เนื้อหา : สาระน่ารู้พัฒนาทักษะชีวิต
หมวดหมู่ : เรื่องน่ารู้
หัวข้อเรื่อง : “กรดไหลย้อน” โรคยอดฮิต ปล่อยไว้ไม่รักษาเสี่ยงมะเร็ง!

พฤหัสบดี ที่ 10 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2566


 

กรดไหลย้อนเกิดจากอะไร?

1. ความผิดปกติของหูรูดส่วนปลายหลอดอาหาร

ซึ่งทำหน้าที่ในการป้องกันกรดไหลย้อนจากกระเพาะอาหารมีความดันของหูรูดต่ำ หรือมีการเปิดบ่อยกว่าคนปกติ ความผิดปกติเหล่านี้ มีสาเหตุมาจากการดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ ดื่มชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและยาบางชนิด เช่น ยารักษาอาการหอบหืด หรือยาที่มีฤทธิ์แรงในการกัดกระเพาะ

2. ความผิดปกติในการบีบตัวของหลอดอาหาร

ทำให้อาหารที่รับประทานเข้าไปนั้น เคลื่อนตัวได้ช้าหรือมีอาหารไหลย้อนขึ้นมาจากกระเพาะอาหารค้างอยู่ในหลอดอาหารนานกว่าปกติ

3. ความผิดปกติของการบีบตัวของกระเพาะอาหาร

ทำให้อาหารค้างอยู่ในกระเพาะอาหารนานกว่าปกติ ทำให้เพิ่มโอกาสการไหลย้อนของกรด จากกระเพาะอาหารขึ้นมาสู่หลอดอาหารมากขึ้น และอาหารประเภทที่มีไขมันสูงและช็อกโกแลต จะทำให้การบีบตัวของกระเพาะอาหารลดลง

4. ไลฟ์สไตล์และพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน

ตัวอย่างเช่น การล้มตัวลงนอนทันทีเมื่อรับประทานอาหารเสร็จ รับประทานอาหารมากจนเกินไปในหนึ่งมื้อ สูบบุหรี่ ดื่มน้ำอัดลมและแอลกอฮอล์ รวมไปถึงความเครียดก็เป็นสาเหตุทำให้เกิดกรดในกระเพาะอาหารได้ 

5. คนที่เป็นโรคอ้วนหรือมีภาวะน้ำหนักเกิน

ทำให้เพิ่มแรงกดต่อกระเพาะอาหาร และเป็นสาเหตุทำให้เกิดกรดไหลย้อน

6. หญิงที่กำลังตั้งครรภ์

จะมีฮอร์โมนเพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์ ทำให้หูรูดหลอดอาหารอ่อนแอลง รวมถึงมดลูกที่ขยายตัวจะไปเพิ่มแรงกดต่อกระเพาะอาหาร

อาการกรดไหลย้อนเป็นยังไง?

  1. มีอาการแสบร้อนกลางทรวงอก ซึ่งจะมีอาการมากหลังรับประทานมื้อหนัก
  2. มีอาการเรอเปรี้ยว มีน้ำรสเปรี้ยวหรือขม ๆ ไหลย้อนขึ้นมาในปาก
  3. ท้องอืด แน่นท้องเหมือนอาหารไม่ย่อย
  4. มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หลังรับประทานอาหาร
  5. แน่นหน้าอก จุกเสียด เหมือนมีก้อนอะไรติดอยู่ในลำคอ
  6. หอบ หืด ไอแห้ง เสียงแหบและเจ็บคอเรื้อรัง

 

วิธีหลีกเลี่ยงโรคกรดไหลย้อน

  1. รับประทานอาหารอย่างพอดีและเคี้ยวให้ละเอียด
  2. หลีกเลี่ยงอาหารบางชนิด เช่น อาหารที่มีรสจัด อาหารที่มีไขมัน ชา กาแฟ ช็อกโกแลต
  3. งดการดื่มน้ำอัดลม หรือน้ำดื่มที่มีแก๊ส เช่น โซดา งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  4. รับประทานยาลดกรดในกระเพาะอาหาร เช่น ยาลดกรดในกลุ่มยับยั้งการสร้างกรดก่อนอาหาร 30 – 60 นาที อย่างน้อย 3 เดือน 
  5. หลังการรับประทานอาหารควรนั่งพักให้อาหารย่อยอย่างน้อย 30 นาที และให้นอนโดยยกศีรษะให้สูงขึ้นกว่าเท้า 6 – 8 นิ้ว 
  6. งดการออกกำลังกายหนัก ๆ หลังจากรับประทานอาหารเสร็จ อย่างน้อย 3 ชั่วโมง หรือเปลี่ยนจากการออกกำลังกายหนักมาเป็นการเดินเพื่อช่วยย่อยอาหาร 
  7. หากเป็นคนที่มีน้ำหนักตัวเกินหรือมีภาวะโรคอ้วน ควรลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามคำแนะนำของแพทย์
  8. งดสูบบุหรี่
  9. หากรับประทานยาเป็นประจำ ให้ลองดูคำแนะนำของยาชนิดนั้น ๆ หากมีผลต่อกระเพาะอาหาร ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของยาชนิดนั้นอย่างเคร่งครัด เช่น รับประทานยาหลังอาหารทันที
  10. รักษาด้วยการผ่าตัด จะเป็นการผ่าตัดนำส่วนบนของกระเพาะอาหารมาเย็บหุ้มรอบส่วนล่างของหลอดอาหารและกล้ามเนื้อหูรูด โดยวิธีผ่าตัดนี้จะเป็นวิธีสุดท้ายหลังจากที่รับประทานยาและปรับพฤติกรรม แล้วแต่ยังไม่ได้ผล

กรดไหลย้อนเสี่ยงมะเร็ง

โรคกรดไหลย้อนอาจส่งผลต่อชีวิตประจำวัน เนื่องจากฤทธิ์ของกรดจะทำให้หลอดอาหารเกิดการระคายเคืองจนเกิดการอักเสบ และเป็นแผล หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา อาจนำไปสู่การเกิดโรคมะเร็งที่ระบบทางเดินอาหารและมะเร็งกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่ได้




เข้าชม : 834


เรื่องน่ารู้ 5 อันดับล่าสุด

      “กรดไหลย้อน” โรคยอดฮิต ปล่อยไว้ไม่รักษาเสี่ยงมะเร็ง! 10 / ส.ค. / 2566
      อาหารที่มีวิตามิน E สูง 14 / ก.ค. / 2564
      จบสาขานี้ไม่ตกงานแน่นอน 14 / ก.ค. / 2564
      ขึ้นฉ่ายมหัศจรรย์ 14 / ก.ค. / 2564
      ลิ้นจี่ 24 / พ.ค. / 2564




ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ไอคอน : ย่อหน้า จัดซ้าย จัดกลาง จัดขวา ตัวหนา ตัวเอียง เส้นใต้ ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา
อ้างอิงคำพูด เพิ่มเพลง เพิ่มวีดีโอคลิป เพิ่มรูปภาพ เพิ่มไฟล์ Flash เพิ่มลิงก์ เพิ่มอีเมล์
ความคิดเห็น :


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้ง ที่นี่ เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป