มะขามป้อม
ชื่อสมุนไพร มะขามป้อม
ชื่ออื่นๆ/ชื่อพื้นเมือง กันโตด (เขมร), กำทวด (ราชบุรี), มิ่งลู่, สันยาส่า (กะเหรี่ยมแม่ฮ่องสอน), อะมะลา (ฮินดู, เปอร์เซีย)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Phyllanthus emblica Linn.
ชื่อสามัญ Emblic myrabolan, Malacca tree, Indian gooseberry.
ชื่อวงศ์ Euphorbiaceae
ประโยชน์และสรรพคุณมะขามป้อม
- ใช้เป็นน้ำยาบ้วนปาก แก้ปวดฟัน
- แก้ปวดท้องน้อย กระเพาะอาหาร
- แก้ปวดเมื่อยกระดูก
- แก้ไอ ละลายเสมหะ
- แก้ตานซางในเด็ก
- แก้กระหายน้ำได้เป็นอย่างดี
- ช่วยขับปัสสาวะ
- เป็นยาระบาย
- รักษาคอตีบ
- รักษาเลือดออกตามไรฟัน
- เป็นยาถ่ายพยาธิ
- แก้ท้องเสีย
- รักษาโรคหนองใน
- บำรุงธาตุ
- รักษาโรคบิด
- ใช้ล้างตา แก้ตาแดง เยื่อบุตาอักเสบ
- แก้ตกเลือด ใช้เป็นยาล้างตา
- รักษาโรคดีซ่าน
- ทาแก้ตุ่มคัน หืด
- รักษาโรคเบาหวาน
- รักษาโรคหอบหืด หลอดลมอักเสบ
- แก้คลื่นไส้ อาเจียน
- ต้านอนุมูลอิสระและยังยั้งการสร้างเมลานินได้
- บำรุงผิวขาว และช่วยชะลอความแก่
มะขามป้อม 1 ลูกนั้นให้วิตามินซีสูงกว่าวิตามินซีสังเคราะห์ถึง 12 เท่า และมากกว่านี้ส้มคั้นสด ถึง 20 เท่าเลยทีเดียว
รูปแบบและขนาดวิธีใช้
• ประโยชน์มะขามป้อม แก้ไอ ช่วยกระตุ้นให้น้ำลายออก ช่วยละลายเสมหะ มีวิธีใช้ดังนี้
• ใช้เนื้อผงสด ครั้งละ 2-5 ผล โขลกพอแหลก แทรกเกลือเล็กน้อย อม หรือ เดี่ยว วันละ 3-4 ครั้ง
• ผลมะขามป้อมสดฝนกับน้ำแทรกเกลือจิบบ่อยๆ หรือ ใช้ผลมะขามป้อมสดจิ้มเกลือรับประทาน
• ผลสดตำคั้นเอาน้ำดื่ม หรือผลแห้ง 6-12 กรัม (ผลสด 10-30 ผล) คั้นน้ำดื่มหรือเคี้ยวอมบ่อยๆ
• อาการเป็นหวัด ไอ เจ็บคอ ปากคอแห้ง ใช้ผลสด 15-30 ผล คั้นเอาน้ำ มาจากผล หรือ ต้มทั้งผลแล้วดื่ม แทนน้ำเป็นครั้งคราว
• บำรุงร่างกายให้แข็งแรง มะขามป้อมมีรสเปรี้ยว ฝาด ขม เช่นเดียวกับสมอไทย จึงสามารถ แก้โรคต่างๆ ได้มาก เช่นเดียวกับสมอไทย ดื่มน้ำมะขามป้อมคั้นสด 1 ช้อนโต๊ะ (15 ซีซี) กับน้ำมะระขี้นกคั้นสด 1 ถ้วย ทุกวันเป็นเวลาสองเดือนสามารถกระตุ้นให้ตับอ่อนหลั่นอินซูลินและลดระดับน้ำตาลในเลือด
• ท้องผูก นำมะขามป้อมมาผ่าแคะเม็ดออก (กินแต่เนื้อ) ประมาณ 10 ลูก ใส่พริก เกลือ น้ำตาล ตำพอแหลก กินต่างผลไม้ แต่ควรกินก่อนนอน หรือตอนตื่นนอนใหม่ๆ ในขณะที่ท้องว่าง
• รับประทานมะขามป้อมเป็นยาแก้ไอผสมมะขามป้อม
สูตรตำรับที่ 1 ในยา 100 มิลลิลิตร ประกอบด้วย สารสกัดน้ำมะขามป้อมเข้มข้น (ความเข้มขัน 40 เปอร์เซ็นต์) 60 มิลลิลิตร สารสกัดใบเสนียด (ความเข้มข้น 10 เปอร์เซ็นต์) 10 มิลลิลิตร กลีเชอรีน 5 มิลลิลิตร สารสกัดรกชะเอมเทศ 0.45 มิลลิลิตร เกลือแกง 0.5 กรัม เกล็ดสะระแหน่ 0.01 มิลลิกรัม
สูตรตำรับที่ 2 ในยา 100 มิลลิลิตร ประกอบด้วย สารสกัดน้ำมะขามป้อมเข้มข้น (ความเข้มข้น 25 เปอร์เซ็นต์) 30 มิลลิลิตร มะนาวดอกแห้ง 8 กรัม สารสกัดรากชะเอมเทศ 5 มิลลิลิตร ผิวส้มจีน 3.3 มิลลิกรัม บ๊วย 3 มิลลิกรัม เนื้อลูกสมอพิเภก 3 กรัม เนื้อลูกสมอไทย 1 มิลลิกรัม หล่อฮังก๊วย 2 มิลลิกรัม เกล็ดสะระแหน่ 0.08 มิลลิกรัม น้ำตาลทรายแดง 40 มิลลิกรัม
ข้อแนะนำ ข้อควรระวัง
การใช้มะขามป้อม จัดเป็นยารสเปรี้ยว ฝาด เย็น ผู้ที่หนาวเย็นง่าย ไม่ควรกินมะขามป้อมมาก ต่อเนื่อง เกินจำเป็น ผู้ที่มีปัญหาเลือดจาง ใส เหลวกว่าปกติ ก็ไม่ควรทานมากทานประจำ ผู้ที่แน่นท้องแบบไฟธาตุน้อย ก็ระวังปริมาณในการทาน หรือ ให้ปรับธาตุอาหารสมุนไพรที่ทาน ให้มีความอุ่นร้อนเพิ่มขึ้น สำหรับยาน้ำแก้ไอสูตรผสมผงมะขามป้อม ผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ผู้ป่วยที่ท้องเสียง่าย เนื่องจากมะขามป้อมมีฤทธิ์เป็นยาระบาย
แหล่งอ้างอิง : เว็บไซต์ https://www.disthai.com/16488243
เข้าชม : 207
|