ในพ.ศ. 2546 ผู้นำประเทศอาเซียนได้เห็นชอบร่วมกันจัดตั้ง “ประชาคม สังคม อาเซียน” ซึ่งมีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมเป็นหนึ่งในเสาหลัก เพื่อให้การพัฒนาการร่วมมือของอาเซียนด้านสังคมและวัฒนธรรมเป็นไปโดยมีทิศ ทางและเป้าหมายที่ชัดเจนยิ่งขึ้น และอาเซียนได้ตั้งเป้าหมายเป็นประชาคมสังคมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community) ในปีพ.ศ. 2558 โดยมุ่งหวังเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีสังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาในทุกด้าน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งเสริมการใช้สอยทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมอัตลักษณ์อาเซียน (ASEAN Identity) เพื่อรองรับการเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ผลลัพย์ที่เกิดจากการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน คือ ประเทศสมาชิกจะมีกลไกและเครื่องมือที่ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพในการแก้ไข ปัญหา การเสริมสร้างความร่วมมือด้านสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งทำให้ประชาชนของประเทศสมาชิกมีความเป็นอยู่ดีกินดีและมีฐานะทางสังคมที่ ทัดเทียมกัน


คำขวัญของอาเซี่ยน
"One Vision, One Identity, One Community" : " หนึ่งวิสัยทัศน์  หนึ่งเอกลักษณ์  หนึ่งประชาคม "


ตราสัญญลักษณ์






ธงของอาเซี่ยน


สัญลักษณ์อาเซียน คือ ต้นข้าวสี เหลือง 10 ต้นมัดรวมกันไว้ หมายถึงประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ และ สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง


<<กลับหน้าแรก>>


      ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community)

         เมื่อเดือนธันวาคม 2540 ผู้นำอาเซียนได้รับรองเอกสาร วิสัยทัศน์อาเซียน 2020 เพื่อกำหนดเป้าหมาย
ว่า ภายในปีค.ศ. 2020 (2563) อาเซียนจะเป็น
            1. วงสมานฉันท์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ - A Concert of Southeast Asian Nations

            2.  หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาอย่างมีพลวัต - A Partnership in Dynamic Development
            3. มุ่งปฏิสัมพันธ์กับประเทศภายนอก - An Outward-Looking ASEAN
            4. ชุมชนแห่งสังคมที่เอื้ออาทร - A Community of Caring Societies

         ในการประชุมผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 9 ระหว่างวันที่ 7-8 ตุลาคม 2546 ที่บาหลี ผู้นำอาเซียนได้ตอบสนองต่อการบรรลุวิสัยทัศน์อาเซียนเพิ่มเติม โดยได้ลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน(Declaration of ASEAN Concord II หรือ Bali Concord II) เห็นชอบให้มีการจัดตั้ง ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ภายในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) ประชาคมอาเซียนนี้จะประกอบด้วย 3 เสาหลัก (pillars) ได้แก่ ประชาคมความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community–ASC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(ASEAN Economic Community-AEC) และประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community-ASCC)

          ต่อมา ในระหว่างการประชุมผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 10 เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2547 ที่เวียงจันทน์ผู้นำอาเซียนได้รับรองและลงนามเอกสารสำคัญที่จะวางกรอบความร่วมมือเพื่อบรรลุการจัดตั้งประชาคมอาเซียนต่อไป ได้แก่
1. แผนปฏิบัติการของประชาคมความมั่นคงอาเซียน
2. กรอบความตกลงว่าด้วยสินค้าสำคัญซึ่งจะช่วยเร่งรัดความร่วมมือด้านสินค้าและบริการ 11 สาขา (Wood-based products and automotives, Rubber-based products and textiles and apparels, Agro-based products and fisheries, Electronics, e-ASEAN and healthcare, Air Travel and tourism) ภายในปี ค.ศ. 2010 (พ.ศ. 2553)
3. แผนปฏิบัติการประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน

         ในระหว่างการประชุมผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 10 ผู้นำอาเซียนยังได้รับรอง แผนปฏิบัติการเวียงจันทน์ (Vientiane Action Programme - VAP) เป็นแผนดำเนินความร่วมมือในช่วงปีพ.ศ. 2547-2553 โดยได้กำหนดแนวคิดหลักหรือ Theme ของแผนปฏิบัติการฯ ไว้ว่า “Towards shared prosperity destiny in an integrated, peaceful and caring ASEAN Community” VAP จึงเท่ากับเป็นการจัดลำดับความสำคัญของแผนงานและโครงการของประชาคมอาเซียนที่จะเร่งปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตาม theme ดังกล่าว

          ที่ประชุมผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 10 เห็นชอบให้จัดตั้ง กองทุนเพื่อการพัฒนาอาเซียน (ASEAN Development Fund) โดยแปลงจากกองทุนอาเซียนเดิม เพื่อนำมาเป็นแหล่งเงินทุนเพื่อดำเนินกิจกรรมและโครงการต่างๆ ของแผนปฏิบัติการเวียงจันทน์ (VAP) อันจะเป็นการส่งเสริมการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน และเป็นกองทุนที่สามารถระดมความสนับสนุนทั้งจากประเทศคู่เจรจาและแหล่งทุนอื่นๆ ซึ่งขณะนี้ ประเทศสมาชิกอาเซียนกำลังอยู่ในระหว่างดำเนินการ คาดว่าจะสามารถจัดตั้งกองทุนดังกล่าวได้ภายในปีนี้ โดยจะมีการลงนามความตกลงจัดตั้งกองทุนดังกล่าวในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 38 ในเดือนกรกฎาคม 2548

ประชาคมความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community–ASC)
         มีวัตถุประสงค์ที่จะทำให้ประเทศในภูมิภาคอยู่อย่างสันติสุข แก้ไขปัญหาภายในภูมิภาคโดยสันติวิธีและยึดมั่นในหลักความมั่นคงรอบด้าน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว ประชาคมความมั่นคงอาเซียนจะ 
        (1) ใช้เอกสารทางการเมืองและกลไกของอาเซียนที่มีอยู่แล้วในการเพิ่มศักยภาพในการแก้ไขปัญหา
ข้อพิพาทภายในภูมิภาค รวมทั้งการต่อต้านการก่อการร้าย การลักลอบ ค้ายาเสพติด การค้ามนุษย์ อาชญากรรมข้ามชาติอื่นๆ และการขจัดอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง 
        (2) ริเริ่มกลไกใหม่ๆ ในการ
เสริมสร้างความมั่นคง และกำหนดรูปแบบใหม่สำหรับความร่วมมือในด้านนี้ ซึ่งรวมไปถึงการกำหนดมาตรฐานการป้องกันการเกิดข้อพิพาท การแก้ไขข้อพิพาท และการส่งเสริมสันติภาพภายหลังจากการเกิดข้อพิพาท 
        (3) ส่งเสริมความร่วมมือด้านความมั่นคงทางทะเล ซึ่งอาเซียนยังไม่มีความร่วมมือ
ด้านนี้ ทั้งนี้ ความร่วมมือข้างต้นจะไม่กระทบต่อนโยบายต่างประเทศ และความร่วมมือทางทหารของประเทศสมาชิกกับประเทศนอกภูมิภาค

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community-AEC)
         ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กำหนดวัตถุประสงค์ตามวิสัยทัศน์อาเซียน 2020 ที่จะให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆ ได้ โดย 
        (1) มุ่งให้เกิดการ
ไหลเวียนอย่างเสรีของสินค้า การบริการ การลงทุน เงินทุน การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และการลดปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางสังคมภายในปี ค.ศ. 2020 
        (2) มุ่งที่จะจัดตั้งให้อาเซียน
เป็นตลาดเดียวและเป็นฐานการผลิต โดยจะริเริ่มกลไกและมาตรการใหม่ๆ ในการปฏิบัติตามข้อริเริ่มทางเศรษฐกิจที่มีอยู่แล้ว 
        (3) ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียน (กัมพูชา ลาว พม่า
และเวียดนาม หรือ CLMV) เพื่อลดช่องว่างของระดับการพัฒนา และช่วยให้ประเทศเหล่านี้เข้าร่วมในกระบวนการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน 
        (4) ส่งเสริมความร่วมมือในนโยบายการเงินและเศรษฐกิจ
มหภาค ตลาดการเงิน และตลาดเงินทุน การประกันภัยและภาษีอากร การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการคมนาคม กรอบความร่วมมือด้านกฎหมาย การพัฒนาความร่วมมือด้านการเกษตร พลังงาน การท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยการยกระดับการศึกษาและการพัฒนาฝีมือ

         ในการนี้ ผู้นำอาเซียนได้เห็นชอบให้เร่งรัดการรวมกลุ่มสินค้าและบริการสำคัญจำนวน 11 สาขาให้เป็นสาขานำร่อง ได้แก่ สินค้าเกษตร / สินค้าประมง / ผลิตภัณฑ์ไม้ / ผลิตภัณฑ์ยาง / สิ่งทอ / ยานยนต์ /อิเล็กทรอนิกส์ / เทคโนโลยีสารสนเทศ (e-ASEAN) / การบริการด้านสุขภาพ, ท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ (การบิน) ซึ่งอาเซียนได้ดำเนินการดังนี้
        1) กำหนดให้ประเทศสมาชิกรับผิดชอบในการจัดทำ Roadmap ในแต่ละสาขา ได้แก่
          - ไทย: ท่องเที่ยวและและการขนส่งทางอากาศ (การบิน)
          - พม่า: สินค้าเกษตรและสินค้าประมง
          - อินโดนีเซีย: ยานยนต์และผลิตภัณฑ์ไม้
          - มาเลเซีย: ยางและสิ่งทอ
          - ฟิลิปปินส์: อิเล็กทรอนิกส์
          - สิงคโปร์: เทคโนโลยีสารสนเทศ และการบริการด้านสุขภาพ
       2) จัดทำกรอบความตกลงว่าด้วยการรวมกลุ่มสินค้าและบริการ 11 สาขาดังกล่าว คือ Framework Agreement for the Integration of the Priority Sectors และพิธีสาร1สำหรับแต่ละสาขา คือASEAN Sectoral Integration Protocol อีก 11 ฉบับ เพื่อกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับมาตรการร่วมที่จะใช้ในการรวมกลุ่มสินค้าและบริการสำคัญทุกสาขา โดยมีมาตรการสำคัญคือ การเปิดเสรีการค้าสินค้า การค้าบริการ การลงทุน การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน การส่งเสริมการค้าและการลงทุน และความร่วมมือในด้านอื่นๆ
          3) กำหนดให้ปี ค.ศ. 2010 เป็น deadline สำหรับการรวมตัวของสินค้าและบริการ 11 สาขาดังกล่าว โดยให้มีการผ่อนปรนสำหรับประเทศกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม (CLMV)  

ประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community-ASCC)
           ประชาคม สังคม-วัฒนธรรมอาเซียน มีจุดมุ่งหมายที่จะทำให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ร่วมกันในสังคม ที่เอื้ออาทร ประชากรมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี ได้รับการพัฒนาในทุกด้าน และมีความมั่นคงทางสังคม (social security) โดยเน้นการส่งเสริมความร่วมมือในด้านต่างๆ อาทิ 
(1) การพัฒนาสังคม โดยการยกระดับความเป็นอยู่ของผู้ด้อยโอกาสและผู้ที่อาศัยในถิ่นทุระกันดาร และส่งเสริมการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันของกลุ่มต่างๆ ในสังคม 
( 2) การพัฒนาการฝึกอบรม การศึกษาระดับพื้นฐานและสูงกว่า การพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การสร้างงาน และการคุ้มครองทางสังคม 
(3) การส่งเสริมความร่วมมือในด้านสาธารณสุขโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ เช่นโรคเอดส์ และโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง 
(4) การจัดการปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม 
(5) การส่งเสริมการปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเขียน นักคิดและศิลปินในภูมิภาค

       แผนปฏิบัติการของประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน เน้นการดำเนินการใน 4 ประเด็นหลัก คือ
(1) สร้างประชาคมแห่งสังคมที่เอื้ออาทร โดยเน้นการแก้ไขปัญหาความยากจน เสริมสร้างความเสมอภาค และการพัฒนามนุษย์ อาทิ การพัฒนาสตรี เด็ก และเยาวชน การส่งเสริมสวัสดิการสังคม การพัฒนาชนบทและขจัดความยากจน การพัฒนาการศึกษาและสาธารณสุข และการเสริมสร้างความมั่นคงของมนุษย์ (human security) ในด้านต่างๆ ซึ่งรวมถึงการปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติและการป้องกันและจัดการภัยพิบัติ
(2) แก้ไขผลกระทบต่อสังคมอันเนื่องมาจากการรวมตัวทางเศรษฐกิจ โดยสร้างฐานทรัพยากรมนุษย์ที่สามารถแข่งขันได้ดีและมีระบบการป้องกันทางสังคมที่เพียงพอ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาและส่งเสริมแรงงาน และเสริมสร้างความร่วมมือในด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สวัสดิการสังคม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสาธารณสุข (ปัญหาที่มากับโลกาภิวัต เช่น โรคระบาด โรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำ)
(3) ส่งเสริมความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมและการจัดการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้อง โดยมีกลไกที่พัฒนาอย่างสมบูรณ์สำหรับจัดการและดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม ตลอดจนการป้องกันและขจัดภัยพิบัติด้านสิ่งแวดล้อม

(4) เสริมสร้างรากฐานที่จะนำไปสู่ประชาคมอาเซียนในปี ค.ศ.2020 ซึ่งจะเป็นภูมิภาคที่ประชาชนตระหนักถึงอัตลักษณ์ (identity) ร่วมกันของภูมิภาคท่ามกลางความหลากหลายทางด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ด้วยการส่งเสริมความเข้าใจระหว่างประชาชนในระดับและวงการต่างๆ การเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของกันและกัน และการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของกันและกัน (การส่งเสริมด้านวัฒนธรรมและสนเทศ)

<<กลับหน้าแรก>>



      กฎบัตรอาเซียน
      1) กฎ บัตรอาเซียนเป็นเสมือนธรรมนูญของอาเซียนที่จะวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้าง องค์กร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนในการดำเนินการ ตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 (ค.ศ. 2015) ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้ 
      2) วัตถุประสงค์ของกฎบัตรฯ คือ ทำให้อาเซียนเป็นองค์การที่มีประสิทธิภาพ มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และเคารพกฎกติกาในการทำงานมากขึ้น นอกจากนี้ กฎบัตรฯ จะให้สถานะนิติบุคคลแก่อาเซียนเป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล (intergovernmental organization) 
      3) กฎบัตรฯ ประกอบด้วยข้อบทต่างๆ 13 บท 55 ข้อ มีประเด็นใหม่ที่แสดงความก้าวหน้าของอาเซียน ได้แก่ (1) การจัดตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชนของอาเซียน (2) การให้อำนาจเลขาธิการอาเซียนสอดส่องและรายงานการทำตามความตกลงของรัฐสมาชิก (3) การจัดตั้งกลไกสำหรับการระงับข้อพิพาทต่างๆ ระหว่างประเทศสมาชิก (4) การให้ผู้นำเป็นผู้ตัดสินว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อรัฐผู้ละเมิดพันธกรณีตาม กฎบัตรฯ อย่างร้ายแรง (5) การเปิดช่องให้ใช้วิธีการอื่นในการตัดสินใจได้หากไม่มีฉันทามติ (6) การส่งเสริมการปรึกษาหารือกับระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อแก้ไขปัญหาที่กระทบ ต่อผลประโยชน์ร่วม ซึ่งทำให้การตีความหลักการห้ามแทรกแซงกิจการภายในมีความยืดหยุ่นมากขึ้น (7) การเพิ่มบทบาทของประธานอาเซียนเพื่อให้อาเซียนสามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุก เฉินได้อย่างทันท่วงที (8) การเปิดช่องทางให้อาเซียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับองค์กรภาคประชาสังคมมากขึ้น และ (9) การปรับปรุงโครงสร้างองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น ให้มีการประชุมสุดยอดอาเซียน 2 ครั้ง ต่อปีจัดตั้งคณะมนตรีเพื่อประสานความร่วมมือในแต่ละ 3 เสาหลัก และการมีคณะผู้แทนถาวรประจำอาเซียน ที่กรุงจาการ์ตา เพื่อลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการประชุมของอาเซียน เป็นต้น 
      4) กระบวนการจัดทำกฎบัตรอาเซียนเริ่มขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2548 ซึ่งที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 11 ได้ตั้งคณะผู้ทรงคุณวุฒิเรื่องกฎบัตรอาเซียน (Eminent Persons Group on the ASEAN Charter-EPG) เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับทิศทางการรวมตัวของอาเซียนและสาระสำคัญที่ควร มีปรากฏในกฎบัตรฯ ต่อมาในเดือนมกราคม 2550 ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 12 มอบหมายให้คณะทำงานระดับสูงในการยกร่างกฎบัตรอาเซียน (High Level Task Force on the ASEAN Charter-HLTF) ทำการยกร่างกฎบัตรฯ ให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปีและเมื่อการยกร่างแล้วเสร็จ ผู้นำอาเซียนก็ได้ลงนามกฎบัตรฯ ในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 13 ที่สิงคโปร์ เมื่อวันที่ 20 พ.ย. 2550 และได้ประกาศปฏิญญาเรียกร้องให้รัฐสมาชิกให้สัตยาบันต่อกฎบัตรฯ โดยเร็ว 
        
         
การดำเนินการเกี่ยวกับการมีผลใช้บังคับของกฎบัตรฯ โดย ที่รัฐสมาชิกได้ให้สัตยาบันกฎบัตรฯ ครบทั้ง 10 ประเทศแล้วเมื่อวันที่ 15 พ.ย. 2551 กฎบัตรฯ จึงมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 ธ.ค. 2551 เป็นต้นไป และในขณะนี้ประเทศสมาชิกได้จัดตั้งคณะทำงานระดับสูงขึ้น 2 คณะ เพื่อพิจารณาประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎบัตรอาเซียน ได้แก่การยกร่างขอบเขตอำนาจหน้าที่ของกลไกสิทธิมนุษยชนอาเซียน และการพิจารณาประเด็นด้านกฎหมายต่าง ๆ เช่น นิติฐานะของอาเซียน กลไกระงับข้อพิพาท และการให้เอกสิทธิ์และความคุ้มกันแก่บุคลากรของอาเซียน 
         
         ความสำคัญของกฎบัตรอาเซียนต่อประเทศไทย ไทย เป็น 1 ใน 5 ของผู้ร่วมก่อตั้งอาเซียน เป็นสถานที่กำเนิดของอาเซียน อีกทั้งยังมีบทบาทนำในอาเซียนมาโดยตลอด โดยล่าสุด ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ ได้เข้ารับตำแหน่งเลขาธิการอาเซียนเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2551 โดยมีวาระ 5 ปีซึ่งเป็นการเน้นย้ำถึงบทบาทนำของไทยในเวทีนี้และการมีกฎบัตรอันจะช่วยให้ อาเซียนมีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น จะเป็นการสะท้อนความสำเร็จทั้งของไทยและภูมิภาคนี้โดยรวม 
         กฎบัตรฯ ให้ความสำคัญกับการปฎิบัติตามพันธกรณีต่างๆ ของประเทศสมาชิก ซึ่งจะช่วยสร้างเสริมหลักประกันให้กับไทยว่า จะสามารถได้รับผลประโยชน์ตามที่ตกลงกันไว้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย นอกจากนี้ การปรับปรุงการดำเนินงานและโครงสร้างองค์กรของอาเซียนให้มีประสิทธิภาพมาก ขึ้น และการเสริมสร้างความร่วมมือในทั้ง 3 เสาหลักของประชาคมอาเซียนจะเป็นฐานสำคัญที่จะทำให้อาเซียนสามารถตอบสนองต่อ ความต้องการและผลประโยชน์ของรัฐสมาชิก รวมทั้งยกสถานะและอำนาจต่อรอง และภาพลักษณ์ของประเทศสมาชิกในเวทีระหว่างประเทศได้ดียิ่งขึ้น
นอก จากนี้ กฎบัตรเป็นเครื่องมือที่จะทำให้อาเซียนรวมตัวเป็นประชาคมได้เร็วขึ้น ซึ่งจะเอื้อให้ไทยสามารถผลักดันและได้รับผลประโยชน์ด้านต่างๆ เพิ่มมากขึ้นด้วย ตัวอย่างเช่น
• อาเซียนขยายตลาดให้กับสินค้าไทยจากประชาชนไทย 60 ล้านคน เป็นประชาชนอาเซียนกว่า 550 ล้านคน และปัจจุบันอาเซียนเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของไทยอยู่แล้ว (การค้าระหว่างไทย-อาเซียนในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2550 มีมูลค่า 26,494.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 19.2 ของการมูลค่าการค้าทั้งหมดของไทย โดยไทยเกินดุล 3,172.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) การรวมตัวกันอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้นทางด้านเศรษฐกิจ ประกอบกับการขยายความร่วมมือเพื่อเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐาน เช่น เส้นทางคมนาคม ระบบไฟฟ้า โครงข่ายอินเตอร์เน็ต ฯลฯ จะช่วยเพิ่มโอกาสทางการค้าและการลงทุนให้กับไทย นอกจากนี้ อาเซียนยังเป็นทั้งแหล่งเงินทุนและเป้าหมายการลงทุนของไทย และไทยได้เปรียบประเทศสมาชิกอื่นที่มีที่ตั้งอยู่ใจกลางอาเซียน สามารถเป็นศูนย์กลางทางการคมนาคมและขนส่งของประชาคม ซึ่งมีการเลื่อนย้ายสินค้า บริการ และบุคคล ระหว่างประเทศสมาชิกที่สะดวกขึ้น
• อาเซียนช่วยส่งเสริมความร่วมมือในภูมิภาคเพื่อเผชิญกับภัยคุกคามที่ส่งผล กระทบต่อประชาชนโดยตรง เช่น SARs ไข้หวัดนก การค้ามนุษย์ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ หมอกควัน ยาเสพติด ปัญหาโลกร้อน และปัญหาความยากจน เป็นต้น
• อาเซียนจะช่วยเพิ่มอำนาจต่อรองของไทยในเวทีโลก และเป็นเวทีที่ไทยสามารถใช้ในการผลักดันให้มีการแก้ไขปัญหาของเพื่อนบ้านที่ กระทบมาถึงไทยด้วย เช่น ปัญหาพม่า ในขณะเดียวกัน ความสัมพันธ์พหุภาคีในกรอบอาเซียนจะเกื้อหนุนความสัมพันธ์ของไทยใน กรอบทวิภาคี เช่น ความร่วมมือกับมาเลเซียในการแก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนใต้ด้วย

<<กลับหน้าแรก>>


 

      โครงสร้างอาเซี่ยน

          องค์กรสูงสุดของอาเซียนคือ ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนหรือที่ประชุมของประมุขหรือหัวหน้ารัฐบาลของประเทศ สมาชิกอาเซียน (ASEAN Summit) โดยจะมีที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ (ASEAN Ministerial Meeting) และที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Ministers’ Meeting) เป็นองค์กรระดับรอง และอาจมีที่ประชุมระดับรัฐมนตรีด้านอื่นๆ ด้วย การประชุมระดับผู้นำและรัฐมนตรีถือเป็นองค์กรระดับนโยบายชั้นสูง รองลงมาจะเป็นที่ประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส หรือระดับปลัดกระทรวง (Senior Officials’ Meeting -SOM) ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย และเร่งรัดการดำเนินการตามนโยบายของที่ประชุมระดับผู้นำและระดับรัฐมนตรี ส่วนที่ประชุมคณะกรรมการประจำอาเซียน (ASEAN Standing Committee -ASC) ซึ่งประกอบด้วยอธิบดีกรมอาเซียนของประเทศสมาชิก จะทำหน้าที่กำหนดแนวทาง และเร่งรัดการดำเนินการตามมติที่ประชุมสุดยอดอาเซียนและที่ประชุมระดับ รัฐมนตรี รวมทั้งให้ความเห็นชอบโครงการความร่วมมือด้านต่างๆ ภายในอาเซียนและระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา ตลอดจนรับทราบผลการดำเนินงานของสำนักเลขาธิการอาเซียน ทั้งนี้ อาเซียนจะตัดสินใจในเรื่องใดๆ โดยใช้ฉันทามติ

         นอกจากนี้ ยังมีคณะกรรมการอาเซียนในประเทศที่สาม (ASEAN Committee in Third Countries) ซึ่งประกอบด้วยเอกอัครราชทูตของประเทศสมาชิกอาเซียนในประเทศคู่เจรจาทั้ง 10 ประเทศ และในประเทศอื่นๆ ที่อาเซียนเห็นสมควรให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการอาเซียนในประเทศที่สามจะทำ หน้าที่ให้ข้อมูลและวิเคราะห์ท่าทีของประเทศที่คณะกรรมการอาเซียนตั้งอยู่

        สำนักเลขาธิการอาเซียนซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงานในการดำเนินความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก มีเลขาธิการอาเซียนเป็นหัวหน้าผู้บริหารสำนักงานเลขาธิการอาเซียนจะได้รับ การเสนอชื่อและแต่งตั้งโดยประเทศสมาชิก (ตามลำดับตัวอักษรภาษาอังกฤษของชื่อประเทศสมาชิก) และมีรองเลขาธิการอาเซียน 4 คน โดย 2 คนมาจากประเทศสมาชิกอาเซียนเรียงลำดับตามตัวอักษรชื่อภาษาอังกฤษของประเทศ และอีก 2 คนมาจากการคัดเลือกในระบบเปิด สำนักเลขาธิการอาเซียนจะมีหน่วยงานเฉพาะด้านที่ดำเนินความร่วมมือในด้าน ต่างๆ ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม

         ในขณะที่กรมอาเซียนของประเทศสมาชิกจะทำหน้าที่เป็นสำนักเลขาธิการแห่งชาติ ของแต่ละประเทศ ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ของประเทศตนในการดำเนินกิจกรรมความร่วมมือในสาขาต่างๆ นโยบายหลักในการดำเนินงานของอาเซียนเป็นผลมาจากการประชุมหารือในระดับหัว หน้ารัฐบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีเศรษฐกิจ และรัฐมนตรีในสาขาความร่วมมือต่างๆ ของประเทศสมาชิก

         อย่างไรก็ดี โครงสร้างของอาเซียน รวมทั้งสำนักเลขาธิการอาเซียนตามที่กล่าวมาข้าวต้นได้ถูกปรับเปลี่ยนตามกฎ บัตรอาเซียนที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ธ.ค. 2552


<<กลับหน้าแรก>>

     
      ประเทศสมาชิก
 



                                                        
1.ประเทศไทย                      2.ประเทศอินโดนีเซีย               3.ประเทศฟิลิปปินส์                  4.ประเทศมาเลเซีย                5.ประเทศสิงคโปร์     

                                                         
6.ประเทศบรูไนดารุสซาลาม        7.ประเทศเวียดนาม                    8.ประเทศลาว                        9.ประเทศพม่า                     10.ประเทศกัมพูชา       

<<กลับหน้าแรก>>




เข้าชม : 598
 
 
ห้องสมุดประชาชนอำเภอไชยปราการ  จังหวัดเชียงใหม่ 
711/1 หมู่ 2 ตำบลปงตำง  อำเภอไชยปราการ  จังหวัดเชียงใหม่ 0-5387-0657 
โทรสาร  0-5345-7766  
เว็บตรง Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05HD  Update by   นายบุญมา มาดี