[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 

เนื้อหา : ศรช. เครือข่าย
หมวดหมู่ : แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญา
หัวข้อเรื่อง : แหล่งเรียนรู้ตำบลดอนเปา

จันทร์ ที่ 19 เดือน เมษายน พ.ศ.2564


 แหล่งเรียนรู้ตำบลดอนเปา  อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่

1. ชื่อแหล่งเรียนรู้ ศูนย์หัตถกรรมร่มโบราณ (จ้องแดงบ้านดอนเปา)

2. หมู่บ้านดอนเปา  หมู่ที่ 4  ตำบลดอนเปา

   อำเภอแม่วาง  จังหวัดเชียงใหม่

   รหัสไปรษณีย์50360   เบอร์โทรศัพท์ 0840409471

3. ลักษณะของแหล่งเรียนรู้

          3.1. ความเป็นมา ร่มแดงหรือจ้องแดง(จ้องหาง)โบราณ  บ้านดอนเปา ตำบลดอนเปา อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ กำลังจะสูญหายไปกับกาลเวลา เมื่อสล่าที่ผลิตร่มชนิดนี้เหลือไม่ถึง 10 คน ถือเป็นอีกหนึ่งภูมิปัญญาที่สืบทอดต่อกันหลายร้อยปี ผู้สื่อข่าวจึงได้เดินทางไปสัมภาษณ์สล่าวัย 62 ปี ที่ยอมรับว่าคนรุ่นใหม่ไม่นิยมทำงานอาชีพนี้เพราะความยากต้องใช้เวลาในการผลิต

          ขณะที่ผู้สืบทอดงานหัตถกรรมร่มจ้องแดงโบราณ เอกลักษณ์ของบ้านดอนเปา หนึ่งในภูมิปัญญาบรรพบุรุษที่สืบทอดต่อกันมาแล้ว 6 ช่วงอายุคนนับหลายร้อยปี อย่าง วิเชิญ แก้วเอี่ยม ครูช่างศิลปหัตถกรรมประจำปี 2561 แห่งบ้านดอนเปา อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ ผู้มีทักษะความชำนาญอยู่กับการทำจ้องโบราณสีแดงนี้มากกว่า 30 ปี และในปัจจุบัน ครูช่างวิเชิญกลายเป็นกำลังหลักสำคัญที่เหลืออยู่เพียงบ้านเดียวที่ยังคงอนุรักษ์การทำร่ม จ้องแดงโบราณ ให้คงอยู่ในปัจจุบันซึ่งกำลังใกล้จะสูญหายไปจากชุมชนวัฒนธรรมของล้านนา บอกว่า ดีใจมากกับยอดสั่งซื้อร่มจ้องแดงโบราณครั้งนี้ และนับเป็นครั้งแรกที่ได้
         พร้อมกันนี้ ครูช่างวิเชิญ ยังบอกอีกว่า การจะทำส่งครั้งเดียวทั้งหมดเลยไม่ได้ เพราะว่าต้องผลิตให้แก่ลูกค้าประจำรายอื่นๆ อีกด้วย สามารถผลิตร่มจ้องแดงได้เฉลี่ยเดือนหนึ่งแค่ประมาณ 100-120 คัน เนื่องจาก สล่าหรือช่างทำร่ม หัวเรือสำคัญหลักของหมู่บ้านมีน้อย ปัจจุบันเหลือเพียง สล่าคนรุ่นเก่าหรือผู้สูงวัยอยู่แค่ 8 คนเท่านั้น แต่ก็ชื่นใจที่ลูกหลานได้เข้ามาสืบทอดฝีมือการทำร่มจ้องแดงกันแล้ว และยังมีฝีมือพัฒนาการผลิตร่มแบบใหม่ๆ จากน้ำพักน้ำแรงของลูกหลาน ที่ไปร่ำเรียนทางด้านศิลปะการวาดรูปกันมา สามารถผลิตร่มจ้องแดงแบบใหม่ที่เพิ่มลวดลายใส่รูปภาพวาดด้านศิลปะต่างๆ เข้าไปเพิ่มคุณค่าบนผืนผ้าร่ม เช่น พระราหู เทพนม หนุมาน เป็นต้น สร้างความแตกต่างให้ร่มจ้องแดงโดดเด่นไม่ซ้ำแบบกับร่มของบ้านบ่อสร้างและที่อื่นๆ

                                  

 

          ทั้งนี้ ครูช่างวิเชิญ เล่าถึง เอกลักษณ์ของ “จ้องแดงโบราณว่าตัวร่มแบบโบราณที่นิยมทาผ้าด้วยสีแดงสดและสีแดงเลือดนก ปลายด้ามจับยาว มีทรงที่โค้งคุ่มงอลงมานิดหน่อย ไม่ใช่ทรงกางชี้บานเหมือนกับทรงร่มของบ้านบ่อสร้างหรือที่อื่นๆ “จ้องคือ ร่ม ที่เป็นภาษาพื้นถิ่นล้านนา นอกจากนี้ในบางครั้งเราอาจเรียกกันในอีกชื่อว่า ร่มแม่วางอีกทั้ง ยังมีเอกลักษณ์อยู่ที่ลวดลายเส้นด้ายในโครงร่มที่มีการสานด้วยด้ายหลากสีสันนำมาร้อยสานเลื่อมสลับกันไปมา จึงมีทั้งความสวยงาม และความแข็งแรง สามารถป้องกันฝนและแสงแดดได้อย่างดี สีไม่ตก การทำจ้องแดงต้องใช้ทักษะความชำนาญการทำด้วยมือในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การทำไม้หัวร่ม ซี่โครงร่ม การหุ้มโครงร่ม ทาสี และสานเส้นด้ายในโครงร่ม จ้องแดงที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบันคือ จ้องแดงที่ใช้ตั้งในสนาม หรือใช้ตกแต่งสถานที่ต่างๆ เพื่อความสวยงาม
          ไม่เพียงแค่ผลิตเพื่อจำหน่ายเท่านั้น ทว่า ครูช่างวิเชิญ ยังรับ "ซ่อมจ้องแดง" อีกด้วย เพราะว่ามีลูกค้าที่ซื้อร่มจ้องแดงไปใช้งานเป็นเวลานานแล้วและเกิดชำรุด จึงมาให้ครูช่างทำซ่อมให้  โดยเจ้าตัวบอกว่าจากการได้รับทำซ่อมร่มจ้องแดงนี้ จึงทำให้รู้ได้ว่า คุณภาพร่มจ้องแดงที่ผลิตนี้หากเก็บรักษาให้ดีจะเป็นของดี มีคุณภาพ มีอายุใช้งานคงทนนานถึง 10 ปี บางคันนานกลายจนเป็นร่มจ้องแดงรุ่นเก่าของโบราณที่ทรงคุณค่าเก็บรักษาไว้ น่าภูมิใจอย่างมาก

          นอกจากนี้ครูช่างวิเชิญยังพร้อมถ่ายทอดฝีมือและความรู้ที่มีทั้งหมดให้กับคนนอกผลิตจ้องแดงนี้เพื่อให้ได้สืบทอดต่อไป ซึ่งมีผู้ที่ให้ความสนใจอยู่บ้าง ได้แก่ คณะพระและสามเณรจากวัดดอยสัพพัญญู แต่ยังไม่เห็นว่าจะมีใครที่ไม่ใช่ลูกหลานนำไปผลิตเป็นจริงเป็นจัง ถึงแม้ว่าจะหาผู้สืบทอดได้ยาก แต่ส่วนหนึ่งมีความชื่นใจที่ลูกหลานยินดีที่จะสืบทอดมรดกความรู้ชิ้นนี้เอาไว้และทำต่อไป

                                                         

 

3.2. วัตถุประสงค์ของการจัดการตั้ง

1.เพื่อศึกษารวบรวมวิธีการผลิตชิ้นงานของช่างพื้นบ้านและการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

2.เพื่ออนุรักษ์และเผยแพร่ของช่างพื้นบ้าน

3. เพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาและสืบทอดคนรุ่นหนาน

4. ขั้นตอน/วิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้ในแหล่งการเรียนรู้ (ระบุเป็นข้อๆ)

    4.1. บรรยายทฤษฎีขั้นตอนการผลิตร่มโบราณ

    4.2. สาธิตการผลิตร่มโบราณ

    4.3. ให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติจริง

    4.4 ประเมินชิ้นงานว่าได้คุณภาพหรือไม่

         

5. ค่าธรรมเนียม  ¨ / ไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียม ¨ มีการเก็บค่าธรรมเนียม จำนวน.....-.......บาท

6. รางวัลที่ได้รับ

 

ชื่อรางวัล.. หัวหน้าศูนย์หัตถกรรมร่มโบราณ (จ้องแดง) ตำบลดอนเปา  อำเภอแม่วาง

ปีที่ได้รับ ๒๕๖๑

   

ชื่อรางวัล.. หัวหน้าศูนย์หัตถกรรมร่มโบราณ (จ้องแดง) ตำบลดอนเปา  อำเภอแม่วาง

ปีที่ได้รับ ๒๕๖๑

 7. QR Code  แหล่งเรียนรู้ ( Facebook  https//th-th facebook.com  / youtube / อื่นๆ) 
 



เข้าชม : 1710


แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญา 5 อันดับล่าสุด

      แหล่งเรียนรู้ตำบลดอนเปา 19 / เม.ย. / 2564
      ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตำบลทุ่งปี๊ 19 / เม.ย. / 2564
      แหล่งเรียนรู้ ตำบลทุ่งปี๊ 19 / เม.ย. / 2564


 
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่
อำเภอแม่วาง  จังหวัดเชียงใหม่ โทรศัพท์ 053-489584
โทรสาร  053-489584
สล็อตเว็บตรง Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05HD  Update by   นายบุญมา มาดี