[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
  
 


เนื้อหา : สาระน่ารู้การพัฒนาอาชีพ
หมวดหมู่ : สมุนไพรน่ารู้
หัวข้อเรื่อง : เก๊กฮวย

อาทิตย์ ที่ 10 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2566

คะแนน vote : 34  

 


เก๊กฮวย

ชื่อสมุนไพร  เก๊กฮวย
ชื่ออื่น ๆ / ชื่อท้องถิ่น จวี๋ฮัว (จีน) , เบญจมาศสวน, เบญจมาศหนู (ไทย)
ชื่อวิทยาศาสตร์  Chrysanthemum morifolium Ramat. (เก๊กฮวยพันธุ์ดอกสีขาวChrysanthemum indicum Linn. (เก๊กฮวยพันธุ์ดอกสีเหลือง)
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์  Dendranthema morifolium (Ramat.) Tzvel. (เก๊กฮวยพันธุ์ดอกสีขาวDendranthema indicum Linn. (เก๊กฮวยพันธุ์ดอกสีเหลือง)
ชื่อสามัญ Chrysanthemum , Flower tea , Edible Chrysanthemum,  Florist Chrysanthemum

สรรพคุณของเก๊กฮวย

  1. แก้กระหาย เพิ่มความสดชื่น
  2. แก้ร้อนใน มีฤทธิ์เป็นยาเย็น
  3. ช่วยยับยั้งเชื้อไวรัสเอดส์ได้
  4. ช่วยดูดซับสารก่อมะเร็งและจุลินทรีย์ชนิดต่าง ๆ
  5. ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ ภาวะหัวใจล้มเหลว
  6. ช่วยบำรุงโลหิต
  7. ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต
  8. ช่วยในการบำรุงและรักษาสายตา
  9. แก้อาการปวดศีรษะ
  10. ช่วยบรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด ตาลาย
  11. แก้อาการหวัด
  12. ช่วยแก้อาการไอ
  13. ช่วยขับลม ระบาย
  14. ช่วยบำรุงปอด
  15. ช่วยบำรุงตับ ไต
  16. ช่วยรักษาผมร่วง

          ประโยชน์ของดอกเก็กฮวยนั้นโดยส่วนมากแล้วจะนิยมนำมาทำน้ำเก๊กฮวยเพื่อใช้ดื่มแก้กระหาย เพิ่มความสดชื่นให้แก่ร่างกาย และยังสามารถปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ ทั้งการปลูก ตัดดอกขาย ซึ่งนิยมปลูกพันธุ์ดอกเดี่ยวขนาดใหญ่สีต่าง ๆ และปลูกเป็นไม้ดอกในกระถาง ไม้ดอกตามข้างทาง สวนสาธารณะ หรือสวนหลังบ้าน เป็นต้น รักษาโรคทางร่างกายภายนอกหรือนอกอวัยวะ เนื่องมาจากลม และความร้อน อย่างเช่น เริ่มมีไข้ใหม่ ๆ ตามฤดูกาล ทำให้เกิดอาการไข้ ปวดศีรษะ และ ไอ มักใช้ ร่วมกับใบหม่อน เมนทอล และ สมุนไพรชื่อเหลี่ยงเคี้ยว ( Fructus forsythiae ) นอกจากนี้ยังใช้กับอาการหวัดเนื่องจากอาการร้อน ใช้สำหรับอาการตาบวม แดง และปวดตา ตามองไม่ชัด หรือเบลอ และอาการอ่อนแรง สำหรับอาการตาบวมแดง ปวดตาเนื่องมาจากลม และความร้อนกระ ทบต่อ ตับ หรือ ไฟในตับมาก มักใช้ร่วมกับ ใบหม่อน ชุมเห็ดไทย และหญ้าเล่งต้า ( Radix gentianae ) สำหรับการพร่องของตับ และไต พร้อมกับอาการตามัว อาจใช้ร่วมกับ เก๋ากี้ เส็กตี่ ( Radix Rehmanniae Praeparata )  ใช้สำหรับการมึนศีรษะ และปวดหัว เนื่องจากการกำเริบของหยางในตับ สามารถใช้ร่วมกับ โกฐสอ และอื่น ๆ กรณีเป็นฝีเป็นหนอง บวมและเป็นพิษ อาจใช้ดอกสด แล้วนำมาบดผสมน้ำ แล้วดื่ม แล้วนำกากมาพอก  อาการอักเสบที่ตา อาจใช้พอกโดยตำดอกสดประคบภายนอกดวงตา  ช่วยกระตุ้นระบบย่อยอาหาร โดยเฉพาะดื่มชาเก๊กฮวยร้อน ๆ จะช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดียิ่งขึ้น และช่วยบรรเทาอาการปวดท้องจากอาหารไม่ย่อย  รักษาผมร่วง โดยเชื่อว่าดอกเก๊กฮวยสามารถรักษาอาการผมร่วง ช่วยให้สีผมดำ เงางาม ไม่เปลี่ยนเป็นสีเทาก่อนวัยอันควร 

           ส่วนในทางการแพทย์แผนปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยระบุว่าเก๊กฮวยสามารถช่วย ลดความดันโลหิต เพราะสมุนไพรชนิดนี้ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดและต้านกระบวนการอักเสบ ซึ่งอาจส่งผลดีต่อการรักษาและป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงได้ ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะจากความดันโลหิตสูง และมีฤทธิ์ลดระดับความดันโลหิตลงได้ รักษาโรคเบาหวาน การบริโภคเก๊กฮวยหรือผลิตภัณฑ์จากเก๊กฮวยอาจช่วยต้านโรคเบาหวานได้ เพราะสารประกอบในเก๊กฮวยอย่างสารฟีนอลและฟลาโวนอยด์อาจช่วยยับยั้งการทำงานเอนไซม์ที่มีผลต่อการดูดซึมน้ำตาลบางชนิด และอาจเป็นผลดีต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งอาจเป็นผลดีต่อการรักษาโรคเบาหวานได้  ต้านมะเร็งต่อมลูกหมากคาดว่าการบริโภคเก๊กฮวยอาจช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้ เนื่องจากเก๊กฮวยประกอบด้วยสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ที่เชื่อกันว่ามีฤทธิ์ต้านการอักเสบ และยับยั้งการผลิตฮอร์โมนแอนโดรเจนที่มีบทบาทในการควบคุมการเจริญเติบโตของต่อมลูกหมาก

รูปแบบและขนาดวิธีใช้

ช่วยดับพิษร้อนในร่างกาย แก้อาการร้อนใน แก้กระหาย แก้ไข้ โดยใช้ดอกเก๊กฮวยแห้งประมาณ 5-9 กรัม ต้มกิน หรือทำเป็นชา แล้วดื่มในปริมาณที่เหมาะสม  รักษาแผลฝีหนอง และแผลบวม โดยใช้ดอกเก๊กฮวยสด 1 กำมือ ล้างให้สะอาด บดผสมน้ำแล้วดื่ม จากนั้นนำกากดอกเก๊กฮวยมาพอกตามแผล  ใช้เก๊กฮวย แก้หวัด แก้ร้อนใน แก้อาการตาเจ็บ ตาบวม ขนาดการใช้ ใช้ดอกแห้ง ประมาณ 5-9 กรัม ต้มกิน หรือทำเป็นชา ต้มดื่มในปริมาณที่เหมาะสม นอกจากนี้ดอกเก๊กฮวยยังสามารถนำไปใช้ร่วมกับสมุนไพรอื่น ๆ เพื่อช่วยบำบัดรักษาโรคต่าง ๆ ได้อีกหลายตำรับอีกด้วย

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง
  1. สำหรับดอกเก๊กฮวยจะที่นำมาใช้ควรเป็นดอกสีขาวหรือดอกสีเหลือง และไม่ใช่สายพันธุ์ที่เก็บมาจากในป่าเพราะอาจเป็นคนละชนิดกัน
  2. สำหรับผู้ที่เป็นโรคกระเพาะอาหาร การดื่มชาเก็กฮวยอาจทำให้เกิดกรดในกระเพาะเพิ่มมากขึ้น
  3. ผู้ที่มีปัญหาเรื่องระบบขับถ่าย หรือมีอาการท้องเสียง่าย ควรดื่มน้ำเก๊กฮวยในปริมาณที่พอเหมาะ
  4. เก๊กฮวยเป็นพืชในวงศ์เดียวกับเบญจมาศ ผู้ที่มีอาการแพ้พืชตระกูลนี้มีแนวโน้มแพ้เก๊กฮวยได้เช่นกัน จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานเก๊กฮวยและใช้ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จากเก๊กฮวยด้วยความระมัดระวัง หากพบความผิดปกติหลังการบริโภค เช่น มีผื่น มีความผิดปกติในการหายใจ หรือมีอาการอื่น ๆ เกิดขึ้น ควรหยุดใช้และไปพบแพทย์ทันที
  5. เก๊กฮวยอาจทำปฏิกิริยากับยาบางชนิด ผู้ที่รับประทานยาเป็นประจำหรือผู้ที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานหรือใช้ผลิตภัณฑ์ใด ๆ จากเก๊กฮวย
  6. น้ำมันที่ได้จากการสกัดดอกเก๊กฮวยจะประกอบด้วยสารไพรีทรัม (Pyrethrum) ซึ่งเหมือนสารประกอบในยาฆ่าแมลง ดังนั้นจึงควรใช้น้ำมันชนิดนี้ด้วยความระมัดระวัง เพราะการสัมผัสโดนโดยตรงหรือใช้เป็นเวลานานอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองกับผิวหนัง ปาก ตา และจมูกได้


น้ำเก๊กฮวย 

  • ดอกเก๊กฮวย 60 กรัม
  • น้ำสะอาด 3 ลิตร
  • น้ำตาลกรวด 250 กรัม หรือน้ำตาลทรายแดง 500 กรัม

วิธีทำ น้ำเก๊กฮวย 

  1. ตั้งหม้อ นำน้ำสะอาดและน้ำตาลใส่ลงไป ต้มให้เดือด
  2. นำดอกเก๊กฮวยใส่ลงไปในหม้อ กดลงไปให้โดนน้ำทั่วทั้งหมด แต่ไม่คนแรง เพราะจะทำให้ขม
  3. จากนั้นปิดไฟ ปิดฝาหม้อ พักไว้ประมาณ 30 นาที
  4. ใช้ผ้าขาวบางวางบนกระชอน ตักดอกเก๊กฮวยออกจากหม้อ แล้วเทน้ำเก๊กฮวยกรองลงไป
  5. บรรจุใส่ภาชนะ แช่ตู้เย็น หรือใส่น้ำแข็งดื่มได้เลย






เข้าชม : 405


สมุนไพรน่ารู้ 5 อันดับล่าสุด

      มะตูม 12 / ธ.ค. / 2566
      กระเจี๊ยบแดง 10 / ธ.ค. / 2566
      เก๊กฮวย 10 / ธ.ค. / 2566
      อัญชัน 10 / ธ.ค. / 2566
      มะขามป้อม 10 / ธ.ค. / 2566


 
ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอดอยสะเก็ด  จังหวัดเชียงใหม่ โทรศัพท์ 053-496147
  ห้องสมุดประชาชนอำเภอดอยสะเก็ด 555 หมู่ที่ 3 ถนนบ่อสร้าง-เชียงใหม่ อำเเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ โทรศัพท์ 053-495500
Doisaketlibrary@gmail.com
libdoisaket@cmi.nfe.go.th
บาคาร่า Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05HD  Update by   นายบุญมา มาดี