เนื้อหา : สาระน่ารู้พัฒนาทักษะชีวิต
หมวดหมู่ : ศูนย์การเรียนชุมชน หัวข้อเรื่อง : แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ ชุมชนบ้านโป่ง กู่เวียงยิง
อังคาร ที่ 5 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2562
|
|
แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์
ในพื้นที่ตำบลบ้านโป่ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
ประวัติ กู่เวียงยิง
ที่ตั้ง บ้านทุ่งน้อย ต.บ้านโป่ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
กู่เวียงยิง ถือเป็นโบราณสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งในอำเภอพร้าว เนื่องจากมีประวัติความ เป็นมาสำคัญและยาวนาน ซึ่งตามหลักฐานที่พบกล่าวถึงประวัติของกู่เวียงยิงไว้ว่า สร้างขึ้นสมัยของพระยามังราย ซึ่ง ในขณะนั้น พระยามังรายมีโอรสอยู่สามพระองค์จึงให้ราชโอรสองค์ใหญ่ ทรงพระนามว่า เจ้าขุนเครื่องซึ่งมีพระชนมายุ 13 ปี ให้ไปครอง เมืองเชียงราย
ส่วนพระยามังรายครองราชสมบัติ ณ เมืองฝาง ทางฝ่ายขุนเครื่องราชโอรสเสด็จ ไปครองเมืองเชียงราย อยู่ไม่นานนัก อำมาตย์ผู้หนึ่งมีชื่อว่า ขุนใสเวียงได้กราบทูลยุยง ให้คิดกบฏต่อพระราชบิดา โดยจะชิงเอาราชสมบัติ เมือง เชียงรายเสีย และให้จัดกำลังพลแข็งเมืองอยู่ฝ่าย พระยามังรายทรงทราบ จึงปรารภว่า"ขุนเครื่องผู้มีบุญน้อย จะมาคิด แย่งราชสมบัติกู เป็นพ่อเช่นนี้จักละไว้มิได้" จึงมอบให้ขุนอ่องซึ่งเป็นทหารผู้ไว้วางพระราชหฤทัย ผู้หนึ่งไปเชิญให้ขุนเครื่องผู้โอรสให้เข้ามาเฝ้าที่เมืองฝาง
ในขณะที่ราชโอรส กำลังเดินทางจากเมืองเชียงรายจะมาเข้า เฝ้าพระราชบิดาตามคำบอกเล่าของขุนอ่อง ท่านพระยามังรายจึงมอบให้ทหารผู้แม่นธนูได้ดักยิงที่กลางทางด้วยธนูอาบยาพิษ และได้เสียชีวิตระหว่างทาง ณ ที่แห่งหนึ่งใน เขตอำเภอพร้าว บริเวณนั้นพระยามังรายได้เสด็จมาจัดการพระศพราชโอรส ทรงสถาปนา ณ ที่ ขุนเครื่องถูก พิฆาตนั้นเป็นอาราม เรียกว่า "วัดเวียงยิง" มีซากเจดีย์ร้างอยู่แห่งหนึ่งอยู่บนเนินเขาที่บ้านทุ่งน้อย หมูที่ 6 ตำบลบ้าน โป่งอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ชาวบ้านเรียกว่า วัดเวียงยิง หรือวัดกู่เวียงยิง(วัดสันป่าเหียง) ดังปรากฏใน ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ของ อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว และเดวิด เค.วัยอาจ
ต่อมาได้เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ ประชาชนบ้านทุ่งน้อย จึงได้ทำการอพยพย้ายที่อยู่อาศัยและวัดทุ่งน้อย(ร้าง) จากเดิมที่ตั้งอยู่บริเวณใกล้แม่น้ำแม่งัด มาตั้งอยู่บริเวณสันป่าเหียง และทำการสร้างวัดบริเวณพระธาตุกู่เวียงยิง ด้วยลักษณะที่ตั้งอยู่สูงเกินไป ประกอบกับได้เกิดฟ้าผ่าบนยอดฉัตรพระธาตุบ่อยครั้งจนเป็นเหตุให้ยอดฉัตรเจดีย์พังทลายลงมา จนชาวบ้านต่างเรียกขานว่า “ธาตุกุด” ต่อมาได้เกิดปัญหาภัยแล้งและขาดแคลนน้ำเพราะลักษณะการตั้งวัดอยู่ในที่สูง ชาวบ้านและเจ้าอาวาสจึงได้ย้ายวัดลงมาตั้ง บริเวณที่แห่งใหม่ ลงมาอีก ประมาณ 100 เมตร หรือ วัดทุ่งน้อยในปัจจุบัน นับจากนั้นเป็นต้นมาพระธาตุกู่เวียงยิงจึงถูกปล่อยให้รกร้างว่างเปล่า ถูกปกคลุมด้วยวัชพืช ปัจจุบัน ชุมชนและท้องถิ่นได้ทำการปรับปรุงภูมิทัศน์ และจัดกิจกรรมร่วมกันในวันสำคัญต่างๆ เช่น การปลูกต้นไม้ เก็บขยะ ปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณโดยรอบ และทำป้ายบอกเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาและเรียนรู้ต่อไป
เข้าชม : 3352
|
|
ศูนย์การเรียนชุมชน 5 อันดับล่าสุด
แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ ชุมชนบ้านโป่ง กู่เวียงยิง 5 / ก.พ. / 2562
แหล่งเรียนรู้ชุมชน วัดดอยแม่ปั๋ง 30 / ม.ค. / 2562
วัดพระธาตุดอยเวียงชัยมงคล 22 / พ.ย. / 2554
กลุ่มกสิกรรมธรรมชาติตำบลสันทราย 31 / มี.ค. / 2551
|