ท้องผูก
ท้องผูก ส่วนใหญ่มักทำให้เกิดความอึดอัด รำคาญ เพราะเวลาที่ไม่ได้ถ่ายอุจจาระเป็นเวลาหลายวัน จะรู้สึกท้องอืด แน่นท้อง พออืดมากๆ ก็ไม่อยากรับประทานอาหาร เป็นสาเหตุให้เกิดโรคอื่นๆ ตามมา
ถ้าคุณมี 2 ใน 6 ข้อนี้ แสดงว่าคุณมีอาการท้องผูก
- อุจจาระแข็ง
- ต้องใช้แรงในการเบ่งถ่ายมากกว่าปกติ
- ถ่ายอุจจระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์
- รู้สึกถ่ายอุจจาระไม่สุด ถ่ายแล้วก็ยังรู้สึกเหมือนไม่หมด
- ต้องใช้นิ้วช่วย
- ปวดท้องอยากถ่าย แต่พอไปถ่ายแล้วก็เบ่งไม่ออก
สาเหตุที่ทำให้ท้องผูก
- การอั้นอุจจาระ ทำให้ลำไส้ใหญ่ดูดเอาน้ำกลับ เป็นสาเหตุให้อุจจาระแข็ง ถ่ายยาก
- ลดน้ำหนัก เมื่อเราลดน้ำหนักโดยการจำกัดอาหาร หรือเลือกรับประทานอาหารอย่างไดอย่างหนึ่งเป็นเวลานานๆ อาจจะทำให้เกิดอาการท้องผูกได้
- ลำไส้ใหญ่อุดตัน ซึ่งจะมีอการปวดท้องรุนแรง ท้องอืดมาก คลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย
- ดื่มน้ำน้อย ไม่ออกกำลังกาย และไม่ทานอาหารที่มีไฟเบอร์
ท้องผูกควรทำอย่างไร?
- ดื่มน้ำ กินผัก ผลไม้สด และแห้ง หรืออาหารที่มีกากใยมากๆ
- ไม่ควรเร่งรีบในขณะที่กินอาหาร ควรเคี้ยวอาหารให้ละเอียด
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อกระตุ้นการทำงานของกระเพราะอาหาร และกล้ามเนื้อหลัง ซึ่งจะช่วยให้กล้ามเนื้อลำไส้เคลื่อนใหวดีขึ้น
- อย่ากลั้นอุจจาระ ควรเข้าห้องน้ำทุกครั้งที่รู้สึกปวด
- ดื่มน้ำมากๆ อย่างน้อยวันละ 8-10 แก้วต่อวัน
- ลดหรืองดการดื่มชาหรือกาแฟ เพราะจะทำให้ร่างกายขาดน้ำมากขึ้น เนื่องจากคาเฟอีนมีฤทธิ์ในการขับปัสสาวะ
สมุนไพรไทยที่ช่วยบรรเทาอาการท้องผูก
- มะขาม ค้นเป็นน้ำดื่ม
- ขี้เหล็ก ต้มดื่มก่อนอาหารหรือก่อนนอน
- มะนาว ผสมน้ำอุ่นดื่มขณะท้องว่าง
- มะเฟือง กินขณะท้องว่าง
ไม่แนะนำให้ใช้ยาระบาย หรือดื่มชาระบายบ่อยๆ เพราะจะทำให้ระบบการทำงานของลำไส้เสียได้ แนะนำให้ใช้วิธีธรรมชาติ อย่างการดื่มน้ำมากๆ และค่อยๆ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ในการทำให้เกิดท้องผูกจะดีกว่า
คนปกติต้องถ่ายทุกวันหรือเปล่า?
คนเราไม่จำเป็นต้องถ่ายอุจจาระทุกวัน แต่ต้องไม่น้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ และอุจจาระที่ออกมานั้นต้องมีลักษณะเป็นก้อนนิ่ม ไม่แข็งจนเกินไป และไม่ต้องใช้ความพยายามในการเบ่งถ่ายมาก จึงจะถือว่าเป็นการขับถ่ายที่ปกติดี
สำหรับคนที่ถ่ายอุจจาระทุกวัน แต่อุจจาระมีลักษณะเป็นก้อนเล็กๆ เหมือนขี้แพะ เราถือว่ามีอาการท้องผูก ทำให้เสี่ยงต่อการเป็น โรคริดสีดวงทวาร