พลังงานทดแทนหมู่บ้านสหกรณ์ 2
ประวัติความเป็นมา
สถานีพลังงานแสดงอาทิตย์สันกำแพงแห่งนี้ ติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์เชื่อมโยงเข้ากับระบบจำหน่ายของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) มาตั้งแต่ วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2536 และได้มีการปรับปรุงระบบใหม่เมื่อเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2544 เป็นพลังงานแสดงอาทิตย์แบบต่อเข้าระบบ (Grid Connected) แห่งแรกในภาคเหนือ แผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่นำมาติดตังใช้งานมีทั้งชนิดอะมอร์ฟัส (Amorphous silicon) ชนิดผลึกเดี่ยว (Single Crystalline Sillcon) และชนิดหลายผลึก (Poly Crystalline Silicon) จำนวนทั้งหมด 260 แผง นำมาต่อรวมกันเป็นกลุ่มย่อย 16 กลุ่ม ซึ่งแต่ละกลุ่มประกอบด้วยแผงเซลล์แสงอาทิตย์จำนวน 15-17 แผง ต่อกันแบบอนุกรม (Series) จากนั้นนำแต่ละกลุ่มย่อยมาต่อขนาน (Parallel) มีกำลังผลิตรวมทั้งหมด 14.124 กิโลวัตต์แผงเซลล์แสงอาทิตย์ทั้งหมดติดตั้งบนโครงเหล็กอาบสังกะสียึดติดกับเสาคอนกรีตสูงจากพื้นประมาณ 1 เมตร ทำมุมเอียงกับพื้นระนาบประมาณ 15 องศา หันหน้าไปทางทิศใต้ทั้งนี้เพื่อให้เซลล์แสงอาทิตย์มาดที่สุดตลอดทั้งปี
ที่ตั้งเลขที่ - หมู่ที่ 2 ตำบล บ้านสหกรณ์ อำเภอ แม่ออน จังหวัด เชียงใหม่
เจ้าของ / ผู้ครอบครอง / ผู้จัดการแหล่งเรียนรู้ส่วนราชการ
ชื่อบุคคลของแหล่งฯ (สำหรับติดต่อ) พลังงานแสงอาทิตย์สันกำแพง อำเภอแม่ออน
สถานที่ติดต่อ หมู่บ้านสหกรณ์ 2
ประเภทแหล่งเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น
เนื้อหาสาระสำคัญในแหล่งเรียนรู้
1. คุณสมบัติทางไฟฟ้าของเซลล์แสงอาทิตย์สามารถแสดงได้โดยใช้ I-v curve ซึ่งมี ประโยชน์มากสำหรับใช้ตรวจสอบกำลังผลิตสูงสุดของเซลล์แสงอาทิตย์
2. ไม่ก่อให้เกอดมลภาวะเป็นพิษจากขบวนการผลิตไฟฟ้า
3. ใช้งานง่ายโดยทั่วไปจะเป็นแบบอัตโนมัติ
ความรู้ที่สามารถเรียนได้จากแหล่งเรียนรู้แห่งนี้
1. ได้ทราบพลังงานแสงอาทิตย์มีประสิทธิภาพคงที่ไม่ขึ้นกับขนาด
2. มีอุปกรณ์น้อยชิ้นทำให้สามารถผลิตแบบอัตโนมัติในปริมาณมากๆ ได้
3. การบำรุงรักษาน้อย
4. เป็นการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ที่ได้มาฟรีและมีไม่สิ้นสุดแม้มีแสงแดดอ่อนหรือมีเมฆ
|