[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 

 

1. การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ                           
สาระสำคัญ

        การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ เป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถและทักษะในการประกอบอาชีพของบุคคล และกลุ่มบุคคล ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในชีวิตที่แตกต่างกัน โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
        (1) การเรียนรู้อาชีพแบบองค์รวมที่ประชาชน ครู กศน. และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ร่วมกันจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชน
        (2) การออกแบบการเรียนรู้งานอาชีพตามลักษณะของการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ ในรูปแบบการฝึก
ทักษะอาชีพ การเข้าสู่อาชีพ การพัฒนาอาชีพ และการพัฒนาอาชีพด้วยเทคโนโลยี
        (3) การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงที่บูรณาการกับวิถีชีวิต โดยใช้วงจรกระบวนการคิด ทำ จำ แก้ปัญหาและพัฒนา
        (4) การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพที่พัฒนาศักยภาพของบุคคลและชุมชนที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต โดยส่งเสริมการรวมกลุ่มอาชีพ สร้างเครือข่ายอาชีพ มีระบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้และประสบการณ์การทำอาชีพ ภายใต้วัฒนธรรมของชุมชน มีกลยุทธ์เพื่อการแข่งขันของชุมชน เป็นชุมชนที่ใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการและพัฒนาอาชีพ

 นโยบาย

        เร่งรัดส่งเสริมและพัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาอาชีพที่ตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย โดยมุ่งเน้นการปฏิบัติจริงที่บูรณาการกับวิถีชีวิตให้กับบุคคลและชุมชนเพื่อแก้ปัญหาการว่างงานและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจชุมชน

 

 เป้าหมายสาธารณะ

        จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถและทักษะในการประกอบอาชีพของบุคคล เพื่อให้เกิดความมั่นคง
และการเพิ่มมูลค่าให้กับอาชีพ โดยจำแนกเป็นกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้
        (1) กลุ่มผู้ต้องการเรียนรู้ทักษะอาชีพ แต่อาจไม่นำไปประกอบอาชีพก็ได้
        (2) กลุ่มผู้เข้ารับการอบรมเพื่อเข้าสู่อาชีพ
        (3) กลุ่มผู้มีอาชีพเดียวกัน ที่ต้องการพัฒนาอาชีพของตนให้ดียิ่งขึ้น
        (4) กลุ่มที่ต้องการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้พัฒนาอาชีพของตน

 แนวทางและมาตรการ

        (1) การพัฒนาทักษะอาชีพ: สำรวจความต้องการของผู้เรียนและฝึกทักษะอาชีพในลักษณะหลักสูตรระยะสั้นที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนเพื่อให้มีความรู้และทักษะพื้นฐานในอาชีพ โดยจัดฝึกอบรมอาชีพระยะสั้น มีชั่วโมง
การฝึกอบรมประมาณ 50 ชั่วโมง ประชาชนผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเรียนในสาขาวิชาชีพต่าง ๆ ได้ตามความต้องการของผู้เรียน เสียค่าใช้จ่ายเพียงชั่วโมงละ 1 บาท เป็นค่าวัสดุฝึกในการอบรม  การจัดการอบรมสามารถจัดได้ทุกสถานที่ที่มีความพร้อม 
        (2) การฝึกอบรมเพื่อเข้าสู่อาชีพ: จัดกิจกรรมต่อเนื่องจากการฝึกทักษะอาชีพหรือจัดเป็นกิจกรรมเฉพาะ เพื่อพัฒนากลุ่มเป้าหมายให้สามารถคิด วิเคราะห์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาตนเองเพื่อเข้าสู่อาชีพ โดยจัดให้มี
กระบวนการแนะแนวอาชีพที่มีประสิทธิภาพ
        (3) การพัฒนาอาชีพ: พัฒนาอาชีพของกลุ่มเป้าหมายในลักษณะกลุ่มพัฒนาอาชีพ โดยจัดให้มีการรวมกลุ่มของผู้มีอาชีพประเภทเดียวกันเพื่อร่วมเป็นเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แสวงหาความรู้และประสบการณ์ ตลอดจน
พัฒนาอาชีพของกลุ่มโดยกระบวนการกลุ่ม (Group Process)
        (4) การพัฒนาอาชีพด้วยเทคโนโลยี: พัฒนาอาชีพของกลุ่มเป้าหมายด้วยเทคโนโลยี โดยเน้นการจัดกิจกรรมให้กับกลุ่มเป้าหมายสถานประกอบการและผู้ที่ต้องการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนากิจการและศักยภาพของตนเอง 
เช่น การนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้ในการพาณิชย์ (E-Commerce) การจัดสร้างระบบฐานข้อมูลหรือการนำเสนองานด้วยคอมพิวเตอร์

 ตัวชี้วัด

        (1) เชิงปริมาณ
            (1.1) จำนวนผู้เข้ารับการอบรมและพัฒนาวิชาชีพ
            (1.2) จำนวนผู้สำเร็จตามหลักสูตรที่กำหนด
        (2) เชิงคุณภาพ
            (2.1) ความพึงพอใจของผู้รับบริการ
            (2.2) ประโยชน์ที่ผู้รับบริการได้รับ

2. การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต
สาระสำคัญ 

        การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตเป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมความรู้ความสามารถของบุคคลเพื่อให้สามารถจัดการกับตนเองและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้มีความสุขตามสภาพและความสงบสุข ความปลอดภัยในสังคม การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต มีสาระสำคัญ ดังนี้
        (1) เป็นการพัฒนาทักษะพื้นฐานของบุคคล เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมของตนและแก้ปัญหาสังคมของตนในสังคมได้อย่างมีความสุข
        (2) เป็นการเรียนรู้โดยบูรณาการองค์ความรู้และกระบวนการเรียนรู้ต่างๆ ในชีวิตประจำวันเข้าด้วยกัน
        (3) เป็นการจัดการศึกษาในรูปแบบโครงการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย โดยมุ่งหมายที่จะเสริมสร้างความสามารถให้กับบุคคลเพื่อมีทักษะชีวิตในการแก้ปัญหาเฉพาะด้าน ให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่และแต่ละสถานการณ์นโยบาย

        ส่งเสริม สนับสนุนและจัดการศึกษาในรูปแบบต่างๆ ที่มีสาระสอดคล้องกับบริบทของสังคมและประเทศ เพื่อให้ประชาชนมีทักษะชีวิตที่จำเป็น และสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข ทั้งที่จัดเอง และร่วมมือ หรือสนับสนุนให้หน่วยงาน บุคคลอื่นๆ จัด และสนับสนุนให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายเข้ารับบริการตามความเหมาะสม

.เป้าหมายสาธารณะ

        การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต เป็นบริการที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนให้มีความรู้และทักษะที่จำเป็น
สำหรับการดำรงชีวิตในสังคมปัจจุบัน โดยจัดกิจกรรมการให้บริการ ดังนี้
        (1) จัดกลุ่มสนใจ
        (2) จัดกิจกรรมการศึกษา/ ค่ายการเรียนรู้
        (3) ฝึกอบรมประชาชน

แนวทางและมาตรการ

        (1) จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตในรูปแบบกลุ่มสนใจ การฝึกอบรม กิจกรรมค่าย กิจกรรมชุมชน โดยมีขั้นตอนสังเขป ดังนี้
            (1.1) ชี้แจงทำความเข้าใจกับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้ตระหนักถึงการพัฒนาทักษะชีวิตที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตในสังคมปัจจุบัน
            (1.2) พัฒนาบุคลากร กศน.ให้สามารถจัดและบูรณาการกิจกรรมการบริหารจัดการทักษะชีวิตเข้าไปในหลักสูตรและกิจกรรมการเรียนการสอน
            (1.3) จัดทำมาตรฐานคุณลักษณะบุคคลที่มีทักษะชีวิตที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตในสังคมปัจจุบัน
            (1.4) ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนารูปแบบและกระบวนการเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต
        (2) ส่งเสริมให้มีการนำองค์ความรู้และรูปแบบกระบวนการพัฒนาทักษะชีวิต บูรณาการในทุกกระบวนการเพื่อพัฒนาคนในทุกหลักสูตร
        (3) พัฒนาทักษะชีวิตของผู้เรียน โดยจัดการศึกษาในรูปแบบโครงการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ให้สอดคล้องกับวัย อาชีพ ความต้องการ และประสบการณ์ของผู้เรียน

ขอบข่ายเนื้อหาสาระ

        (1) สุขภาพอนามัยและการป้องกันโรคภัย ฯลฯ
        (2) ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การบรรเทาและป้องกันสาธารณภัย และการรักษาความสงบเรียบร้อยในชุมชน การจราจร ฯลฯ
        (3) การอนุรักษ์ ทำนุบำรุงสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร
        (4) การสร้างเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความสงบร่มเย็นของสังคม ชุมชน

ตัวชี้วัด

        (1) เชิงปริมาณ
            (1.1) จำนวนผู้เข้ารับบริการ
            (1.2) จำนวนกิจกรรมที่จัด
        (2) เชิงคุณภาพ
            (2.1) ความพึงพอใจของผู้รับบริการ
            (2.2) ประโยชน์ที่ผู้รับบริการได้รับ 

3. การศึกาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน
สาระสำคัญ

        การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน เป็นการจัดการศึกษาที่บูรณาการความรู้และทักษะจากการศึกษาที่ผู้เรียนมีอยู่หรือได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียนโดยมีรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย 
ใช้ชุมชนเป็นฐานในการพัฒนาการเรียนรู้และทุนทางสังคมเป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาสังคมและชุมชนให้มีความเข้มแข็งสามารถพึ่งพาตนเองได้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และประชาชนอยู่ร่วมกันอย่างมี
ความสุขตามวิถีทางการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ตลอดจนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี มีการพัฒนาที่ยั่งยืน

 นโยบาย

        เร่งรัดจัดการศึกษานอกโรงเรียนเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน บูรณาการความรู้และทักษะการดำรงชีวิต เพื่อให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ นำไปสู่สังคมที่เข้มแข็ง มีความเอื้ออาทร ต่อกัน และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

 เป้าหมายสาธารณะ

        การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชนเป็นการจัดการศึกษาที่มุ่งใช้กระบวนการศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาสังคมและชุมชนให้มีความเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง มีความเอื้ออาทร มีคุณธรรม จริยธรรม สืบทอดวัฒนธรรมและภูมิปัญญา ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกำหนดทิศทางการพัฒนาของสังคมและชุมชนตามแนวทางในระบอบประชาธิปไตย
โดยมีเป้าหมาย ดังนี้
        (1) ให้มีกิจกรรมการพัฒนาสังคมและชุมชน 1 โครงการ
        (2) ให้บริการนิทรรศการการศึกษา
        (3) จัดค่ายเยาวชนประชาธิปไตย /ค่ายประชาชนประชาธิปไตย
        (4) จัดกิจกรรมธรรมะเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน

 แนวทางและมาตรการ

        (1) พัฒนาศักยภาพการทำงานของบุคลากร กศน. โดยปรับบทบาทการทำงานให้สอดคล้องกับหน้าที่สร้างความรู้ความเข้าใจในการจัดกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียนตามนโยบาย และกำหนดให้ครู กศน. รับผิดชอบการจัด
กิจกรรมระดับตำบลในลักษณะ Project Approach
        (2) ดำเนินการในรูปโครงการที่ให้ความสำคัญกับประเด็นหลักของการพัฒนา 4 ด้าน กล่าวคือ เศรษฐกิจ (วิสาหกิจชุมชน) การเมืองการปกครอง(ประชาธิปไตย) สังคม(วัฒนธรรมและภูมิปัญญาชุมชน) และสิ่งแวดล้อม 
ตลอดจนการสั่งสอนอบรมเผยแผ่ธรรมะและคุณธรรม จริยธรรม ตามหลักของศาสนาในแต่ละท้องถิ่น โดยบูรณาการการเรียนรู้เข้ากับสภาพจริงของชุมชน
        (3) ส่งเสริมให้ประชาชน ชุมชน และกลไกทุกภาคส่วนของสังคม เป็นผู้รับผิดชอบหลัก(เจ้าภาพ) ในการจัดกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียนที่สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ โดยเฉพาะการจัดอบรมความรู้ให้กับประชาชน
กลุ่มเป้าหมายในเรื่องการจัดการ การตลาด และบรรจุภัณฑ์
        (4) ใช้ทุนทางสังคมสนับสนุนการจัดกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียนในชุมชน
        (5) ส่งเสริมให้มีการจัดทำเวทีชาวบ้านเพื่อให้ชุมชนเรียนรู้สภาพปัญหาและความต้องการของชุมชนและจัดทำแผนแม่บทชุมชน
        (6) ส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมการพัฒนาสังคมและชุมชน 1 โครงการ

 ตัวชี้วัด

        (1) เชิงปริมาณ
            (1.1) จำนวนประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียน
            (1.2) จัดกิจกรรม 1 โครงการ
            (1.3) จำนวนและปริมาณทุนทางสังคมที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียน
        (2) เชิงคุณภาพ
            (2.1) ความพึงพอใจของผู้รับบริการ
            (2.2) ประโยชน์ที่ผู้รับบริการได้รับ

 

 

เว็บตรง

เข้าชม : 2320
 
 
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
157 ตำบลดอนแก้ว  อำเภอแม่ริม  จังหวัดเชียงใหม่
โทรศัพท์ 053-89043  โทรสาร  053-890438
  
สล็อตเว็บตรง Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05HD  Update by   นายบุญมา มาดี