[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
  
 


เนื้อหา : สาระน่ารู้การพัฒนาอาชีพ
หมวดหมู่ : สมุนไพรน่ารู้
หัวข้อเรื่อง : ใบบัวบก

อาทิตย์ ที่ 10 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2566

คะแนน vote : 13  

 


บัวบก

ชื่อสมุนไพร บัวบก
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น ใบบัวบก (ภาคกลาง) ผักหนอก จำปาเครือ (ภาคเหนือ) ปะหะ เอขาเด๊าะ (กะเหรี่ยง) แว่นโคก (อีสาน) ผักแว่น (ภาคใต้) เดียกำเช่า ฮมคัก (จีน)
ชื่อสามัญ Asiatic pennywort, Gotu kola , Indian pennywort , Woter pennywort
ชื่อวิทยาศาสตร์  Centella asiatica (Linn.) Urban.
วงศ์  UMBELLIFERAE (APIACEAE)

ประโยชน์และสรรพคุณบัวบก

  1. ช่วยรักษาสิว ทำให้ผิวหน้าขาวกระจ่างใส ผิวหน้าเต่งตึงได้
  2. แก้ไข้
  3. แก้ร้อนใน แก้ช้ำใน
  4. ใช้เป็นยาภายนอกรักษาแผล ทำให้แผลหายเร็ว
  5. เป็นยาบำรุงและยาอายุวัฒนะ
  6. ช่วยเสริมสร้างความจำ
  7. บรรเทาอาการปวดศีรษะแก้อาการมึนศีรษะ
  8. ช่วยบำรุงหัวใจ
  9. บำรุงกำลังบรรเทาอาการปวดตามข้อ
  10. แก้อาการท้องผูก
  11. กระตุ้นระบบขับถ่าย
  12. แก้อาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย
  13. แก้โรคซาง แก้โรคดีซ่านในเด็ก
  14. ช่วยบำรุงตับ และไต
  15. แก้โรคตับอักเสบ
  16. ช่วยบำรุงสายตา แก้ตาพร่ามัว  
  17. เป็นยาขับโลหิตเสียแก้กระหายน้ำ
  18. บรรเทาอาการไอ อาการเจ็บคอแก้อาการเจ็บคอ
  19. รักษาโรคหลอดลมอักเสบรักษาอาการหืดหอบ
  20. แก้โรคลมชัก
  21. ช่วยบรรเทาอาการปวดฟัน  
  22. รักษาโรคปากเปื่อย
  23. ช่วยขับปัสสาวะแก้โรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ
  24. ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร
  25. ช่วยขับระดู กระตุ้นประจำเดือนให้มาปกติ
  26. รักษาฝี ช่วยให้ฝียุบ 
  27. ช่วยเสริมสร้างและกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและอีลาสติน
  28. ช่วยต่อต้านการเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆในร่างกาย
  29. ช่วยบำรุงประสาทและสมองเหมือนใบแปะก๊วย 
  30. ช่วยเสริมการทำงานของกาบา (GABA)
  31. ช่วยผ่อนคลายและทำให้หลับง่ายขึ้น 
  32. ช่วยกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อใหม่
  33. ช่วยชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง

รูปแบบและขนาดวิธีใช้บัวบก

แก้ไข้ แก้ร้อนใน ช้ำใน ชนิดแคปซูล (รพ.), ชนิดชง(รพ.) ชนิดชง รับประทานครั้งละ 2 – 4 กรัม ชงน้ำร้อนประมาณ 120 – 200 มิลลิลิตร วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร ชนิดแคปซูล  รับประทานครั้งละ 400 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร ใช้บัวบกรักษาแมลงกัดต่อย และรักษาแผล ตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข ให้ใช้ใบขยี้ทาแก้แมลงกัดต่อย หรือใช้ส่วนใบสด พอกที่แผลสด วันละ 2 ครั้ง  ยาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ ครีมใบบัวบก ทำความสะอาดแผลด้วยยาฆ่าเชื้อก่อนทาครีมที่มีสารสกัดจากบัวบกสดร้อยละ 7 โดยน้ำหนัก  ทาบริเวณที่เป็นแผลวันละ 1 – 3 ครั้ง หรือตามแพทย์สั่ง หากใช้แล้วไม่ดีขึ้นภายใน 2 สัปดาห์ ให้หยุดใช้ ควรเก็บครีมใบบัวบกในที่เย็น อุณหภูมิไม่เกิน 25 องศาเซลเซียส แก้อาการปัสสาวะติดขัด ด้วยการใช้ใบบัวบกประมาณ 50 กรัม นำมาตำแล้วพอกบริเวณสะดือ เมื่อถ่ายปัสสาวะคล่องดีแล้วค่อยเอาออก  ใช้เป็นยาห้ามเลือด ใส่แผลสด ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 20 ใบนำมาล้างให้สะอาด ตำพอกแผลสด  แก้อาการฟกช้ำ ด้วยการใช้ใบบัวบกมาทุบให้แหลกแล้วนำมาโปะบริเวณที่ฟกช้ำ หรือจะใช้ใบบัวบกประมาณ 40 กรัม ต้มกับเหล้าแดงประมาณ 250 cc. ประมาณ 1 ชั่วโมงแล้วนำมาดื่ม

วิธีทำน้ำใบบัวบก

  1. นำใบบัวบกทั้งต้นมาล้างน้ำให้สะอาด
  2. หั่นต้น และใบบัวบกเป็นท่อนๆ ราว 2-3 ท่อน
  3. นำใบบัวบกมาปั่นรวมกับน้ำเปล่า โดยใส่น้ำเปล่าลงไปให้ท่วมใบบัวบก
  4. กรองเอาแต่น้ำมาดื่ม อาจปรุงรสด้วยน้ำผึ้งได้เล็กน้อยเพื่อลดความขม
  5. ดื่มครั้งละ 120-200 มิลลิลิตร วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร อาจดื่มน้ำกว่านี้ได้
  6. ข้อแนะนำและข้อควรระวัง
    • บัวบกไม่เหมาะกับคนที่มีภาวะเย็นพร่อง หรือขี้หนาว ท้องอืดบ่อย ๆ
    • ไม่แนะนำให้ใช้ยาที่มีส่วนประกอบของบัวบกในผู้ที่สงสัยว่าเป็นไข้เลือดออกเนื่องจากอาจบดบังอาการของไข้เลือดออกได้
    • ควรระวังการใช้ใบบัวบกร่วมกับยาที่มีผลต่อตับ ยาขับปัสสาวะ และยาที่มีผลข้างเคียงทำให้ ง่วงนอน เพราะอาจเสริมฤทธิ์กันได้
    • ควรระวังการใช้ร่วมกับยาที่มีกระบวนการเมแทบอลิซึมผ่าน Cytochrome P450 (CYP 450) เนื่องจากบัวบกมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ CYP 2C9 และ CYP 2C19
    • ในการทำเป็นสมุนไพรไม่ควรนำใบบักบกไปตากแดดเพื่อทำให้แห้ง เพราะจะทำให้สูญเสียตัวยาสมุนไพรซึ่งอยู่ในน้ำมันหอมระเหยได้ โดยให้ผึ่งลมตากไว้ในที่ร่มอากาศถ่ายเทสะดวก เมื่อแห้งแล้ว ให้นำมาใส่ขวดปิดฝาให้สนิทป้องกันความชื้น
    • การรับประทานบัวบกในปริมาณที่มากเกินไป จะทำให้ธาตุในร่างกายเสียสมดุลได้ เพราะเป็นยาเย็นจัด แต่ถ้ารับประทานในขนาดที่พอดีแล้วจะไม่มีโทษต่อร่างกายและได้ประโยชน์สูงสุด
       
    • แหล่งอ้างอิง : เว็บไซต์ https://www.disthai.com/16913509 และ https://www.sanook.com/health

      ภาพประกอบ : www.flickr.com (by FotoosVanRobin, besitai, camillenoir, G''''s Garden, Ahmad Fuad Morad)



เข้าชม : 69


สมุนไพรน่ารู้ 5 อันดับล่าสุด

      มะตูม 12 / ธ.ค. / 2566
      กระเจี๊ยบแดง 10 / ธ.ค. / 2566
      เก๊กฮวย 10 / ธ.ค. / 2566
      อัญชัน 10 / ธ.ค. / 2566
      มะขามป้อม 10 / ธ.ค. / 2566


 
ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอดอยสะเก็ด  จังหวัดเชียงใหม่ โทรศัพท์ 053-496147
  ห้องสมุดประชาชนอำเภอดอยสะเก็ด 555 หมู่ที่ 3 ถนนบ่อสร้าง-เชียงใหม่ อำเเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ โทรศัพท์ 053-495500
Doisaketlibrary@gmail.com
libdoisaket@cmi.nfe.go.th
บาคาร่า Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05HD  Update by   นายบุญมา มาดี