[x] ปิดหน้าต่างนี้
 




 

เนื้อหา : สาระน่ารู้พัฒนาทักษะชีวิต
หมวดหมู่ : เครือข่ายจัดการศึกษานอกโรงเรียน
หัวข้อเรื่อง : ประวัติศาสตร์ชาติไทย

พุธ ที่ 6 เดือน มิถุนายน พ.ศ.2561


 
 

1 ประวัติศาสตร์ชาติไทย

การศึกษาประวัติศาสตร์ไทยมักเริ่มนับตั้งแต่สมัยอาณาจักรสุโขทัยเป็นต้นมา หากแต่ในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบัน พบหลักฐานของมนุษย์ซึ่งมีอายุเก่าแก่ที่สุดถึงห้าแสนปี[1] ตลอดจนหลักฐานของอารยธรรมและรัฐโบราณเป็นจำนวนมาก

ภูมิภาคสุวรรณภูมิเคยถูกชาวมอญ เขมรและมาเลย์ปกครองมาก่อน ต่อมา คนไทยได้สถาปนาอาณาจักรของตนเอง เช่น อาณาจักรสุโขทัย ไล่เลี่ยกันกับอาณาจักรล้านนา อาณาจักรเชียงแสน และอาณาจักรอยุธยา อาณาจักรสุโขทัยเจริญรุ่งเรืองในช่วงเวลาค่อนข้างสั้นประมาณ 200 ปี ก็ถูกผนวกรวมกับอาณาจักรอยุธยา

อาณาจักรอยุธยาเป็นอาณาจักรที่รุ่งเรืองมั่งคั่ง เป็นศูนย์กลางการค้าระดับนานาชาติ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงปฏิรูปการปกครอง ซึ่งบางส่วนใช้สืบมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และยังทรงตราพระราชกำหนดศักดินา ทำให้อยุธยาเป็นสังคมศักดินา อยุธยาเริ่มติดต่อกับชาติตะวันตกเมื่อ พ.ศ. 2054 หลังโปรตุเกสยึดครองมะละกา หลังจากนั้นใน พ.ศ. 2112 กรุงศรีอยุธยาตกเป็นประเทศราชของราชวงศ์ตองอูแห่งพม่าสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกาศอิสรภาพในอีก 15 ปีให้หลัง อาณาจักรอยุธยาเจริญถึงขีดสุดหลังจากนั้น ทั้งความสัมพันธ์กับต่างประเทศก็รุ่งเรืองมากในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อาณาจักรอยุธยาเริ่มเสื่อมลง จนล่มสลายลงอย่างสิ้นเชิงใน พ.ศ. 2310

พระยาตากได้รวบรวมไพร่พลกอบกู้เอกราช และย้ายราชธานีมายังกรุงธนบุรี รัชสมัยของพระองค์ถือเป็นช่วงเวลาของการทำสงครามและการฟื้นฟูความเจริญของชาติ อาณาจักรธนบุรีมีพระมหากษัตริย์ปกครองพระองค์เดียว กินระยะเวลาเพียง 15 ปี แล้วพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 กรุงรัตนโกสินทร์ยังเผชิญกับภัยคุกคามจากประเทศเพื่อนบ้าน กระทั่งรัชกาลที่ 4

การลงนามในสนธิสัญญาเบาว์ริง ทำให้ชาติตะวันตกหลายชาติเข้ามาทำสนธิสัญญาอันไม่เป็นธรรมอีกหลายฉบับ ต่อมา แม้จะมีการยกดินแดนให้ฝรั่งเศสและอังกฤษหลายครั้ง แต่สยามไม่เคยตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก กุศโลบายของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทำให้ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยอยู่ฝ่ายสัมพันธมิตร อันทำให้สยามได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ และนำมาซึ่งการแก้ไขสนธิสัญญาอันไม่เป็นธรรมทั้งหลาย

วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตย ทำให้คณะราษฎรเข้ามามีบทบาทในทางการเมือง ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศไทยได้ลงนามเป็นพันธมิตรทางทหารกับญี่ปุ่น แต่ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยได้ดำเนินนโยบายเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกา มีนโยบายต่อต้านการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค

หลังการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง ประเทศไทยยังถือได้ว่าอยู่ในระบอบเผด็จการในทางปฏิบัติอยู่หลายทศวรรษ ประเทศไทยประสบกับความไร้เสถียรภาพทางการเมือง และมีการสืบทอดอำนาจรัฐบาลทหารผ่านรัฐประหารหลายสิบครั้ง อย่างไรก็ดี หลังจากนั้นได้มีเหตุการณ์เรียกร้องประชาธิปไตยครั้งสำคัญในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ประชาธิปไตยในประเทศเริ่มมีความมั่นคงยิ่งขึ้น

การแบ่งยุคสมัย

การจัดแบ่งยุคทางประวัติศาสตร์ของไทยนั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงแสดงพระทัศนะไว้ในพระนิพนธ์เรื่อง "ตำนานหนังสือพระราชพงศาวดาร" ในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาเมื่อ พ.ศ. 2457 ถึงการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ของไทยไว้ว่า"เรื่องพระราชพงศาวดารสยาม ควรจัดแบ่งเป็น 3 ยุค คือ เมื่อกรุงสุโขทัยเป็นราชธานียุค 1 เมื่อกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานียุค 1 เมื่อกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานียุค 1"[2] ซึ่งการลำดับสมัยทางประวัติศาสตร์แบบเส้นตรง (Linear) โดยวางโครงเรื่องผูกกับกำเนิดและการล่มสลายของรัฐ กล่าวคือใช้รัฐหรือราชธานีเป็นศูนย์กลางเช่นนี้ ยังคงมีอิทธิพลอยู่มากต่อการเข้าใจประวัติศาสตร์ไทยในปัจจุบัน

ในปัจจุบัน มีข้อเสนอใหม่ ๆ เกี่ยวกับโครงเรื่องประวัติศาสตร์ไทยขึ้นมาบ้าง ที่สำคัญคือ ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ได้เสนอถึงหัวข้อสำคัญที่ควรเป็นแกนกลางของประวัติศาสตร์แห่งชาติไทยไว้ 8 หัวข้อ ดังนี้[3]

·         การตั้งถิ่นฐานของผู้คน นับตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ถึงยุคประวัติศาสตร์ตอนต้น

·         การเข้ามาของอารยธรรมใหญ่ คืออินเดียและจีน

·         ความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในคริสต์ศตวรรษที่ 13

·         ยุคสมัยของการค้า (คริสต์ศตวรรษที่ 15-17)

·         ก่อนสมัยใหม่

·         รัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์สยาม

·         การปฏิวัติ 2475 และกำเนิดรัฐประชาชาติในทางทฤษฎี

·         การปฏิวัติ 14 ตุลาคม 2516                                            

1 ประวัติศาสตร์ชาติไทย >

สมัยอาณาจักรสุโขทัย และยุครุ่งเรืองของอาณาจักรล้านนา

ดูบทความหลักที่: อาณาจักรสุโขทัย และ อาณาจักรล้านนา

นครรัฐของไทยค่อย ๆ เป็นอิสระจากจักรวรรดิขะแมร์ที่เสื่อมอำนาจลง กล่าวกันว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ทรงสถาปนาราชอาณาจักรที่เข้มแข็งและมีเอกราชเมื่อ พ.ศ. 1781 อาณาจักรสุโขทัยมีการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราช แต่ในรูปแบบที่นักประวัติศาสตร์เรียกว่า ปิตุราชา หรือ พ่อปกครองลูก ที่ผู้ปกครองใกล้ชิดกับผู้ใต้ปกครอง ราษฎรสามารถสั่นกระดิ่งหน้าพระราชวังเพื่อร้องทุกข์แก่พระมหากษัตริย์ได้โดยตรง อาณาจักรสุโขทัยแผ่ขยายดินแดนออกไปอย่างกว้างขวางในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ผู้ประดิษฐ์อักษรไทย หากเป็นช่วงสั้น ๆ เสถียรภาพของอาณาจักรได้อ่อนแอลงภายหลังการสวรรคตของพระองค์[13] รัชสมัยพญาลิไทมีการเปลี่ยนรูปแบบการปกครองมาเป็นธรรมราชา จากการรับอิทธิพลของศาสนาพุทธนิกายเถรวาท แบบลังกาวงศ์ อาณาจักรสุโขทัยเสื่อมลงและตกเป็นเมืองขึ้นของรัฐไทยอีกรัฐหนึ่งที่อุบัติขึ้น คือ อาณาจักรอยุธยาในพื้นที่เจ้าพระยาตอนล่าง

ในเวลาไล่เลี่ยกัน พญามังรายได้สถานปนาอาณาจักรล้านนาขึ้นในปี พ.ศ. 1802 โดยได้ขยายอำนาจมาจากลุ่มแม่น้ำกกและอิง สู่ลุ่มแม่น้ำปิง พญามังรายได้สร้างเมืองเชียงใหม่ และทรงมีสัมพันธ์อันดีกับพ่อขุนรามคำแหงแห่งสุโขทัย อาณาจักรเชียงใหม่หรือล้านนา มีอำนาจสืบต่อมาในแถบลุ่มแม่น้ำปิง อย่างไรก็ตาม เชียงใหม่มีความสัมพันธ์ที่ไม่ราบรื่นนักกับอาณาจักรอยุธยาหรือกรุงศรีอยุธยา ที่เรืองอำนาจในพุทธศตวรรษที่ 19-20 มีการทำสงครามผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะอย่างต่อเนื่อง ในที่สุดเชียงใหม่ได้ปราชัยต่อพม่า ในปีพ.ศ. 2101 ถูกพม่ายึดครองอีกครั้งในราวปี 2310 กระทั่งเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2318 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และ พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ ได้ทรงขับไล่พม่าออกจากดินแดนล้านนา โดยหลังจากนั้น พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ ได้ทรงปกครองอาณาจักรล้านนา ในฐานะประเทศราชสยาม

สาเหตุการเลือกอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย

นักวิชาการให้เหตุผลในการเลือกเอาอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทยไว้ 2 เหตุผล ได้แก่:

1.             วิชาประวัติศาสตร์มักจะยึดเอาการที่มนุษย์เริ่มมีภาษาเขียนเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ หลักฐานประเภทลายลักษณ์ถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ซึ่งเมื่อประกอบกับการประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช จึงเหมาะสมที่จะเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย

2.             เป็นการสะดวกในด้านการนับเวลาและเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องกัน ทั้งนี้ นักประวัติศาสตร์มีหลักฐานความสืบเนื่องกันตั้งแต่สมัยสุโขทัยมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบัน

ทว่า เหตุผลทั้งสองประการก็ยังไม่เป็นที่ยอมรับกันอย่างเป็นเอกฉันท์นัก[14]                      

1 ประวัติศาสตร์ชาติไทย >

สมัยอาณาจักรอยุธยา กรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์

ดูบทความหลักที่: อาณาจักรอยุธยา

พระเจ้าอู่ทองทรงก่อตั้งอาณาจักรอยุธยาในปี พ.ศ. 1893 ซึ่งในช่วงแรกนั้นก็มิได้เป็นศูนย์กลางของชาวไทยในดินแดนคาบสมุทรอินโดจีนทั้งปวง แต่ด้วยความเข้มแข็งที่ทวีเพิ่มขึ้นประกอบกับวิธีการทางการสร้างความสัมพันธ์กับชาวไทยกลุ่มต่าง ๆ ในที่สุดอยุธยาก็สามารถรวบรวมกลุ่มชาวไทยต่าง ๆ ในดินแดนแถบนี้ให้เข้ามาอยู่ภายใต้อำนาจได้ นอกจากนี้ยังกลายมาเป็นรัฐมหาอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างรวดเร็ว

การเข้าแทรกแซงสุโขทัยอย่างต่อเนื่องทำให้อาณาจักรสุโขทัยตกเป็นประเทศราชของอาณาจักรอยุธยาในที่สุด สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงปฏิรูปการปกครองโดยการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง การยึดครองมะละกาของโปรตุเกสในปี พ.ศ. 2054 ทำให้อยุธยาเริ่มการติดต่อกับชาติตะวันตก ในสมัยอาณาจักรอยุธยามีการติดต่อกับต่างประเทศอยู่หลายชาติ โดยชาวโปรตุเกสได้เดินทางมายังกรุงศรีอยุธยาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 หลังจากนั้น ชาติที่เข้ามาอาศัยอยู่ในกรุงศรีอยุธยาเป็นจำนวนมากและมีบทบาทสำคัญ ได้แก่ ชาวดัตช์ ชาวฝรั่งเศส ชาวจีน และชาวญี่ปุ่น

ราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 เมื่อราชวงศ์ตองอูของพม่าเริ่มมีอำนาจมากขึ้น การสงครามอันยาวนานนับตั้งแต่ พ.ศ. 2091 ส่งผลให้อยุธยาตกเป็นประเทศราชของอาณาจักรตองอูในที่สุด ก่อนที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชจะทรงประกาศอิสรภาพในอีก 15 ปีต่อมา

อาณาจักรอยุธยาเป็นอาณาจักรที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล จากทิศเหนือจรดอาณาจักรล้านนา ไปจรดคาบสมุทรมลายูทางทิศใต้ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของอยุธยารุ่งเรืองขึ้นอย่างมากในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อย่างไรก็ตาม ความสงสัยในตัวของคอนสแตนติน ฟอลคอน ทำให้ถูกสังหารโดยพระเพทราชา อาณาจักรอยุธยาเริ่มเสื่อมอำนาจลงราวพุทธศตวรรษที่ 24 การทำสงครามกับพม่าหลังจากนั้นส่งผลทำให้อยุธยาถูกปล้นสะดมและเผาทำลาย เมื่อปี พ.ศ. 2310

สมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์

รัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

ดูบทความหลักที่: อาณาจักรธนบุรี

ในปี พ.ศ. 2310-2325 เริ่มต้นหลังจากที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ขับไล่ทหารพม่าออกจากแผ่นดินไทย ทำการรวมชาติ และได้ย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่กรุงธนบุรี โดยจัดตั้งการเมืองการปกครอง มีลักษณะการเมืองการปกครองยังคงดำรงไว้ซึ่งการเมืองการปกครองภายในสมัยอยุธยาอยู่ก่อน โดยมีพระมหากษัตริย์มีอำนาจเด็ดขาดในการเมืองการปกครอง อย่างไรก็ตาม ภายหลังสิ้นรัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้สถาปนาตนขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี และทรงย้ายเมืองหลวงมายังกรุงเทพมหานคร เริ่มยุคสมัยแห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1790 กองทัพพม่าถูกขับไล่ออกจากดินแดนรัตนโกสินทร์อย่างถาวร และทำให้แคว้นล้านนาปลอดจากอิทธิพลของพม่าเช่นกัน โดยล้านนาถูกปกครองโดยราชวงศ์ที่นิยมราชวงศ์จักรีนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จนกระทั่งถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรสยามอย่างเป็นทางการ

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ไทยยังเผชิญกับการรุกรานจากประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ สงครามเก้าทัพสงครามท่าดินแดงกับพม่า ตลอดจนกบฏเจ้าอนุวงศ์กับลาว และอานามสยามยุทธกับญวน

ในช่วงนี้ กรุงรัตนโกสินทร์ยังไม่ค่อยมีการติดต่อค้าขายกับชาติตะวันตกมากนัก ต่อมาเมื่อชาวตะวันตกเริ่มเข้ามาค้าขายอีก ได้ตระหนักว่าพวกพ่อค้าจีนได้รับสิทธิพิเศษเหนือคนไทยและพวกตน จึงได้เริ่มเรียกร้องสิทธิพิเศษต่าง ๆ มาโดยตลอด[15] มีการเดินทางเยือนของทูตหลายคน อาทิ จอห์น ครอเฟิร์ต ตัวแทนจากบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ[15] ซึ่งเข้ามาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย แต่ยังไม่บรรลุข้อตกลงใด ๆ สนธิสัญญาที่มีการลงนามในช่วงนี้ เช่น สนธิสัญญาเบอร์นี และสนธิสัญญาโรเบิร์ต[15] แต่ก็เป็นเพียงข้อตกลงที่ไม่มีผลกระทบมากนัก และชาวตะวันตกไม่ค่อยได้รับสิทธิพิเศษเพิ่มมากขึ้นแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม ได้มีคณะทูตตะวันตกเข้ามาเสนอสนธิสัญญาข้อตกลงทางการค้าอยู่เรื่อย ๆ เพื่อขอสิทธิทางการค้าให้เท่ากับพ่อค้าจีน และอังกฤษต้องการเข้ามาค้าฝิ่นอันได้กำไรมหาศาล[15] แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ทั้งคณะของเจมส์ บรุคจากอังกฤษ และโจเซฟ บัลเลสเตียร์จากสหรัฐอเมริกา ทำให้ชาวตะวันตกขุ่นเคืองต่อราชสำนัก

หลังจากได้กอบกู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนจากพม่าได้แล้ว พระเจ้าตากสินทรงเห็นว่ากรุงศรีอยุธยา  ถูกพม่าเผาผลาญเสียหายมาก ยากที่จะฟื้นฟูให้เหมือนเดิม พระองค์จึงย้ายเมืองหลวง มาอยู่ที่กรุงธนบุรี แล้วปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า พระบรมราชาธิราชที่ 4" (แต่ประชาชนนิยมเรียกว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชหรือสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี) ครองกรุงธนบุรีอยู่ 15 ปี นับว่าเป็นพระมหา กษัตริย์พระองค์เดียวที่ปกครองกรุงธนบุรีการตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานี

สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่กรุงธนบุรี เนื่องจากสาเหตุดังต่อไปนี้ 
1. กรุงศรีอยุธยาชำรุดเสียหายมากจนไม่สามารถจะบูรณะปฏิสังขรณ์ให้ดีเหมือนเดิมได้ 
   กำลังรี้พลของพระองค์มีน้อยจึงไม่สามารถรักษากรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองใหญ่ได้ 

2. ทำเลที่ตั้งของกรุงศรีอยุธยาทำให้ข้าศึกโจมตีได้ง่าย 

3. ข้าศึกรู้เส้นทางการเข้าตีกรุงศรีอยุธยาดี 

อาณาจักรธนบุรี

ส่วนสาเหตุที่พระเจ้าตากสินทรงเลือกกรุงธนบุรีเป็นเมืองหลวง เนื่องจากทำเลที่ตั้งกรุงธนบุรีอยู่ใกล้ทะเล ถ้าเกิดมีศึกมาแล้วตั้งรับไม่ไหวก็สามารถหลบหนี ไปตั้งมั่นทางเรือได้กรุงธนบุรีเป็นเมืองเล็กจึงเหมาะกับกำลังคนที่มีอยู่พอจะรักษาเมืองได้กรุงธนบุรี มีป้อมปราการที่สร้างไว้ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาหลงเหลืออยู่ ซึ่งพอจะใช้เป็นเครื่องป้องกันเมืองได้ในระยะแรก

ด้านการปกครอง หลังจากกรุงศรีอยุธยาเสียให้แก่พม่า เมื่อ พ.ศ. 2310 บ้านเมืองอยู่ในสภาพไม่เรียบร้อย มีการปล้นสะดมกันบ่อย ผู้คนจึงหาผู้คุ้มครองโดยรวมตัวกันเป็นกลุ่มเรียกว่าชุมนุม ชุมนุมใหญ่ๆ ได้แก่ ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก ชุนนุมเจ้าพระฝาง ชุมนุมเจ้าพิมาย ชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช เป็นต้น สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงใช้เวลาภายใน ปี ยกกองทัพไปปราบชุมนุมต่างๆ ที่ตั้งตนเป็นอิสระจนหมดสิ้นสำหรับระเบียบการปกครองนั้น พระองค์ทรงยืดถือและปฏิบัติตามระเบียบการปกครองแบบสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายตามที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงวางระเบียบไว้ แต่รัดกุมและมีความเด็ดขาดกว่า คนไทยในสมัยนั้นจึงนิยมรับราชการทหาร เพราะถ้าผู้ใดมีความดีความชอบ ก็จะได้รับการปูนบำเหน็จอย่างรวดเร็ว

ในขณะที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชขึ้นครองราชสมบัตินั้น บ้านเมืองกำลังประสบความตกต่ำทางเศรษฐกิจอย่างที่สุด เกิดการขาดแคลนข้าวปลาอาหาร และเกิดความอดอยาก ยากแค้น จึงมีการปล้นสะดมแย่งชิงอาหาร มิหนำซ้ำยังเกิดภัยธรรมชาติขึ้นอีก ทำให้ภาวะเศรษฐกิจที่เลวร้ายอยู่แล้วกลับทรุดหนักลงไปอีก ถึงกับมีผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงแก้ไขวิกฤตการณ์ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ทรงสละทรัพย์ส่วนพระองค์ ชื้อข้าวสารมาแจกจ่ายแก่ราษฎรหรือขายในราคาถูก พร้อมกับมีการส่งเสริมให้มีการทำนาปีละ 2 ครั้ง เพื่อเพิ่มผลผลิตให้เพียงพอ

ในตอนปลายรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เนื่องจากพระองค์ทรงตรากตรำ ทำงานหนักในการสร้างความเป็นปึกแผ่นแก่ชาติบ้านเมือง พระราชพงศาวดารฉบับต่างๆ ได้ บันทึกไว้ว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงมีพระสติฟั่นเฟือน ทำให้บ้านเมืองเกิดความระส่ำระสายและได้เกิดกบฏขึ้นที่กรุงเก่า พวกกบฏได้ทำการปล้นจวนพระยาอินทรอภัย ผู้รักษากรุงเก่าจนต้องหลบหนีมายังกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดให้พระยาสรรค์ไปสืบสวนเอาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ แต่พระยาสรรค์กลับไปเข้าด้วยกับพวกกบฏ และคุมกำลังมาตีกรุงธนบุรี แล้วจับตัวสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมาคุมขังเอาไว้ การจราจลในกรุงธนบุรี ทำให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกต้องรีบยกทัพกลับจากเขมร เพื่อเข้าแก้ไขสถานการณ์ในกรุงธนบุรี และจับกุมผู้ก่อการกบฏมาลงโทษรวมทั้งให้ข้าราชการปรึกษาพิจารณา ความที่มีผู้ฟ้องร้องกล่าวโทษ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในฐานะที่ทรงเป็นต้นเหตุแห่งความยุ่งยากใน กรุงธนบุรี และมีความเห็นให้สำเร็จโทษพระองค์เพื่อมิให้เกิดปัญหายุ่งยากอีกต่อไป สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงถูกสำเร็จโทษและเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 2325 พระชนมายุได้ 45 พรรษา

 

ประวัติศาสตร์ไทยสมัยธนบุรี
การสถาปนากรุงธนบุรี
ภายหลังการสูญเสียกรุงศรีอยุธยา แก่พม่าแล้ว บ้านเมืองอยู่ในสภาพระส่ำระสาย ขาดพระเจ้าแผ่นดินปกครอง ประชาชนพากันหลบหนีไปอยู่ตามป่า และหัวเมืองห่างไกล  อย่างไรก็ตาม การเสียกรุงครั้งที่ นี้ยังมีหัวเมืองอีกหลายแห่ง ที่รอดพ้นจากการทำลายของพม่า จึงได้มีผู้นำคนไทยตั้งตัวเป็นเจ้าชุมนุมขึ้น  เพื่อรวบรวมกำลังเข้ากอบกู้อิสรภาพต่อไป

ชุมนุมคนไทยทั้ง  5 ชุมนุม ได้แก่
1.ชุมนุมเจ้าพิมาย 
2.ชุมนุมเจ้าพระฝาง 
3.ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก 
4.ชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช 
5.ชุมนุมเจ้าตาก  หรือพระยาตาก (สิน)  ซึ่งสามารถกอบกู้เอกราชกลับคืนมาได้  ภายในปีเดียวกันนั้น  โดยใช้เวลาเพียง เดือน 

พระราชประวัติพระเจ้าตากสินมหาราช และการกอบกู้อิสรภาพ 
พระเจ้าตากสินมหาราช มีพระนามเดิมว่า  สิน มีชาติกำเนิดเป็นสามัญชน  บิดาชื่อขุนพิพัฒน์ (ไหฮอง-เชื้อชาติจีน) มารดาชื่อ  นางนกเอี้ยง ได้รับการศึกษาอบรม จนได้รับราชการเป็นขุนนางในตำแหน่งเจ้าเมืองตาก 

พระยาตาก มีฝีมือในการรบแข้มแข็ง  จึงถูกเกณฑ์มาช่วยรักษากรุงศรีอยุธยา แต่เกิดความท้อใจจึงนำพรรคพวกประมาณ  500 คนตีฝ่ากองทัพพม่าออกไป พระยาตากได้รวบรวมหัวเมืองทะเลตะวันออก แล้วตั้งบนที่มั่นที่เมือ งจันทบุรี  เพราะเป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ด้วยข้าวปลาอาหาร เมื่อต่อเรือและรวบรวมผู้คนได้พร้อมแล้ว พระยาตากจึงได้เคลื่อนทัพเรือ มุ่งเข้าตีกองทัพพม่า ที่ค่ายโพธิ์สามต้น สุกี้พระนายกองได้ต่อสู้จนตายในที่รบ

หลังจากกอบกู้เอกราชได้แล้ว เจ้านายและข้าราชการ ได้พร้อมใจกันอัญเชิญให้พระยาตาก ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ทรงพระนามว่า สมเด็จพระรามาธิบดีที่  4 แต่ประชาชนทั่วไปนิยมเรียกว่า พระเจ้าตากสิน หรือพระเจ้ากรุงธนบุรี 

ภายหลังกู้เอกราชแล้ว พระเจ้าตากสินมหาราชทรงพิจารณาว่า สภาพของกรุงศรีอยุธยา ได้เสื่อมโทรมลงไปมาก ทั้งนี้เพราะ

1. ได้รับความเสียหายจากการรบแบบกองโจรของพม่า 
2. กรุงศรีอยุธยา มีอาณาเขตกว้างขวาง เกินกำลังของพระยาตาก ที่จะรักษาไว้ได้ 
3. ข้าศึกษารู้จักภูมิประเทศเป็นอย่างดี ทำให้ฝ่ายไทยเสียเปรียบ 
4. ที่ตั้งของกรุงศรีอยุธยา ข้าศึกษาสามารถโจมตีได้ทั้งทางบกและทางน้ำ 
5. กรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่ห่างจากปากน้ำมาก  ไม่เหมาะในการค้าทางทะเล 

 

พระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงเลือกกรุงธนบุรีเป็นราชธานี ด้วยสาเหตุดังต่อไปนี้
1. กรุงธนบุรีเป็นเมืองขนาดเล็ก 
2. ตั้งอยู่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา  สะดวกในการติดต่อค้าขาย 
3. สะดวกในการควบคุมกำลัง ลำเลียงอาวุธและเสบียงต่าง ๆ 
4. ถ้าไม่อาจต้านทานข้าศึกได้ สามารถย้ายที่มั่นไปอยู่ที่จันทบุรีได้ 
5. ธนบุรี มีป้อมปราการที่เคยสร้างไว้ตั้งแต่สมัยอยุธยา 
 
การรวบรวมไทยให้เป็นปึกแผ่น และการขยายอาณาจักร 
พระเจ้าตากสินมหาราช ทรงกอบกู้เอกราช  และรวบรวมไทยให้เป็นปึกแผ่น โดยใช้เวลาเพียง 3 ปี   สาเหตุที่ พระเจ้าตากสินมหาราช สามารถกอบกู้เอกราชและรวบรวมไทยให้เป็นปึกแผ่นได้  เนื่องจาก

1. พระปรีชาสามารถในการรบ 
2. พระปรีชาสามารถในการผูกมัดใจคน 
3. ทหารของพระองค์มีระเบียบวินัย  กล้าหาญ 

หลังจากกอบกู้เอกราช รวบรวมไทยให้เป็นปึกแผ่น และตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานีแล้ว ไทยต้องทำสงครามกับพม่า  เพื่อป้องกันอาณาจักรอีกถึง  9 ครั้ง  โดยสามารถป้องกันบ้านเมืองไว้ได้สำเร็จ

การขยายอาณาจักร
หลังจากเหตุการณ์ภายในกรุงธนบุรีสงบเรียบร้อยแล้ว  พระเจ้าตากสินมหาราช ทรงเริ่มขยายอาณาเขตไปยังปร ะเทศใกล้เคียง  ดังนี้
1. การขยายอำนาจไปยังเขมร 
- เขมรเกิดการแย่งอำนาจกัน  พระเจ้ากรุงธนบุรี จึงโปรดยกทัพไปปราบปราม  แต่ครั้งแรกยังไม่สำเร็จ
- ในปี พ.ศ. 2314  โปรดให้ยกทัพไปตีเขมรอีก และสามารถตีเขมรได้สำเร็จ 
- ในปี พ.ศ. 2323 ได้เกิดกบฎในเขมร จึงโปรดให้ยกทัพไปปราบปรามอีกแต่ยังไม่ทันสำเร็จพอดีเกิดการจลาจลในกรุงธนบุรี จึงยกทัพกลับ
2. การขยายอำนายไปยังลาว 
- การตีเมืองจำปาศักดิ์ 
- การตีเมืองเวียงจันทน์  ซึ่งทำให้ได้พระพุทธรูปที่สำคัญมา 2 องค์ คือ  พระแก้วมรกต และ พระบาง 

อาณาเขตประเทศไทยในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสิน มีดังนี้
ทิศเหนือ ได้ดินแดนเมืองหลวงพระบาง เวียงจันทน์ 
ทิศตะวันออก ได้ดินแดนลาว และเขมรทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง จดดินแดนญวน
ทิศใต้ ได้ดินแดนเมืองกลันตัน ตรังกานู และไทรบุรี 
ทิศตะวันตก จดดินแดนเมืองเมาะตะมะ ทวาย และตะนาวศรี
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  ได้ทรงกอบกู้อิสรภาพของชาติไทย รวบรวมอาณาเขตประเทศไทย ให้เป็นปึกแผ่น ทรงปฏิบัติการรบด้วยความกล้าหาญ ขยายอาณาเขตออกไปได้กว้างขวาง นับว่าพระองค์ เป็นมหาวีรกษัตริย์ที่ได้ทรงทำคุณประโยชน์อันยิ่งใหญ่ ให้ไว้แก่ชาติไทยเป็นอันมาก ควรแก่การเทิดทูนในพระเกีย รติคุณเป็นอย่างยิ่ง    ต่อมาในปลายรัชกาล พระองค์เสียพระจริต จึงถูกข้าราชการปลดพระองค์ออกจากราชสมบัติรวมเวลาครองราชย์อยู่ 15 ปี สิ้นสุดสมัยกรุงธนบุรีเมื่อ พ.ศ. 2325 ประชาชนชาวไทยในหนหลัง ได้ถวายพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช 


ที่มา:
HISTORY



เข้าชม : 51754


เครือข่ายจัดการศึกษานอกโรงเรียน 5 อันดับล่าสุด

      แหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นอำเภอฮอด 6 / ต.ค. / 2566
      8 กันยายน วันที่ระลึกสากลแห่งการรู้หนังสือ 9 / ก.ย. / 2566
      ผลไม้คลายร้อน : ห้องสมุดประชาชนอำเภอฮอด 9 / มี.ค. / 2566
      5 สูตรทำเมี่ยงกินเล่น เสิร์ฟพอคำเครื่องแน่นเคี้ยวเพลิน :ห้องสมุดประชาชนอำเภำฮอด 9 / มี.ค. / 2566
      วันสุนทรภู่ 26 มิถุนายน :ห้องสมุดประชาชนอำเภอฮอด 26 / มิ.ย. / 2565




ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ไอคอน : ย่อหน้า จัดซ้าย จัดกลาง จัดขวา ตัวหนา ตัวเอียง เส้นใต้ ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา
อ้างอิงคำพูด เพิ่มเพลง เพิ่มวีดีโอคลิป เพิ่มรูปภาพ เพิ่มไฟล์ Flash เพิ่มลิงก์ เพิ่มอีเมล์
ความคิดเห็น :


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้ง ที่นี่ เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

 
ห้องสมุดประชาชนอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ 
ที่อยู่ 66 หมู่ 9 ตำบลหางดง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ รหัสไปรษณีย์ 50240
โทรสาร 053-461350 E-mail
libhot4@gmail.com
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05HD  Update by   นายบุญมา มาดี