กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จะนำพันธุ์ที่ได้ไปขยายให้กับเครือข่ายที่ทำการวิจัยร่วมกัน
ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จ.สกลนคร เพื่อเป็นแหล่งเมล็ดพันธุ์ให้กับเกษตรกร ทำให้
สามารถเลือกพันธุ์ที่จะนำไปใช้ต่อยอดทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้
โดยพืชกัญชาที่ปลูกโดย สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ขออนุญาตปลูกถูกต้องจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ได้แก่ หางกระรอกภูพานเอสที 1 , หางเสือสกลทีที 1 , ตะนาวศรีก้านขาวดับเบิ้ลยูเอ 1 และ ตะนาวศรีก้านแดงอาร์ดี 1 ที่มีสาร THC และ CBD ที่ต่างกันไป สถานะปัจจุบัน อยู่ระหว่างการขอขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตร
นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า กัญชาไทยแต่ละพันธุ์มีลักษณะของ ต้น ใบ ช่อดอกและกลิ่น แตกต่างกัน นอกจากนี้จากการถอดรหัสพันธุกรรมเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของพันธุ์กัญชาแต่ละพันธุ์ พบว่า กัญชาไทยทั้ง 4 พันธุ์ เป็นพันธุ์
ที่พบได้เฉพาะถิ่นเท่านั้นไม่ได้พบได้ทั่วไป เป็นพันธุ์ที่หายาก ซึ่งกัญชาแต่ละพันธุ์ของไทยมีสารสำคัญในสัดส่วนที่ต่างกัน จึงมีประโยชน์ต่อการบ่งใช้ในการรักษาโรคที่ต่างกัน รวมถึงการได้สารสำคัญคงที่ในการปลูก ทำให้ง่ายต่อการนำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ต่อไป
ที่มา: workpointtoday