ข้อมูลทั่วไปของสถานศึกษา
@ สภาพทั่วไปของสถานศึกษา
ชื่อสถานศึกษา ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอแม่ออน
ที่อยู่: เลขที่ 135 หมู่ที่ 9 ตำบลออนกลาง อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ 50130
เบอร์โทรศัพท์: 0 5392 908 1 เบอร์โทรสาร: 0 5392 908 1
E-mail : Maeon_135@hotmail.com
สังกัด สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดเชียงใหม่
@ ประวัติความเป็นมาของสถานศึกษา
ประวัติสถานศึกษา : ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอแม่ออน เป็นสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจำจังหวัดเชียงใหม่ เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2537 สังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียน โดยใช้ชื่อว่า “ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ แม่ออน” ได้ใช้อาคารสำนักงานที่ว่าการอำเภอแม่ออน ตั้งอยู่ในบริเวณอำเภอแม่ออน ต่อมาปี พ.ศ.2542 และได้ย้ายไปตั้งอยู่ที่ที่ทำการกำนันผู้ใหญ่บ้าน อำเภอแม่ออน
ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 ศูนย์บริการศึกษานอกโรงเรียน สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ ได้มีพระราชบัญญัติเกิดขึ้นโดยใช้ชื่อว่า “พระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551” ซึ่งประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2551 และมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2551 ตามมาตรา 21 ให้สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียนปรับเปลี่ยนภารกิจ และชื่อต่อมาเป็น “สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย” อยู่ภายใต้สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมได้มีประกาศเปลี่ยนแปลง ชื่อสถานศึกษาเดิม คือ “ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอแม่ออน” มาเป็นชื่อ “ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอแม่ออน” สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ
ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอแม่ออน ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 135 หมู่ที่ 9 ตำบลออนกลาง อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ 50130 ซึ่งแต่เดิมได้ทำเรื่องขอใช้อาคารสถานที่ของอาคารสำนักงานที่ว่าการอำเภอแม่ออน ตั้งอยู่ในบริเวณอำเภอแม่ออน เมื่อปี พ.ศ. 2537 ต่อมาปี พ.ศ.2542 ได้ขอใช้อาคารที่ทำการกำนันผู้ใหญ่บ้าน อำเภอแม่ออน เป็นสถานที่ตั้งอาคารศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอแม่ออน จนถึงปัจจุบัน
สภาพของชุมชน : อำเภอแม่ออน มีลักษณะทางกายภาพ เป็นอำเภอลำดับที่ 23 ของจังหวัดเชียงใหม่ อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปทางทิศตะวันออก ตามเส้นทางหลวงหมายเลข 1006 ( เชียงใหม่ – สันกำแพง – ออนหลวย ) คิดเป็นระยะทางประมาณ ๒๗ กิโลเมตร และตามเส้นทางหลวงหมายเลข 1317 ( เชียงใหม่ – บ้านสหกรณ์ ) เป็นระยะทางยาวประมาณ 29 กิโลเมตร เนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๔๙๒.๘๓ ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นพื้นที่ทั้งหมด ประมาณ ๓๐,๒๖๒๘.๒๕ ไร่
ลักษณะภูมิประเทศของอำเภอแม่ออน เป็นที่ราบและพื้นที่ภูเขา พื้นที่ราบส่วนใหญ่อยู่ทางตอนกลางของอำเภอ และอยู่ในระดับความสูงประมาณ 300 เมตร ลาดเอียงไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ในบริเวณลำแม่น้ำออน ซึ่งประกอบไปด้วย ตำบลบ้านสหกรณ์ ตำบลออนเหนือ(บางส่วน) และตำบลออนกลาง พื้นที่ภูเขาอยู่บริเวณทางทิศเหนือ ตามทิวเขาเรียงขนานกันไปตามแนวทิศตะวันตกจนถึงทิศใต้ของอำเภอ ประกอบไปด้วย ตำบลห้วยแก้ว ตำบลออนเหนือ (บางส่วน) ตำบลทาเหนือ และตำบลแม่ทา โดยมียอดเขาสูงประมาณ 1,700 เมตร ระหว่างภูเขาเป็นพื้นราบ เชิงเขาและที่ราบลุ่มส่วนบนทิวเขาเป็นต้นกำเนิดของลำน้ำแม่ออน ลำน้ำแม่ทา และน้ำลำแม่ลาย
การปกครองและประชากร
การปกครองแบ่งออกเป็น 6 ตำบล 49 หมู่บ้าน และองค์การบริหารส่วนตำบลทั้ง 6 แห่ง
1. ตำบลออนเหนือ 10 หมู่บ้าน
2. ตำบลออนกลาง 11 หมู่บ้าน
3. ตำบลบ้านสหกรณ์ 8 หมู่บ้าน
4. ตำบลห้วยแก้ว 8 หมู่บ้าน
5. ตำบลทาเหนือ 5 หมู่บ้าน
6. ตำบลแม่ทา 7 หมู่บ้าน
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอแม่ทา และอำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเมืองปาน และอำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง
ทิศตะวันตก ติดต่อตำบลออนใต้ ตำบลร้องวัวแดง อำเภอสันกำแพง
และอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
จำนวนประชากรและครัวเรือน แยกเป็นรายตำบล ได้ดังนี้
ตำบล
|
ชาย (คน)
|
หญิง (คน)
|
รวม (คน)
|
ครัวเรือน
|
ออนเหนือ
ออนกลาง
บ้านสหกรณ์
ห้วยแก้ว
แม่ทา
ทาเหนือ
|
1,431
2,081
1,228
1,945
1,947
1,100
|
1,376
2,078
1,266
900
1,989
1,094
|
2,807
4,159
2,494
2,845
3,947
2,194
|
867
1,372
941
928
1,249
618
|
รวม
|
9,732
|
8,703
|
18,435
|
5,975
|
ข้อมูล : สำนักทะเบียนอำเภอแม่ออน ณ วันที่ 3 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2561
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
อำเภอแม่ออนมีพื้นที่ป่าสงวน ประมาณ 298 ตารางกิโลเมตร แบ่งออกเป็น 2 แห่งใหญ่ คือ
1) ป่าขุนแม่ทา (ประกาศเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2512) อยู่ในเขตตำบลทาเหนือ และตำบลแม่ทา มีเนื้อที่ประมาณ 236 ตารางกิโลเมตร หรือ 147,๖5๖ ไร่ หรือร้อยละ 79.2 ของพื้นที่ป่าสงวนทั้งหมด
2) ป่าแม่ออน (ประกาศเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2508) อยู่ในเขตตำบลออนเหนือมีเนื้อที่ประมาณ 62 ตารางกิโลเมตร หรือ 38,750 ไร่ หรือร้อยละ 20.8 ของพื้นที่ป่าสงวนทั้งหมด
อุทยานแห่งชาติ 1 แห่ง คือ อุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้ ตำบลทาเหนือ
สถานีควบคุมไฟป่า 1 แห่ง คือ สถานีควบคุมไฟป่าแม่ออน ตำบลออนกลาง
หน่วยจัดการต้นน้ำ 2 แห่ง คือ หน่วยจัดการต้นน้ำแม่ทา ตำบลทาเหนือ
หน่วยจัดการต้นน้ำแม่ลาย-แม่ออน หมู่ที่ 8 ตำบลห้วยแก้ว
แหล่งน้ำสำคัญ ได้แก่ ลำน้ำแม่ออน ลำน้ำแม่ทา และลำน้ำแม่ลาย
ระบบสาธารณูปโภค
ไฟฟ้า มีไฟฟ้าใช้ทั้ง 49 หมู่บ้าน
โทรศัพท์ มีบริการโทรศัพท์พื้นฐาน ๔ ตำบล จำนวนคู่สาย 441 คู่สาย
การประปา ใช้ระบบประปาภูเขา และประปาบาดาบขนาดเล็ก ทั้ง 6 ตำบล
ไปรษณีย์ มีที่ทำการไปรษณีย์ตำบล 6 แห่ง ให้บริการในพื้นที่แต่ละตำบล
สภาพเศรษฐกิจ
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตรและปศุสัตว์ ได้แก่ การเลี้ยงโคนม โคเนื้อ กระบือ แพะ สุกร ไก่ไข่ การปลูกข้าวโพดฝักอ่อน ปลูกไม้ดอกไม้ประดับ การปลูกชา (เมี่ยง) กาแฟ และลำไย พื้นที่การเกษตร มีพื้นที่ทั้งหมด จำนวน 38,417 ไร่ แยกพื้นที่การปลูก ดังนี้
1) พื้นที่ทำนา 8,618 ไร่
2) พื้นที่ทำสวน 17,897 ไร่
3) พื้นที่ทำไร่ 11,447 ไร่
4) พื้นที่ปลูกไม้ดอกไม้ประดับ 455 ไร่
รวมทั้งสิ้น 38,417 ไร่
พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ เรียงตามลำดับพื้นที่เพาะปลูก ได้แก่
1) ข้าว พื้นที่ปลูก 10,355 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 647 กิโลกรัม/ไร่
2) ชา พื้นที่ปลูก 6,535 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 500 กิโลกรัม/ไร่
3) โพดฝักอ่อน พื้นที่ปลูก 2,843 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 1,200 กิโลกรัม/ไร่
4) ลำไย พื้นที่ปลูก 1,402 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 570 กิโลกรัม/ไร่
5) มะม่วง พื้นที่ปลูก 1,319 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 700 กิโลกรัม/ไร่
6) ลิ้นจี่ พื้นที่ปลูก 200 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 500 กิโลกรัม/ไร่
สหกรณ์และกลุ่มเลี้ยงโคนม จำนวน 6 แห่ง ได้แก่
1) สหกรณ์การเกษตรหมู่บ้านสหกรณ์สันกำแพง จำกัด มีทุนหมุนเวียนปีละประมาณ 20,000,000 บาท
2) สหกรณ์โคนมอำเภอแม่ออน หมู่ที่ 2 ตำบลออนเหนือ มีจำนวนโคนม 3,300 ตัว ปริมาณน้ำนมดิบ 18,000 กิโลกรัม/ วัน
3) สหกรณ์โคนมผาตั้งจำกัด หมู่ที่ 9 ตำบลออนกลาง มีจำนวนโคนม 1,993 ตัว ปริมาณน้ำนมดิบ 12,000 กิโลกรัม/ วัน
4) กลุ่มผู้เลี้ยงโคนม ออนหลวย (บริษัทเฟรชมิลค์) หมู่ที่ 6 ตำบลออนเหนือ มีจำนวน โคนม 1,906 ตัว ปริมาณน้ำนมดิบ 6,500 กิโลกรัม/ วัน
5) กลุ่มผู้เลี้ยงโคนมแม่ทา (บริษัท ที.เค. แดริโกลด์ จำกัด) มีจำนวนโคนม 1,600 ตัว ปริมาณน้ำนมดิบ 3,800 กิโลกรัม/ วัน
การเลี้ยงโคนม โคเนื้อ กระบือนม กระบือเนื้อ และแพะ
1) เลี้ยงโคนมทั้งหมด จำนวน 9,226 ตัว
2) เลี้ยงโคเนื้อทั้งหมด จำนวน 7,600 ตัว
3) เลี้ยงกระบือเนื้อทั้งหมด จำนวน 650 ตัว
4) เลี้ยงกระบือนม (กระบือเมซานี) ทั้งหมด จำนวน 33 ตัว
5) เลี้ยงแพะทั้งหมด จำนวน 248 ตัว
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จำนวน 5 แห่ง ได้แก่
1) โครงการหมู่บ้านสหกรณ์สันกำแพง หมู่ที่ 1 - 6 ตำบลบ้านสหกรณ์ และโครงการพระราชดำริน้ำพุร้อนสันกำแพง หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านสหกรณ์
2) ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่ทาเหนือ หมู่ที่ 2 ตำบลทาเหนือ
3) ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงตีนตก หมู่ที่ 8 ตำบลห้วยแก้ว
4) ศูนย์ศิลปาชีพบ้านแม่ตะไคร้ หมู่ที่ 1 ตำบลทาเหนือ
5) โครงการธนาคารโค-กระบือ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ หมู่ที่ 1 - 7 ตำบลแม่ทา
ผลิตภัณฑ์ชุมชน/ ท้องถิ่น
ระดับ 5 ดาว ได้แก่ บริษัทสยามรีไฟน์แฮนดิกราฟน์จำกัด หมู่ 2 ตำบลบ้าน สหกรณ์ ผลิตภัณฑ์ประเภท ของตกแต่งบ้านไม้มะม่วง
ระดับ 4 ดาว ได้แก่ 1) กลุ่มสตรีและเยาวชนสหกรณ์ (หัตถกรรม) หมู่ 2 ตำบลบ้านสหกรณ์ ผลิตภัณฑ์ประเภท ผ้าม่านหน้าต่าง 2) กลุ่มหมอนใบชาสุขภาพ หมู่ 2 ตำบลบ้านสหกรณ์ ผลิตภัณฑ์ประเภท หมอนใบชาสุขภาพ
ระดับ 3 ดาว ได้แก่ กลุ่มหัตถกรรมแปรรูปผ้าฝ้าย หมู่ 8 ตำบลออนกลางผลิตภัณฑ์ประเภท การแปรรูปผ้าฝ้าย
ระดับ 2 ดาว ได้แก่ 1) กลุ่มสตรีแม่บ้าน (ตุ๊กตาผ้าฝ้าย) หมู่ 1 ตำบลออนกลาง ผลิตภัณฑ์ประเภท ตุ๊กตาผ้าฝ้าย 2) กลุ่มอาชีพหมอนสมุนไพรใบชากลุ่มแม่บ้านแม่กำปอง หมู่ 3 ตำบลห้วยแก้วผลิตภัณฑ์ประเภท หมอนสมุนไพร
ผลิตภัณฑ์พิเศษ ได้แก่ กลุ่มสตรีบ้านแม่ตะไคร้ (ศูนย์ศิลปาชีพบ้านแม่ตะไคร้) หมู่ที่ 1 ตำบลทาเหนือ ผลิตภัณฑ์ประเภท ทอผ้าและปักผ้า
การลงทะเบียนผู้ผลิต/ ผู้ประกอบการ จำนวน 17 ราย (รายเก่า 8 ราย รายใหม่ 9 ราย) การลงทะเบียนผลิตภัณฑ์ จำนวน 29 ผลิตภัณฑ์
ด้านสถาบันการเงิน มีธนาคารจำนวน 1 แห่ง คือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาอำเภอแม่ออน
ด้านศาสนา ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 80 นับถือศาสนาพุทธและไหว้ผีบรรพบุรุษ ร้อยละ 15 และนับถือศาสนาคริสต์ ร้อยละ 5
- วัด จำนวน 25 แห่ง
- มีสำนักสงฆ์ จำนวน 18 แห่ง
- โบสถ์ จำนวน 2 แห่ง
ด้านการศึกษา มีสถานศึกษา จำนวน 13 แห่ง แบ่งเป็น ประเภทประถมศึกษา 8 แห่ง (โรงเรียนขนาดเล็ก 7 แห่ง ขนาดกลาง 1 แห่ง)ประเภทขยายโอกาส 3 แห่ง (โรงเรียนขนาดกลาง) ประเภทมัธยมศึกษา 1 แห่ง (โรงเรียนขนาดกลาง) และ วิทยาลัย 1 แห่ง (ขนาดใหญ่)
- มีครูและอาจารย์ รวมจำนวน 206 คน
- ศูนย์เด็กเล็กก่อนเกณฑ์ จำนวน 17 แห่ง
- ศูนย์บริการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย 1 แห่ง
- ห้องสมุดประชาชนประจำตำบล จำนวน 6 แห่ง ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน จำนวน 30 แห่ง
ด้านสาธารณสุข มีการให้บริการด้านการสาธารณสุขของรัฐ โดยมีสถานบริการ ดังนี้
- โรงพยาบาล ขนาด 30 เตียง จำนวน 1 แห่ง
- สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ จำนวน 1 แห่ง
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล จำนวน 6 แห่ง
- จำนวนบุคลากรทางด้านสาธารณสุข
แพทย์ จำนวน 3 คน
ทันตแพทย์ จำนวน 2 คน
เภสัชกร จำนวน 4 คน
พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 31 คน
จพ.วิทยาศาสตร์การแพทย์ จำนวน 1 คน
จพ.รังสีการแพทย์ จำนวน 1 คน
นักเทคนิคการแพทย์ จำนวน 1 คน
นักกายภาพบำบัด จำนวน 2 คน
นักกิจกรรมบำบัด จำนวน 1 คน
จนท. สาธารณสุข จำนวน 21 คน
บุคลากรอื่น ๆ จำนวน 30 คน
รวม จำนวน 97 คน
- อาสาสมัคร/ กลุ่ม/ ชมรม/ เครือข่ายด้านสาธารณสุข
อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) จำนวน 579 คน
ชมรมผู้สูงอายุ จำนวน 43 ชมรม
ชมรมสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 30 ชมรม
เครือข่ายกลุ่มผู้ติดเชื้อ จำนวน 1 กลุ่ม
กลุ่มหมอนวดพื้นบ้าน จำนวน 7 กลุ่ม
กลุ่มหมอพื้นบ้าน จำนวน 5 กลุ่ม
- สาเหตุการป่วยที่สำคัญ ได้แก่โรคระบบทางเดินหายใจ โรคระบบย่อยอาหาร โรคระบบ กล้ามเนื้อ โรคระบบไหลเวียนเลือด โรคผิดหนัง
- สาเหตุการตายที่สำคัญ ได้แก่โรคมะเร็ง โรคไหลเวียนเลือด โรคหัวใจ โรคระบบทางเดินหายใจ
สถานที่ท่องเที่ยว
1. วัดพระธาตุดอยผาตั้ง ตั้งอยู่บ้านออนกลางใต้ หมู่ที่ 9 ตำบลออนกลาง ตรงข้ามที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลออนกลาง ห่างจากที่ว่าการอำเภอประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองอำเภอแม่ออน พระธาตุองค์เดิมเป็นที่บรรจุพระเกศาธาตุขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2472 ครูบาศรีวิชัยได้มาบูรณปฏิสังขรณ์เพื่อให้ศรัทธาประชาชนได้สักการบูชาจนปัจจุบัน
2. ถ้ำเมืองออน หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านสหกรณ์ ห่างจากที่ว่าการอำเภอประมาณ2.5 กิโลเมตร เป็นถ้ำที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มีพระธาตุหินย้อยที่ใหญ่ที่สุดในปะเทศไทย โครงกระดูกไดโนเสาร์ ร่องรอยเรือโบราณและพญานาค ที่สำคัญเป็นที่ปฏิบัติธรรมของครูบาเจ้าศรีวิชัย และฤษี ในยุคโบราณ ปัจจุบันมีการพัฒนาสถานที่ให้เหมาะสมกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์
3. น้ำพุร้อนสันกำแพง อำเภอแม่ออน ตั้งอยู่ในพื้นที่โครงการตามพระราชดำริหมู่บ้านสหกรณ์สันกำแพง หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านสหกรณ์ ระยะทางจากที่ว่าการอำเภอประมาณ 4 กิโลเมตรภายในมีบริเวณสวนดอกไม้ร่มรื่น น้ำพุร้อนแรงดันสูงโดยธรรมชาติ มีบ่อน้ำแร่ต้มไข่ บ่อแช่ตัว บ่อแช่เท้า ห้องอาบน้ำส่วนตัว สระว่ายน้ำ ห้องสัมมนา บ้านพัก และร้านค้าอาหารอำนวยความสะดวก รวมทั้ง บริการนวดแผนโบราณ เหมาะแก่การท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ
4. น้ำตกตาดเหมย หมู่ที่ 10 ตำบลออนเหนือ ระยะทางจากที่ว่าการอำเภอประมาณ 15 กิโลเมตร
5. น้ำตกแม่กำปอง หมู่ที่ 3 ตำบลห้วยแก้ว ความสวยงามมาก น้ำใสไหลเย็นตลอดทั้งปีมีความสูงตกลดหลั่นลง มาถึง 7 ชั้น รวมความสูงกว่า 100 เมตร
6. โฮมสเตย์บ้านแม่กำปอง มีตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ตำบลห้วยแก้ว มีธรรมชาติและสภาพแวดล้อมที่เป็นภูเขาและน้ำตกสวยงาม เอื้อต่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
7. ผาน้ำลอด หมู่ที่ 8 ตำบลห้วยแก้ว ระยะทางจากที่ว่าการอำเภอประมาณ 15 กม.
8. น้ำตกแม่ลาย หมู่ที่ 2 ตำบลห้วยแก้ว ระยะทางจากที่ว่าการอำเภอประมาณ 20 กม.
เว็บตรง
เข้าชม : 3635 |